พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางร่วม (ทางพิพาท) โดยถือวิสาสะ ไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค. และ พ. โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลงเดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มี ค.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่4 หลัง รวมทั้งบ้านของ ค. บ้านของ ค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็นบุตรหลานและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตรผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ค.ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกัน หลังจากค.ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภาระจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา ใบโฆษณาไม่ผูกพัน หากมีข้อพิพาท พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องต่างหาก
ข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นเรื่องระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 มีผลผูกพันเฉพาะโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 22 (1) บัญญัติห้ามโฆษณาข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง หากมีการฝ่าฝืนก็เป็นเรื่องผิดต่อ พ.ร.บ. ดังกล่าว และอาจถูกห้ามมิให้กระทำการโฆษณาที่ผิดความจริงเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในกรณีอื่น การโฆษณาข้อความดังกล่าวจึงหาทำให้สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันฆ่า, เป็นผู้ใช้, รับของโจร, มีอาวุธปืนเถื่อน, ศาลพิพากษากลับ
พยานโจทก์มีพันตำรวจโทสมหมาย กองวิสัยสุข เบิกความว่า หลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอโนนไทย ได้ออกหมายจับนายถ่ายแซ่จึง และจำเลยทั้งห้าเนื่องจากเป็นผู้ต้องสงสัย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมนายถ่ายได้ก่อน นายถ่ายให้การรับสารภาพว่า นายถ่ายได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ฆ่าผู้ตายทั้งสี่ เนื่องจากนายสมศักดิ์ผู้ตายจะให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 ออกจากราชการระหว่างสอบสวนเจ้าพนักงานตำรวจจึงกันนายถ่ายไว้เป็นพยาน โจทก์มีนายถ่ายเป็นประจักษ์พยานเบิกความว่าในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ชวนพยานไปฆ่านายสมศักดิ์เนื่องจากนายสมศักดิ์จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในกรณีมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านจานและยังจะไม่ให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นครูโรงเรียนบ้านจานขายของที่โรงเรียนบ้านจานอีกต่อไป โดยจำเลยที่ 1 นัดว่าจะไปรับพยานที่หน้าบ้านนางหลอดพี่สาวพยานเวลาประมาณ 21 นาฬิกา เมื่อถึงเวลานัด จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มาหาพยานและบอกพยานว่าจำเลยที่ 1 จะล่วงหน้าไปก่อน ให้พยานรอจำเลยที่ 2 และที่ 4 จะขับรถยนต์มารับพยาน ต่อมาจำเลยที่ 4 ขับรถยนต์กระบะมามีจำเลยที่ 2 นั่งอยู่ที่กระบะท้ายแล้วจำเลยที่ 4 ได้ขับรถไปสมทบกับจำเลยที่ 1 ที่บริเวณวัดสระจระเข้ เมื่อไปถึงจำเลยที่ 4 หยิบอาวุธปืนเล็กกล อาร์ก้า 1 กระบอก ส่งให้พยาน จำเลยที่ 1 ที่ 2และพยานได้เดินไปซุ่มอยู่บริเวณรั้วบ้านนายสมศักดิ์จนถึงเวลาประมาณ 23 นาฬิกาทั้งสามจึงลอดรั้วลวดหนามเข้าไปในบริเวณบ้านนายสมศักดิ์ จากนั้นจำเลยที่ 1 ปีนขึ้นไปบนระเบียงชั้นสอง แล้วใช้ไขควงงัดหน้าต่างเข้าไปในบ้านและลงไปที่ชั้นล่าง พบผู้ตายทั้งสี่กำลังนอนหลับอยู่ จำเลยที่ 1 เดินมาเปิดประตูและรับอาวุธปืนจากพยานจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงบริเวณศีรษะผู้ตายทั้งสี่จนถึงแก่ความตาย ต่อจากนั้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 และพยานได้ช่วยกันค้นหาทรัพย์สินภายในบ้านผู้ตาย พบกุญแจ 1 พวงวางอยู่บนโต๊ะรับแขก พยานได้ปลดสร้อยคอทองคำที่นางจิราภรณ์สวมอยู่ส่งให้จำเลยที่ 1และเอากุญแจบนโต๊ะรับแขกไปไขประตูโรงรถ มีรถยนต์กระบะและรถจักรยานยนต์ของนายสมศักดิ์จอดอยู่ในนั้น จำเลยที่ 2 พยายามติดเครื่องรถยนต์กระบะ แต่เครื่องยนต์ไม่ติด จำเลยที่ 1 จึงเข็นรถจักรยานยนต์ซึ่งมีกุญแจเสียบติดไว้มาติดเครื่อง แล้วขับรถออกไปหาจำเลยที่ 4 ซึ่งจอดรถคอยอยู่บริเวณวัดสระจระเข้ มีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายส่วนพยานถืออาวุธปืนเดินมาสมทบ เมื่อมาถึงพยานได้ส่งอาวุธปืนให้แก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 เอาไปเก็บไว้ที่พนักพิงในรถยนต์กระบะ จำเลยที่ 4 สั่งให้พยานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยกรถจักรยานยนต์ของนายสมศักดิ์ขึ้นรถยนต์กระบะ แล้วจำเลยที่ 4 ได้ขับรถยนต์กระบะตรงไปทางจังหวัดนครราชสีมา ส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายไปทางบ้านหนองกระสังข์ พยานจึงเดินไปดูลิเกที่บริเวณวัดสระจระเข้ หลังเกิดเหตุประมาณ 17 วัน เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมพยานวันรุ่งขึ้นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ เห็นว่า แม้คำเบิกความของนายถ่ายเข้าลักษณะคำซัดทอดของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังพยานดังกล่าวแต่อย่างใดการจะเชื่อพยานได้หรือไม่ จะต้องดูว่าพยานเบิกความอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่ ในเรื่องนี้นายถ่ายเบิกความถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มตั้งแต่ขั้นตระเตรียมวางแผน ขั้นตอนการดำเนินการกระทำความผิด และขั้นตอนหลังเกิดเหตุแล้วโดยละเอียดสมเหตุสมผลไม่ปรากฏว่ามีพิรุธแต่ประการใด เมื่อฟังประกอบกับคำรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ซึ่งให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่จำเลยที่ 2 ถูกจับกุมนั่นเอง จำเลยที่ 2 ยังไม่มีโอกาสที่จะปรุงแต่ง อีกทั้งคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 มีรายละเอียดกล่าวถึงขั้นตอนการกระทำความผิดยากที่พนักงานสอบสวนจะปรุงแต่งขึ้นเอง เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ให้การต่อพนักงานสอบสวนด้วยความสมัครใจ ทั้งยังนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและมีการถ่ายรูปไว้ด้วย ปรากฏตามบันทึกการจับกุม บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 บันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายเอกสารหมาย จ.33 จ.44จ.3 และ จ.2 ตามลำดับ การนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ก็ได้กระทำโดยเปิดเผยมีประชาชนมากมายมามุงดู ที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าถูกบังคับขู่เข็ญให้รับสารภาพและแสดงท่าต่าง ๆ ประกอบคำรับสารภาพ จึงฟังไม่ขึ้น และที่จำเลยที่ 2 เบิกความอ้างฐานที่อยู่ไม่มีน้ำหนักที่จะหักล้างพยานโจทก์ได้ ศาลฎีกาเชื่อว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนร้ายที่ร่วมกระทำความผิดในคดีนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในความครอบครอง ร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะหมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันควรและไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยมีอาวุธ ปัญหาต่อไปว่าจำเลยที่ 4มีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่าผู้ตาย ร่วมกันมีอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง ร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ หมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันสมควร และไม่ได้รับอนุญาต และรับของโจรหรือไม่ พยานโจทก์มีนายเสริมศักดิ์ กองดิน และนางดรุณี ทบวอ ซึ่งรับราชการครูอยู่ที่โรงเรียนเดียวกันกับจำเลยที่ 5 เบิกความว่า จำเลยที่ 4 เป็นสามีของจำเลยที่ 5เมื่อประมาณต้นปี 2536 จำเลยที่ 5 นำสิ่งของมาขายที่บ้านพักครูภายในโรงเรียนนายสมศักดิ์ในฐานะอาจารย์ใหญ่ได้ขอร้องให้จำเลยที่ 5 เลิกขายแข่งกับร้านสหกรณ์ของโรงเรียน จำเลยที่ 5 ไม่ยอมเลิก นายสมศักดิ์จะพูดกับจำเลยที่ 5 อีกครั้งเมื่อโรงเรียนเปิดเทอม แต่มาถูกฆ่าตายเสียก่อน นอกจากนี้พยานโจทก์มีจ่าสิบตำรวจพันธ์ศักดิ์ คล้ายนาค ซึ่งเคยทำงานร่วมกับจำเลยที่ 4 เบิกความว่า เมื่อต้นปี 2536พยานได้พูดคุยกับจำเลยที่ 4 และเคยถามจำเลยที่ 4 ว่ากลับบ้านบ่อยหรือไม่ จำเลยที่ 4 ตอบว่ากลับบ้านทุกสัปดาห์ เพราะจำเลยที่ 5 มีปัญหากับอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ใหญ่จะเอาจำเลยที่ 5 ออก เมื่อฟังประกอบกับคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.43 ที่ว่า ประมาณเดือนพฤษภาคม 2536 จำเลยที่ 4 มาหาจำเลยที่ 1 ที่โรงเรียนบ้านจานและบอกจำเลยที่ 1 ว่าจะต้องจัดการเอาไว้ไม่ได้หรอกหมายถึงต้องฆ่านายสมศักดิ์ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีเรื่องไม่พอใจนายสมศักดิ์ที่จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีเกิดเหตุมีคนลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านจานอยู่แล้ว จำเลยที่ 1จึงตอบตกลง จำเลยที่ 4 บอกว่าจำเลยที่ 4 จะเป็นผู้เอาอาวุธปืนมาให้ ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 มาที่บ้านพักครูที่จำเลยที่ 5 พักอยู่ นายถ่ายได้มาหาจำเลยที่ 1ที่บ้านพบจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงชวนให้นายถ่ายร่วมฆ่านายสมศักดิ์จำเลยที่ 1 ได้ไปหาจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ว่า นายถ่ายมา จำเลยที่ 4 พูดว่า"จัดการเป็นไรปืนมีแล้ว" ให้จำเลยที่ 1 กลับไปรับประทานอาหารก่อน แล้วมาที่นี่ประมาณ 20 ถึง 21 นาฬิกา คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นคำให้การของผู้กระทำความผิดด้วยกัน ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนย่อมนำมาประกอบการพิจารณาได้ เมื่อคำเบิกความของนายเสริมศักดิ์ นางดรุณี และจ่าสิบตำรวจพันธ์ศักดิ์สอดคล้องกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 และเมื่อรับฟังประกอบกับคำเบิกความของนายถ่ายที่เบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้ขับรถยนต์กระบะมารับพยานกับจำเลยที่ 2 ไปยังที่บริเวณวัดสระจระเข้ใกล้บ้านนายสมศักดิ์พร้อมมอบอาวุธปืนเล็กกล อาร์ก้า ให้แก่พยานเพื่อนำไปยิงนายสมศักดิ์ จำเลยที่ 4 คงคอยอยู่ที่นั่น เมื่อยิงผู้ตายทั้งสี่แล้ว พยานเป็นคนนำอาวุธปืนมาคืนให้แก่จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 รับอาวุธปืนไปวางไว้ที่หลังพนักพิง จากนั้นจำเลยที่ 4 ได้บอกให้พยานกับพวกยกรถจักรยานยนต์ที่เอามาจากโรงรถบ้านผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ก็ขับรถไปทางจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งก็ได้ความว่าจำเลยที่ 4 นำรถจักรยานยนต์ไปจอดทิ้งไว้ที่อื่นเพื่ออำพรางคดีพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่า จำเลยที่ 4 คือคนร้าย พยานหลักฐานของจำเลยที่ 4 ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 4 มาหาจำเลยที่ 1 ที่โรงเรียนบ้านจาน และบอกจำเลยที่ 1 ว่า "จะต้องจัดการเอาไว้ไม่ได้หรอก" หมายถึงฆ่านายสมศักดิ์ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีเรื่องไม่พอใจนายสมศักดิ์ที่จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีเกิดเหตุลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนบ้านจานอยู่แล้ว จึงทำให้จำเลยที่ 1 ตอบตกลงถือว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 ตัดสินใจที่จะกระทำการฆ่านายสมศักดิ์และจำเลยที่ 4 รับว่าจะเป็นผู้พาอาวุธปืนมาให้ด้วย ในที่สุดจำเลยที่ 1 ที่ 2 และนายถ่ายได้นำอาวุธปืนที่จำเลยที่ 4 มอบให้ไปฆ่านายสมศักดิ์ บุตรและภริยาของนายสมศักดิ์ตามที่จำเลยที่ 4 ยุยงส่งเสริม จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และจำเลยที่ 4 ยังมีความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในทางสาธารณะ หมู่บ้าน โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 4 นำรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันลักมาไปจอดทิ้งไว้ที่อื่น โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำความผิด จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจรด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น.
พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการวางทรัพย์ก่อนฟ้อง แต่โจทก์ไม่รับ และศาลไม่ได้วินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 3 จะได้นำเงินจำนวน 60,000 บาท ไปวางต่อ สำนักงานวางทรัพย์ก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ปฏิเสธไม่ยอมรับเงินดังกล่าวตลอดมาเพราะโจทก์ เห็นว่าเป็นการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถึงที่สุดมิได้กล่าวถึงการวางเงินของจำเลยที่ 3 ต่อ สำนักงานวางทรัพย์แต่ประการใด อีกทั้งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีของเงิน60,000 บาท นับแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2539 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 3 ไม่ยอมชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาด ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่น ของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินที่ขายได้มาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวได้อ่านให้คู่ความฟัง เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2532 และถึงที่สุดไปแล้วโดยจำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อ จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้ การที่ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยวางทรัพย์ก่อนฟ้อง โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้
จำเลยได้นำเฉพาะต้นเงินจำนวน 60,000 บาทที่จะต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปวางต่อ สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2529 แต่โจทก์ ได้ปฏิเสธการรับเงินดังกล่าวตลอดมาเพราะเห็นว่า เป็นการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีของเงิน 60,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2529อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยวางทรัพย์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ด้วยก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว มิได้กล่าวอ้างถึงการวางเงินของจำเลยต่อสำนักงานวางทรัพย์เลย อีกทั้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวได้ถึงที่สุดไปแล้วโดยจำเลยมิได้ฎีกา ย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อ จำเลยยังมีหน้าที่ต้องชำระในส่วนดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อยู่อีก โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์ของจำเลย เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุด แม้จำเลยวางทรัพย์ก่อนฟ้อง แต่โจทก์ไม่รับ ถือชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้นำเฉพาะต้นเงินจำนวน 60,000 บาทที่จะต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2529 แต่โจทก์ได้ปฏิเสธการรับเงินดังกล่าวตลอดมาเพราะเห็นว่าเป็นการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีของเงิน 60,000 บาทนับตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2529 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยวางทรัพย์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ก็ตาม แต่เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวมิได้กล่าวอ้างถึงการวางเงินของจำเลยต่อสำนักงานวางทรัพย์เลย อีกทั้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวได้ถึงที่สุดไปแล้วโดยจำเลยมิได้ฎีกาย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยตาม คำพิพากษาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานแน่นหนา ไม่เข้าเหตุบรรเทาโทษ ฎีกาไม่รับ
โจทก์มีพยานแวดล้อมกรณีมาสืบอย่างมั่นคงปราศจากสงสัยว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ในที่เกิดเหตุ หลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบเสื้อผ้าของจำเลยที่จำเลยสวมใส่ ขณะเกิดเหตุมีคราบโลหิตมนุษย์ติดอยู่ และผลการตรวจพิสูจน์ พบรอยนิ้วมือของจำเลยที่ขาเก้าอี้ที่ใช้เป็นอาวุธตีทำร้ายผู้ตาย กับพบเส้นผมของจำเลยติดอยู่ที่คราบโลหิตตรงขาของ ผู้ตายทั้งสองข้าง นอกจากนี้ยังตรวจพบรอยขีดข่วนและ รอยถลอกใหม่ที่บริเวณแขนและนิ้วมือทั้งสองข้างของจำเลย จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายเพื่อปกปิด ความผิดอื่นของตน ซึ่งลำพังแต่พยานโจทก์ที่นำสืบมาก็เพียงพอ ที่จะลงโทษจำเลยได้แล้ว ฉะนั้นการที่จำเลยรับสารภาพก็เพราะ เกิดจากจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่ การพิจารณาแต่อย่างใด ไม่มีเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบกับพฤติการณ์ แห่งคดีมีลักษณะร้ายแรง จึงไม่สมควรลดโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีสินสอดเป็นคดีครอบครัว ต้องส่งประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
เมื่อปรากฏจากคำให้การและอุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินสอดเป็นคดีครอบครัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจ ยื่นฟ้องคดีที่ศาลแขวงขอนแก่น เป็นการชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 12 ซึ่งกำหนดถึงกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจ ศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1พิจารณาพิพากษาคดีนี้ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย บทกฎหมาย เมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นหรือไม่ ขึ้นมาสู่การพิจารณา ของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเก็บรถยนต์ ผู้รับฝากต้องใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์สินเช่นเดียวกับของตนเอง หากโจทก์ไม่พิสูจน์การกระทำของผู้รับฝาก ก็ต้องรับผิด
โจทก์นำรถยนต์จอดฝากจำเลยไว้ที่หน้าร้านของจำเลย โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากต่อมารถยนต์ของโจทก์หายไป ข้อเท็จจริง ที่โจทก์จำเลยนำสืบรับกันว่ารถยนต์ของจำเลยจอดไว้ที่หน้าร้าน ของจำเลยเป็นประจำเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยผู้รับฝาก ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินรถยนต์ของโจทก์เหมือนเช่นเคย ประพฤติในกิจการของจำเลยแล้ว โจทก์ฎีกาว่าจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ล็อกกุญแจ ประตูทุกบาน ล็อกเบรคและพวงมาลัยล็อกเกียร์ หรือตัดสัญญาณไฟ โดยถอดหัวเทียนรถยนต์ของจำเลยก่อนจอดรถยนต์ทิ้งไว้หรือไม่ เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติต่อรถยนต์ของโจทก์เช่นเดียวกัน จึงเป็น หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ ใช้ความระมัดระวังในการดูแลรถยนต์ของโจทก์เหมือนเช่นเคย ปฏิบัติในการดูแลรถยนต์ของจำเลยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการสนับสนุนการปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลยที่ 1 เป็นผู้สนับสนุนฯ ลดบทลงโทษ
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะพาจำเลยที่ 2 ผ่านหน้าบ้านผู้เสียหายไปประมาณ 300 เมตร แล้วจอดรถให้จำเลยที่ 2 กับพวกลงจากรถเดินย้อนกลับไปปล้นทรัพย์ที่บ้านผู้เสียหาย ส่วน จำเลยที่ 1 ขับรถอ้อมไปอีกทางไปจอดรถรอรับจำเลยที่ 2 กับพวก ห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตร หลังจากจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้วได้มาขึ้นรถจำเลยที่ 1 ตามที่ นัดแนะกันไว้ จากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถพาจำเลยที่ 2 กับพวก หลบหนีไปแต่ขณะจำเลยที่ 2 กับพวกทำการปล้นทรัพย์อยู่ที่ บ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างขับรถอ้อมมาและจอดรถห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร จำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 2 กับพวกได้ จึง ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเพียง การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการ ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายก่อนกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิด ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เท่านั้น และเมื่อจำเลยที่ 1ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีอาวุธติดตัวไปด้วย จึงไม่อาจ ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสองได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 เพียงขับรถมาส่งจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้าน ผู้เสียหายประมาณ 300 เมตร แล้วขับรถอ้อมไปจอดรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นเพียง การใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ ใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดด้วย แม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสีย ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225