คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงและพรากเด็กไปอนาจาร ศาลพิจารณาโทษและรอการลงโทษโดยคำนึงถึงพฤติการณ์และเยาวชน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 6 ปี และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมามีกำหนด 1 ปี 6 เดือน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) เมื่อจำเลยอุทธรณ์ในปัญหานี้ โดยขอให้รอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษมาพร้อมกับอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยในปัญหาการกระทำความผิดของจำเลย แต่ไม่วินิจฉัยในปัญหาขอให้รอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ โดยอ้างว่าขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 นั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์ การใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำเลยแต่เพียงอย่างเดียวอันจะต้องต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ต่อมาเมื่อจำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดและขอให้รอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษอีก เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยปัญหาการกระทำความผิดแล้ว ในส่วนการใช้ดุลพินิจการลงโทษจำเลยซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวพันกัน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ลงแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โดยไม่ชอบ และการไม่รับฎีกาเนื่องจากขาดอำนาจ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จำคุก คนละ 4 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี มีกำหนดขั้นต่ำคนละ 3 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งตามมาตรา 121 ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักหรืออบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้ แต่กรณีดังกล่าวมิใช่การส่งไปกักและอบรมจึงอุทธรณ์ไม่ได้
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไว้โดยไม่ชอบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปกครองบุตร: ศาลพิจารณาจากความพร้อมของผู้เลี้ยงดูและความผูกพันกับบุตร
เมื่อโจทก์คลอดบุตรผู้เยาว์แล้วได้เลี้ยงดูด้วยตนเองตลอดมา ต่อมาโจทก์ไม่อาจทนอยู่กับจำเลยที่บ้านจำเลยได้ ต้องกลับไปอยู่บ้านบิดามารดาโจทก์ โจทก์ก็นำบุตรผู้เยาว์ไปเลี้ยงดูด้วย แม้บิดาจำเลยไปหลอกนำบุตรผู้เยาว์กลับมาที่บ้านจำเลย โจทก์เพียรพยายามขอพบบุตรผู้เยาว์ แต่ถูกกีดกันไม่ให้พบ โจทก์ยังคงห่วงใยและมีความรักบุตรผู้เยาว์แม้ถูกฝ่ายจำเลยพรากไป ทั้งโจทก์มีรายได้สามารถอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ด้วยตนเองโดยปราศจากความช่วยเหลือของจำเลย ส่วนจำเลยเมื่อบิดาจำเลยนำบุตรผู้เยาว์กลับมา จำเลยและบิดามารดาจำเลยไม่อาจเลี้ยงดูได้เพราะต้องไปทำงานทุกคน ต้องให้ญาติฝ่ายบิดาจำเลยเลี้ยงบุตรผู้เยาว์ตลอดมาจนถึงวัยเรียน และจำเลยมีรายได้น้อย ยังต้องพึ่งพาบิดามารดาจำเลยอยู่ ไม่อาจเลี้ยงดูบุตรภริยาได้ โจทก์จึงสมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาให้ที่ดินระหว่างสมรส: ใช้ ม.1469 พ.ร.บ.แพ่งฯ เพราะเป็นนิติกรรมระหว่างสามีภรรยา
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยานศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานและให้คู่ความรอฟังคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 และมาตรา 182(4)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จำเลยซึ่งเป็นภรรยาระหว่างสมรสซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภรรยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้นเมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินต่อจำเลย จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1469มาใช้บังคับ หาใช่นำบทบัญญัติมาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาให้ที่ดินระหว่างสมรส: ใช้ ม.1469 เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยชี้ขาดให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน จึงให้งดสืบพยานและให้คู่ความรอฟังคำพิพากษานั้นเป็นการสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24และมาตรา 182(4)
โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดิน 7 แปลง แก่จำเลยซึ่งเป็นภริยาระหว่างสมรสนิติกรรมการให้จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยา ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ได้บัญญัติถึงการบอกล้างสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันในช่วงเวลาดังกล่าวไว้โดยเฉพาะแล้วดังนั้น เมื่อโจทก์ต้องการบอกล้างสัญญาการให้ที่ดินทั้งหมดต่อจำเลย กรณีต้องนำบทบัญญัติตามมาตรา 1469 มาใช้บังคับ หาใช่ต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาเยาวชนที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โดยมีประเด็นเรื่องความชอบด้วยกฎหมายในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และการพิสูจน์ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
ความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องข้อหาตามมาตรา 371 กับความผิดฐานร่วมกันกรรโชกทรัพย์ตามมาตรา 337 เป็นกรณีต่างกรรมกัน มิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับพิจารณาความผิดตามมาตรา 337 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องรับพิจารณาความผิดตามมาตรา 371 ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยุติไปแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 371 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า โดยคำนึงถึงความผาสุกและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าไม่มีข้อความใดระบุให้จำเลยต้องนำบุตรทั้งสองมาอยู่บ้านของจำเลยที่จังหวัดสมุทรปราการคงระบุเพียงว่าให้บุตรทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลยซึ่งเป็นบิดาเท่านั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1) การที่จำเลยยังคงให้มารดาของตนเลี้ยงดูบุตรทั้งสองต่อมาภายหลังการหย่าโดยจำเลยไปเยี่ยมเยียนพร้อมทั้งส่งเงินค่าเลี้ยงดูให้ตลอดมาย่อมเป็นการใช้อำนาจปกครองอันเหมาะสมและสอดคล้องกับพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการหย่า
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าต่อมาโจทก์หายจากโรคเครียดเป็นปกติ และทำงานเป็นเสมียนทนายความมีเงินเดือน ๆ ละ 12,000 บาท โจทก์ได้รับบุตรทั้งสองมาเลี้ยงดูตั้งแต่ปี 2540 จนถึงวันฟ้อง โดยให้บุตรทั้งสองศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการและจำเลยได้เคยไปเยี่ยมบุตรทั้งสองที่โรงเรียนด้วย หากจำเลยนำบุตรทั้งสองกลับไปให้มารดาของจำเลยเลี้ยงดูที่จังหวัดนครสวรรค์อีกครั้ง ก็อาจเป็นการกระทบกระเทือนต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของบุตรทั้งสอง ซึ่งโจทก์เป็นผู้เลี้ยงดูอย่างเป็นปกติสุขตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา เมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรทั้งสองประกอบกับพฤติการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวแล้ว จึงมีเหตุสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองจากจำเลยซึ่งเป็นบิดา มาเป็นโจทก์ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และ 1521 โดยให้จำเลยมีสิทธิติดต่อเยี่ยมเยียนบุตรทั้งสองได้ตามควรแก่พฤติการณ์ตามมาตรา 1584/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรซึ่งตกอยู่แก่จำเลยฝ่ายเดียวตามข้อตกลงจดทะเบียนหย่า แต่ตามคำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นกรณีโจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่ได้ตกลงไว้กับจำเลย ถือได้ว่า โจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และ 1521
แม้จำเลยไม่มีพฤติการณ์ประพฤติตนไม่สมควรในการใช้อำนาจปกครองตามข้อตกลงที่จดทะเบียนแต่ปรากฎภายหลังว่ามีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตร ศาลเห็นสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจจากจำเลยมาเป็นโจทก์ได้ตาม มาตรา 1520 และ 1521

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีศาลชั้นต้นกำหนดวิธีการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ และการฎีกาที่ไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาจำคุกจำเลย 8 ปี แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี โดยในระหว่างการฝึกและอบรมให้จำเลยเรียนจนกว่าจะจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และให้จำเลยเรียนหลักสูตรวิชาชีพอย่างน้อย1 หลักสูตร จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาขอให้มอบตัวจำเลยให้บิดามารดาไปโดยวางเงื่อนไขคุมความประพฤติจำเลยไว้นั้น จึงเป็นการฎีกากรณีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษากำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 121(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ และกรณีเช่นนี้ไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6980/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและการเริ่มต้นสิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด สิทธิหน้าที่บิดากับบุตรพึงมีต่อกันตามกฎหมายจึงเริ่มในวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด มิใช่นับแต่วันฟ้องของโจทก์ทั้งสอง
of 36