คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสภายหลังเกิดเหตุพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา ผลกระทบต่อความผิดทางอาญา
ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ม. มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์จึงมิอาจสมรสได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 กรณีที่จำเลยต้องการอยู่กินฉันสามีภริยากับเด็กหญิง ม. โดยนาง จ.มารดาเด็กหญิง ม. ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขออนุญาตให้เด็กหญิง ม. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุแล้วแม้ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะอนุญาตตามคำร้องดังกล่าวก็มิอาจลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำมา ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจึงชอบแล้ว แต่เมื่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้อนุญาตให้จำเลยและเด็กหญิง ม. สมรสกันการกระทำของจำเลยในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคท้ายแม้จำเลยจะมิได้ฎีกามาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องเช็ค: วันที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็ค 2 ฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม 2539 และวันที่ 15 เมษายน 2539 มอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ผู้เสียหายนำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในวันที่เช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดสั่งจ่ายคือวันที่ผู้เสียหายนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงิน และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับในวันที่ที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายนั้น ถือได้ว่าโจทก์ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คไว้ในคำฟ้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องเช็ค: การระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็ค 2 ฉบับ ลงวันที่ 15 มีนาคม 2539 และวันที่ 15 เมษายน 2539มอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ผู้เสียหายนำไปเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้นย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในวันที่เช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดสั่งจ่ายคือวันที่ผู้เสียหายนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับในวันที่ที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายนั้น ถือได้ว่าโจทก์ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คไว้ในคำฟ้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องห้ามตามกฎหมายเมื่อสิทธิเรียกร้องยังไม่เด็ดขาด และจำเลยมิได้ฟ้องแย้ง
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของจำเลยและในช่วงเวลาที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของโจทก์ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยที่โชว์รูม ของจำเลยรถจักรยานยนต์ 1 คัน ของ ก. พนักงานของจำเลยซึ่งก.เช่าซื้อมาและจอดไว้ที่บริเวณหน้าโชว์รูม ดังกล่าวได้หายไปต่อมาโจทก์มีหนังสือชี้แจงแก่จำเลยว่าโจทก์ไม่อาจชดใช้ค่ารถจักรยานยนต์ให้ได้เนื่องจากเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพนักงานจำเลย และมิได้เก็บไว้ในสถานที่แน่นหนา หรือได้แจ้งส่งมอบโดยลงบันทึกในสมุดรายงานประจำวันของพนักงานรักษาความปลอดภัยตามเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย จากนั้นโจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อกัน โดยจำเลยไม่ได้ชำระค่าจ้างก่อนบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ การที่โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ราคารถจักรยานยนต์ดังกล่าวแก่จำเลยสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไป จึงเป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยผู้ว่าจ้างจึงไม่อาจเอามาหักกลบลบหนี้กับค่าจ้างค้างจ่ายต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344และจำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก. ที่หายไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องฟ้องร้องกันเป็นคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับค่าเสียหายจากทรัพย์สินหาย: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบได้
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ทำหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของจำเลยและในช่วงเวลาที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของโจทก์ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยที่โชว์รูมของจำเลย รถจักรยานยนต์ 1 คัน ของ ก.พนักงานของจำเลยซึ่ง ก.เช่าซื้อมาและจอดไว้ที่บริเวณหน้าโชว์รูมดังกล่าวได้หายไป ต่อมาโจทก์มีหนังสือชี้แจงแก่จำเลยว่าโจทก์ไม่อาจชดใช้ค่ารถจักรยานยนต์ให้ได้เนื่องจากเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพนักงานจำเลย และมิได้เก็บไว้ในสถานที่แน่นหนา หรือได้แจ้งส่งมอบโดยลงบันทึกในสมุดรายงานประจำวันของพนักงานรักษาความปลอดภัยตามเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย จากนั้นโจทก์และจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อกัน โดยจำเลยไม่ได้ชำระค่าจ้างก่อนบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ การที่โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชดใช้ราคารถจักรยานยนต์ดังกล่าวแก่จำเลยสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไป จึงเป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยผู้ว่าจ้างจึงไม่อาจเอามาหักกลบลบหนี้กับค่าจ้างค้างจ่ายต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 344 และจำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ก.ที่หายไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องฟ้องร้องกันเป็นคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรโชกทรัพย์: การข่มขู่เพื่อให้จ่ายเงินเพื่อป้องกันความเสียหายต่อรถยนต์ ถือเป็นความผิดสำเร็จ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ขับรถจักรยานยนต์เข้าไปสอบถามโจทก์ร่วมเกี่ยวกับการเฝ้ารถ เมื่อโจทก์ร่วมไม่ยอมให้เฝ้าจำเลยกลับเร่ง เครื่องยนต์ให้ดังกว่าปกติและพูดในลักษณะไม่รับรองความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์นั้น ย่อมชี้ชัดให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ต้องการจะข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมให้ซึ่งค่าจอดรถแก่จำเลยนั่นเอง แม้ในครั้งแรกโจทก์ร่วม จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยเฝ้ารถแต่เมื่อโจทก์ร่วมถูกจำเลยข่มขู่ ในภายหลังจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมเกิดความกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายแก่รถยนต์ของตน โจทก์ร่วมจึงยินยอมจ่ายเงิน ให้แก่ ศ. พวกของจำเลยไป นับได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องโดยตรง จากการถูกจำเลยข่มขู่ ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นยังไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จในข้อหากรรโชกแล้ว แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะมิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหา ความผิดสำเร็จ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เองโดยลงโทษ ไม่เกินกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ เงินที่โจทก์ร่วมจ่ายให้แก่จำเลยมีจำนวนเพียง 10 บาทนับว่าเป็นจำนวนเล็กน้อยทั้งได้ความว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยรับโทษถึงจำคุก เนื่องจากหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้วจำเลยได้แก้ไขพฤติกรรมของตนเองให้ดีขึ้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการ ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไป ศาลฎีกาเห็นสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม/ทางจำเป็น: ระยะเวลาการใช้ทาง, การใช้เพื่อประโยชน์ตนเอง, และทางออกอื่น
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อปี 2531 จาก ส. หลังจากที่โจทก์ซื้อมาโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนแก้ววรวุฒินับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แม้เจ้าของที่ดินอื่นได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของตนเกิน 10 ปีแต่เมื่อมิได้ใช้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ จึงจะนำระยะเวลาที่เจ้าของที่ดินอื่นใช้ประโยชน์ทางพิพาทดังกล่าวเพื่อทำให้ที่ดินของโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้ คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการแก้ไขโทษโดยศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรีซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้
คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องละเมิดต่างหาก ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า สัญญาเช่าเลิกกันดังที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่อยู่ในห้องเช่าพิพาทอีกต่อไป ดังนี้การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์จงใจหรือกลั่นแกล้งจำเลยให้ได้รับความเดือดร้อน โดยไม่ให้ความร่วมมือเซ็นเอกสารต่างๆที่จำเลยต้องนำไปใช้ในการจดทะเบียนประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ยินยอมมอบตราประทับสำหรับจอดรถฟรีของลูกค้าให้แก่จำเลย ทำให้ได้รับความเสียหาย อันเป็นเรื่องละเมิด ทั้งข้ออ้างของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าประการใด จึงไม่เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
of 36