คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นและสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกแม้พ้นอายุความ
โจทก์ที่ 4 เป็นภรรยาเจ้ามรดกมาก่อนประกาศใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลย เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อปี 2503 โดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ที่ 4 และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสี่ว่าจำเลยไม่มีเจตนายึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแทนโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 การที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปออก น.ส.3 ในนามของจำเลยแต่ผู้เดียวโดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ทั้งสี่ จึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่อยู่ต่อไป เมื่อโจทก์ทั้งสี่ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1754 บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ.มาตรา 1748 คดีจึงไม่ขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับตามสัญญาและการเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้
แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่งหรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่าหากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้นมิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่งในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วยตามมาตรา 213 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับตามสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้
แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่ง หรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้ สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้น มิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่ง ในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วย ตามมาตรา 213 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6479/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจดทะเบียนภาระจำยอมเมื่อจำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว และการกำหนดค่าทนายความที่ไม่ชอบ
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับโฉนดที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอมพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบจึงได้รับหนังสือตอบมาว่าจำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่ ท.และ ช.ไปก่อนแล้ว อีกทั้ง ช.กับ ท.จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวแก่ธนาคาร อ.และบริษัทเงินทุน ม.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยจึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์อีกต่อไป และไม่อยู่ในฐานะจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมได้ การบังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาของศาลล่างที่ให้จำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่โจทก์ย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ ศาลฎีกาให้ยกคำขอในส่วนที่บังคับคดีแก่จำเลยในส่วนนี้ทั้งหมด
ผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์ผู้เรียงและพิมพ์ในคำแก้อุทธรณ์ด้วยตนเอง จึงไม่มีเหตุจะกำหนดค่าทนายความให้ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6479/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมที่โอนทรัพย์สินไปแล้ว และความชอบธรรมของการกำหนดค่าทนายความ
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับโฉนดที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอมพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบจึงได้รับหนังสือตอบมาว่าจำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่ท.และช.ไปก่อนแล้วอีกทั้งช.กับท.จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวแก่ธนาคารอ. และบริษัทเงินทุนม. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยจึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์อีกต่อไป และไม่อยู่ในฐานะจะไปจดทะเบียนภารจำยอมได้ การบังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาของศาลล่างที่ให้จำเลยจดทะเบียนทางภารจำยอมแก่โจทก์ย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ ศาลฎีกาให้ยกคำขอในส่วนที่บังคับคดีแก่จำเลย ในส่วนนี้ทั้งหมด ผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์ผู้เรียงและพิมพ์ในคำแก้อุทธรณ์ด้วยตนเองจึงไม่มีเหตุจะกำหนดค่าทนายความให้ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกา ย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปทำงานโดยไม่สุจริต ไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็ก
เด็กชาย ด.มีอายุไม่เกิน 15 ปี หลังจากบิดามารดาของเด็กชาย ด.ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นพี่สาวของบิดาเด็กชาย ด.เป็นผู้ดูแลเด็กชาย ด.ตลอดมา การที่ผู้เสียหายเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชาย ด.ไปทำงานที่กรุงเทพมหานครตามที่จำเลยร้องขอ ไม่ปรากฏเลศนัยอันส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลย ดังนี้ การที่จำเลยพาเด็กชาย ด.ไป การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคแรก ส่วนกรณีที่เด็กชาย ด.ได้หายไปหลังจากไปอยู่กรุงเทพมหานครนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี: การยินยอมของผู้ดูแลทำให้ไม่เป็นความผิด
เด็กชายด. มีอายุไม่เกิน 15 ปี หลังจากบิดามารดาของเด็กชายด. ถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายซึ่งเป็นพี่สาวของบิดาเด็กชายด.เป็นผู้ดูแลเด็กชายด.ตลอดมาการที่ผู้เสียหายเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชายด. ไปทำงานที่กรุงเทพมหานครตามที่จำเลยร้องขอ ไม่ปรากฏเลศนัยอันส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลย ดังนี้ การที่จำเลยพาเด็กชายด. ไป การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรกส่วนกรณีที่เด็กชายด. ได้หายไปหลังจากไปอยู่กรุงเทพมหานครนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่ทำให้จำเลยต้องรับผิด ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ต้องพิจารณาการยินยอมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแล หากมีการยินยอม การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด
เด็กชาย ด. มีอายุไม่เกิน 15 ปี หลังจากบิดามารดาของเด็กชาย ด. ถึงแก่ความตาย จ. ผู้เสียหายซึ่งเป็นพี่สาวของบิดาเด็กชาย ด.ได้เป็นผู้ดูแลเด็กชายด. ตลอดมา จ. อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชาย ด. ไปทำงานที่กรุงเทพมหานครตามที่จำเลยร้องขอ ไม่ปรากฏว่า การขออนุญาตของจำเลยดังกล่าวมีเลศนัยอันส่อให้เห็น ถึงความไม่สุจริตของจำเลยแต่อย่างใด การที่ จ. อนุญาตให้จำเลยพาเด็กชาย ด. ไป ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก ส่วนกรณีที่เด็กชาย ด. ได้หายไปหลังจากไปอยู่กรุงเทพมหานครกับจำเลยนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ไม่ทำให้จำเลย ต้องรับผิดตามบทมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5694/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวนลามทางเพศด้วยการโอบไหล่ ถือเป็นความผิดฐานกระทำอนาจาร แต่ศาลให้รอการลงโทษ
การที่จำเลยเข้าโอบไหล่ผู้เสียหาย ทั้งที่ไม่เคยรู้จัก กันมาก่อน ถือเป็นการลวนลามผู้เสียหายในทางเพศแล้ว เป็น ความผิดฐานกระทำอนาจาร แต่การกระทำอนาจารของจำเลยดังกล่าว เป็นเพียงการใช้มือโอบไหล่เท่านั้น ไม่น่าจะทำให้ผู้เสียหาย เสื่อมเสียหรือได้รับความอับอายมากนัก ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เห็นสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตน เป็นพลเมืองดีโดย ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ แต่เห็นสมควร ลงโทษปรับจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลยังมิได้จดทะเบียน ผู้บริหารร่วมกระทำการผูกพันสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 1108, 1110, 1113
แม้ในขณะที่โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารที่พิพาท จำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็เป็นผู้ร่วมก่อการและกรรมการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์หลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ 3เป็นผู้บริหารโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 มีส่วนรู้เห็นร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ด้วย และเมื่อโจทก์ส่งมอบอาคารให้แก่จำเลยทั้งสามในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสามก็ได้เปิดดำเนินกิจการโรงแรมในอาคารดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
สำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร จำเลยที่ 2 เป็นผู้ตกลงกับโจทก์ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนเป็นอาคารโรงแรมเอง เมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารเสร็จ จำเลยทั้งสามก็ได้ยอมรับมอบอาคารจากโจทก์โดยดีและเปิดดำเนินกิจการเป็นโรงแรมเช่นนี้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาแก้ไขแบบแปลนอาคารดังกล่าว
of 36