พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3024/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานอ่อนแอ ขาดน้ำหนักรับฟัง ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
เมื่อพยานโจทก์มิได้รู้เห็นการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนระหว่างสายลับ กับจำเลยโดยตรงจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่าคำของพยานโจทก์นี้จึงมีน้ำหนักน้อยและโดยที่พยานโจทก์นี้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยถึงวันรุ่งขึ้นจึงไปตรวจค้นที่บ้าน ของจำเลย ซึ่งแม้จะพบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนในกระเป๋าเสื้อของ จำเลยที่แขวนอยู่ ก็ไม่ทำให้น้ำหนักคำพยานโจทก์นี้มีเหตุผลเพิ่มขึ้น เพราะสายลับอาจมอบธนบัตรให้แก่จำเลยด้วยเหตุผลอื่น มิใช่เพื่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนก็ได้ประกอบกับหมายค้นที่ใช้ในการตรวจค้นบ้านของจำเลย กลับเป็นหมายค้นที่ออกให้เพื่อทำการตรวจค้นบ้านบุคคลอื่นมิใช่บ้านจำเลยด้วยแล้ว ยิ่งทำให้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมามีพิรุธ มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนี้ให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความ: จำเลยมีหน้าที่สร้างบ้านใหม่ให้ผู้รับมรดก โดยไม่ต้องร่วมจ่ายค่าใช้จ่าย
การที่ ป. ไม่ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์แก่จำเลยทั้งสอง ก็เนื่องจากจำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยทั้งสองจะปลูกสร้างบ้านใหม่ให้คืนสู่สภาพเดิมเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ ป. ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองที่รื้อบ้านพิพาท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทระหว่าง ป. กับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่จะต้องปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าวและเมื่อตามข้อตกลงดังกล่าว ป. ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของ ป. ก็ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทกับจำเลยทั้งสองด้วยจำเลยทั้งสองต้องเป็นผู้ออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอม: หน้าที่ในการปลูกสร้างบ้านใหม่หลังรื้อถอน
การที่ ป.ไม่ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์แก่จำเลยทั้งสอง ก็เนื่องจากจำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยทั้งสองจะปลูกสร้างบ้านใหม่ให้คืนสู่สภาพเดิม เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ ป.ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองที่รื้อบ้านพิพาท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทระหว่างป.กับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่จะต้องปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าว และเมื่อตามข้อตกลงดักล่าว ป.ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของ ป. ก็ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทกับจำเลยทั้งสองด้วย จำเลยทั้งสองต้องเป็นผู้ออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่ครบถ้วน การรับผิดในส่วนที่ขาด และการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาท จำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 172539 พร้อมบ้านเลขที่ 123/79 และรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 ไว้แล้วและขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 86786จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 อยู่ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาทลงในที่ดินที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิตาม สัญญาจะซื้อจะขาย แม้จะรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 86786ก็เป็นการโต้แย้งกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2จะว่ากล่าวแก่กัน การสร้างรั้วพิพาทของจำเลยที่ 1หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กระทำละเมิดหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้อง เรียกร้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อรั้วพิพาทหรือใช้ราคาที่ดินได้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้ว พิพาทรุกล้ำที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์ได้รับโอนมาจำเลยที่ 1 ได้กระทำโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือเป็นการโต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 2 อันจะก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้องแต่เป็นเรื่องที่โจทก์คาดการณ์ขึ้นเอง โจทก์จึงอ้างสิทธิการรับโอนสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มาเป็นเหตุฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดฐานละเมิดหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยมิได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในขณะทีจำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้ามา จำเลยที่ 2จึงไม่อาจจะเป็นผู้กระทำละเมิดเกี่ยวกับการสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำดังกล่าวต่อผู้อื่นใดรวมทั้งโจทก์ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3รับโอนรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่รับโอนมาเพื่อรับผิดต่อโจทก์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายยกแปลงหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการขายยกแปลงโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 กับโจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทเป็นการขายยกแปลงกัน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ตรงประเด็น ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 และเมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งระบุเนื้อที่ไว้จำนวน 15 ตารางวา แต่ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวถูกรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปถึง 6 ตารางวาเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดในส่วนที่ส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่องนั้นต่อโจทก์ ตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่ส่งมอบขาดไปเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบขาดไปดังกล่าวโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าที่ดินตามราคาที่โจทก์กำหนดในส่วนที่มิได้เป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รั้วรุกล้ำที่ดิน: สิทธิเรียกร้องจำกัดเฉพาะเจ้าของที่ดิน ผู้รับโอนสิทธิยังไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 172539 พร้อมบ้านเลขที่ 123/79 และรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 ไว้แล้ว และขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 อยู่ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างรั้วพิพาทลงในที่ดินที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย แม้จะรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 86786 ก็เป็นการโต้แย้งกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะว่ากล่าวแก่กัน การสร้างรั้วพิพาทของจำเลยที่ 1หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้กระทำละเมิดหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้องเรียกร้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อรั้วพิพาทหรือใช้ราคาที่ดินได้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์ได้รับโอนมา จำเลยที่ 1 ได้กระทำโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือเป็นการโต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 2 อันจะก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้อง แต่เป็นเรื่องที่โจทก์คาดการณ์ขึ้นเอง โจทก์จึงอ้างสิทธิการรับโอนสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มาเป็นเหตุฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดฐานละเมิดหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยมิได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในขณะที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้ามา จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจจะเป็นผู้กระทำละเมิดเกี่ยวกับการสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำดังกล่าวต่อผู้อื่นใดรวมทั้งโจทก์ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่รับโอนมาเพื่อรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายยกแปลงหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการขายยกแปลงโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่86786 กับโจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทเป็นการขายยกแปลงกัน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ตรงประเด็น ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 240 และเมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งระบุเนื้อที่ไว้จำนวน 15 ตารางวา แต่ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวถูกรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปถึง 6 ตารางวา เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในส่วนที่ส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่องนั้นต่อโจทก์ ตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่ส่งมอบขาดไปเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบขาดไปดังกล่าวโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าที่ดินตามราคาที่โจทก์กำหนดในส่วนที่มิได้เป็นของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้องเรียกร้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อรั้วพิพาทหรือใช้ราคาที่ดินได้ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์ได้รับโอนมา จำเลยที่ 1 ได้กระทำโดยผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 2 หรือเป็นการโต้แย้งสิทธิจำเลยที่ 2 อันจะก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้อง แต่เป็นเรื่องที่โจทก์คาดการณ์ขึ้นเอง โจทก์จึงอ้างสิทธิการรับโอนสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มาเป็นเหตุฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดฐานละเมิดหาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 2 โดยมิได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในขณะที่จำเลยที่ 1 สร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้ามา จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจจะเป็นผู้กระทำละเมิดเกี่ยวกับการสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำดังกล่าวต่อผู้อื่นใดรวมทั้งโจทก์ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 รับโอนรั้วพิพาทจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่รับโอนมาเพื่อรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายยกแปลงหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการขายยกแปลงโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่86786 กับโจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 กับโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทเป็นการขายยกแปลงกัน จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ตรงประเด็น ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 240 และเมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าซื้อขายที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งระบุเนื้อที่ไว้จำนวน 15 ตารางวา แต่ปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวถูกรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปถึง 6 ตารางวา เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในส่วนที่ส่งมอบที่ดินขาดตกบกพร่องนั้นต่อโจทก์ ตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่ส่งมอบขาดไปเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบขาดไปดังกล่าวโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าที่ดินตามราคาที่โจทก์กำหนดในส่วนที่มิได้เป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นสอบสวนใช้ยันจำเลยได้ หากพนักงานสอบสวนไม่มีสาเหตุโกรธเคือง และการฟ้องคดีอาญาต้องมีการร้องทุกข์
คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับ ป. ลักทรัพย์ของผู้เสียหาย เป็นพยานบอกเล่าที่ใช้เป็นพยานหลักฐานได้เพียงนำไปรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เท่านั้น แต่คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่ว่าพยานเป็นผู้สอบสวนจำเลย และจำเลยได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน เป็นคำเบิกความของประจักษ์พยานในข้อที่ว่ามีการสอบสวนจำเลยแล้วจำเลยให้การรับสารภาพว่าอย่างไร ทั้งพนักงานสอบสวนก็ไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยสมัครใจคำให้การดังกล่าวจึงใช้ยันจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน แต่ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ดังนี้ศาลจะลงโทษตามมาตรา 365 ไม่ได้เพราะโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 สูงกว่ามาตรา 364เป็นการเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง พยานหลักบานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานบุกรุก คำเบิกความและข้อนำสืบของพยานโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามระเบียบในความผิดฐานนี้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจทำการสอบสวนพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120และ 121 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้ซื้อที่ดินจะสุจริต แต่หากปล่อยปละละเลยให้ครอบครองต่อ อาจเสียกรรมสิทธิ์ได้
จำเลยเข้าครอบครองและปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทมากว่า10 ปี จนจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์มาก่อนที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจาก ว.เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม แม้จำเลยจะมิได้จดทะเบียนสิทธินั้น จึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ซื้อที่ดินนั้นมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เองก็มิได้ดำเนินการเพื่อแสดงสิทธิดังกล่าวแก่จำเลย กลับปล่อยปละละเลยให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจนกลายเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ต่อมาอีก ฉะนั้น เมื่อจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมานับตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่ได้จดทะเบียน แต่โจทก์ละเลยไม่แสดงสิทธิ
จำเลยเข้าครอบครองและปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทมากว่า 10 ปี จนจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์มาก่อนที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจาก ว. เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม แม้จำเลยจะมิได้จดทะเบียนสิทธินั้น จึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ซื้อที่ดินนั้นมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เองก็มิได้ดำเนินการเพื่อแสดงสิทธิดังกล่าวแก่จำเลย กลับปล่อยปละละเลยให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจนกลายเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์ต่อมาอีก ฉะนั้น เมื่อจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมานับตั้งแต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด & ค้ำประกัน: เจ้าหนี้มีสิทธิหักเงินเดือนผู้ค้ำประกันได้
สัญญาเช่าซื้อที่ ส. ทำไว้ต่อจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมได้กำหนดเวลาชำระราคาค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกวันสุดท้ายของเดือนรวม 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนที่ระบุไว้ อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อ ส. ไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย จำเลยชอบที่จะเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้นับแต่ ส. ผิดนัด แม้ตามสัญญาค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อระบุว่า หาก ส.ยังมีเงินพึงได้จากจำเลย จำเลยต้องหักเงินค่าเช่าซื้อจากรายได้ของ ส.หากไม่สามารถหักได้ส. มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระ ถ้าไม่ชำระจึงจะได้ชื่อว่าส. ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ระหว่าง ส. และจำเลยเท่านั้น เมื่อกำหนดเวลาชำระหนี้คงเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อซึ่ง ส. จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อส.ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาส. ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ถ้า ส.ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ โดยยอมให้หักจากเงินรายได้ทุกประเภทของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากจำเลยเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกเดือนในอัตราและจำนวนเดือนแทนผู้เช่าซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ ส. ค้างชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน: สิทธิเรียกหนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัด และการหักเงินจากผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ต่อจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมได้กำหนดเวลาชำระราคาค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกวันสุดท้ายของเดือน รวม 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนใด อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อ ส.ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย จำเลยชอบที่จะเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้นับแต่ส.ผิดนัด แม้ตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาเช่าซื้อระบุว่า หาก ส.ยังมีเงินพึงได้จากจำเลย จำเลยต้องหักเงินค่าเช่าซื้อจากรายได้ของ ส. หากไม่สามารถหักได้ส.มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระ ถ้าไม่ชำระจึงจะได้ชื่อว่า ส.ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ระหว่าง ส.และจำเลยเท่านั้น เมื่อกำหนดเวลาชำระหนี้คงเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อ ซึ่ง ส.จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อ ส.ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาส.ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ถ้า ส.ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ โดยยอมให้หักจากเงินรายได้ทุกประเภทของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากจำเลยเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกเดือนในอัตราและจำนวนเดือนแทนผู้เช่าซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ ส.ค้างชำระได้