คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้สินหลังชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: ฟ้องเกิน 2 ปี ขาดอายุความ
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535 จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะมีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253 (2)หรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินหลังการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน/บริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความ ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3จะมีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253(2) หรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่บนที่ดินพิพาทเดิมหลังคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
เมื่อปี 2517 โจทก์ฟ้องขับไล่สามีจำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 ของโจทก์ซึ่งให้สามีจำเลยเช่า สามีจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สามีจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ ไม่ใช่ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของสามีจำเลย และอยู่นอกเขตโฉนดเลขที่ 2021 โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ให้ยกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ออกจากที่ดินพิพาทอีกนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในคดีนี้เป็นภรรยาของจำเลยในคดีก่อนและได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทกับจำเลยในคดีก่อนตลอดมาจนกระทั่งจำเลยในคดีก่อนถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยในคดีนี้ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมา จำเลยในคดีนี้จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากจำเลยในคดีก่อน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่บนที่ดินพิพาทที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
เมื่อปี 2517 โจทก์ฟ้องขับไล่สามีจำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 ของโจทก์ซึ่งให้สามีจำเลยเช่า สามีจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สามีจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ ไม่ใช่ที่ดินตามโฉนดดังกล่าว ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของสามีจำเลย และอยู่นอกเขตโฉนดเลขที่ 2021โจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ให้ยกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยในคดีนี้ออกจากที่ดินพิพาทอีกนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในคดีนี้เป็นภรรยาของจำเลยในคดีก่อนและได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทกับจำเลยในคดีก่อนตลอดมาจนกระทั่งจำเลยในคดีก่อนถึงแก่ความตาย จากนั้นจำเลยในคดีนี้ได้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมา จำเลยในคดีนี้จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากจำเลยในคดีก่อน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5316/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดโดยการชี้ตัว vs. ชี้ภาพถ่าย: ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน
แม้ขณะเกิดเหตุจะเป็นเวลากลางวันและผู้เสียหายเห็นคนร้ายอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน ผู้เสียหายมีโอกาสที่จะจำคนร้ายได้ แต่การจำคนร้ายได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลผู้ประสบเหตุนั้นด้วย จึงต้องดูพฤติการณ์อื่นประกอบด้วยว่าเพียงพอที่จะรับฟังว่าบุคคลนั้นจำคนร้ายได้หรือไม่ การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีไม่ได้เกิดจากคำให้การของผู้เสียหาย แต่เป็นผลมาจากเจ้าพนักงานตำรวจท้องที่อื่นจับจำเลยได้ในข้อหาปล้นทรัพย์ที่ป้ายรถยนต์โดยสารประจำทางเยื้องห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดหญ้า จำเลยรับว่าได้ปล้นทรัพย์ในท้องที่ภาษีเจริญด้วย จึงมีการแจ้งมาที่สถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ อ. พนักงานสอบสวนคดีนี้จึงไปถ่ายรูปจำเลยแล้วให้ผู้เสียหายดูภาพถ่ายดังกล่าว แทนที่จะใช้วิธีการชี้ตัวเพื่อพิสูจน์ว่าผู้เสียหายจำจำเลยได้หรือไม่การใช้วิธีให้ผู้เสียหายชี้ภาพถ่ายสมควรกระทำในกรณีที่ไม่อาจใช้วิธีการชี้ตัวบุคคลเนื่องด้วยเหตุผลพิเศษบางประการเช่น ยังจับตัวคนร้ายไม่ได้ เป็นต้น แต่ในกรณีปกติ ถ้าสามารถจัดให้พยานหรือผู้เสียหายชี้ตัวได้ ก็ไม่ควรใช้วิธีชี้ภาพถ่ายแทนเพราะไม่มีผลน่าเชื่อถือเท่ากับวิธีการให้ชี้ตัว เนื่องจากการชี้ตัวได้เห็นตัวบุคคลจริงย่อมมีความแน่นอนกว่า ทั้งต้องกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยและพยานอื่นอีกหลายคน ที่ อ. อ้างว่าการที่มิได้จัดให้ผู้เสียหายชี้ตัวจำเลย เพราะต้องเบิกจำเลยมาที่สถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญเป็นการยุ่งยาก ก็ปรากฏว่าการที่จะให้ผู้เสียหายชี้ตัวจำเลยไม่ได้เป็นเรื่องยากเย็นเพราะจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลสมเด็จเจ้าพระยาห่างกันประมาณ 5 กิโลเมตรเท่านั้น ดังนั้น แม้ผู้เสียหายดูภาพถ่ายแล้วระบุว่าจำเลยคือคนร้ายที่ใช้มีดคัตเตอร์จี้และชกหน้าผู้เสียหาย ก็ยังยากที่จะรับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายจริง ส่วนการที่ผู้เสียหายชี้จำเลยในศาลนั้นผู้เสียหายเห็นภาพถ่ายจำเลยมาแล้วและสภาพของจำเลยที่อยู่ในห้องพิจารณามีความแตกต่างจากผู้อื่นสามารถรู้ว่าบุคคลใดเป็นจำเลยได้ไม่ยาก ไม่อาจใช้พิสูจน์ว่าผู้เสียหายจำได้ว่าจำเลยคือคนร้าย เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิดคดีนี้ จึงมีเหตุน่าสงสัยว่าหากจำเลยทำผิดคดีนี้ด้วย จำเลยก็น่าจะรับสารภาพต่อ อ. เช่นเดียวกับที่ให้การรับสารภาพต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลสมเด็จเจ้าพระยา พยานหลักฐานโจทก์ยังเป็นพิรุธน่าสงสัยว่าจำเลยอาจจะไม่ใช่คนร้ายที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายก็ได้จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีกู้ยืมเงิน: โจทก์ต้องพิสูจน์การทำสัญญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยได้รับเงินจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมโดยโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ ทั้งที่ไม่เป็นความจริง คำให้การของจำเลยเป็นการปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามข้ออ้างของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีกู้ยืมเงิน: โจทก์ต้องพิสูจน์การทำสัญญาและรับเงิน หากจำเลยปฏิเสธ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยได้รับเงินจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นเอกสารปลอมโดยโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ ทั้งที่ไม่เป็นความจริง คำให้การของจำเลยเป็นการปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามข้ออ้างของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรุกป่าและการต่อสู้คดีเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ศาลฎีกาไม่รับฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันในศาลล่าง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยบุกรุกนำต้นไม้เข้ามาปลูกในที่ดินโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา จำเลยให้การว่า จำเลยปลูกต้นไม้ในที่ดินของจำเลย ไม่ได้บุกรุกที่ดินโจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ทั้งมิได้ยกประเด็นเรื่องการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมตามมาตรา 1299 วรรคสอง ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ด้วย ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาแม้จะเป็นการฎีกาในข้อกฎหมายแต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6698 เนื้อที่ 11 ตารางวา มีอาณาเขตทางด้านทิศใต้ติดที่ดินของจำเลย จำเลยได้รุกล้ำนำต้นไม้เข้าปลูกในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวความยาวทางด้านทิศใต้ เนื้อที่ประมาณ3 ตารางวา ขอให้ขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วแม้จะไม่บรรยายว่าจำเลยได้บุกรุกที่ดินของโจทก์กว้างยาวและลึกเท่าใดก็ตาม แต่ก็พอเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินส่วนไหนของโจทก์อย่างไรอีกทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีในกรณีเช่นนี้จึงต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความใช้แทนเกินกว่าอัตราขั้นสูงและพิพากษาแก้ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องมานั้น แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาของให้จำเลยรับผิดชำระค่าทนายความให้สูงขึ้น ศาลฎีกาก็ไม่อาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์ให้สูงขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการวินิจฉัยประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาและการกำหนดค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยบุกรุกนำต้นไม้เข้ามาปลูกในที่ดินโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา จำเลยให้การว่า จำเลยปลูกต้นไม้ในที่ดินของจำเลย ไม่ได้บุกรุกที่ดินโจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องการครอบครองตามป.พ.พ.มาตรา 1382 ทั้งมิได้ยกประเด็นเรื่องการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามมาตรา1299 วรรคสอง ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ด้วย ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาแม้จะเป็นการฎีกาในข้อกฎหมาย แต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6698 เนื้อที่ 11 ตารางวา มีอาณาเขตทางด้านทิศใต้ติดที่ดินของจำเลยจำเลยได้รุกล้ำนำต้นไม้เข้ามาปลูกในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวความยาวทางด้านทิศใต้เนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา ขอให้ขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้จะไม่บรรยายว่าจำเลยได้บุกรุกที่ดินของโจทก์กว้าง ยาวและลึกเท่าใดก็ตาม แต่ก็พอเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินส่วนไหนของโจทก์อย่างไร อีกทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีในกรณีเช่นนี้จึงต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.เป็นหลัก
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความใช้แทนเกินกว่าอัตราขั้นสูงและพิพากษาแก้ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องมานั้น แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าทนายความให้สูงขึ้น ศาลฎีกาก็ไม่อาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์ให้สูงขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบต่างจากคำให้การไม่กระทบประเด็นครอบครองปรปักษ์ หากเป็นการอ้างสิทธิในฐานะผู้ซื้อ
แม้ทางนำสืบของจำเลยจะแตกต่างกับคำให้การของจำเลยในเรื่องจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือซื้อจาก ย. ผ่าน ก. แต่ประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือไม่ ข้อที่โจทก์กับจำเลยโต้แย้งกันคือ จำเลยเข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ก. หรืออาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาท ดังนั้นไม่ว่าจำเลยจะซื้อที่พิพาทจาก ย. โดยชำระเงินผ่าน ก. หรือ ก. ซื้อที่ดินจาก ย. แล้วแบ่งที่พิพาทขายให้จำเลย ก็เป็นกรณีที่จำเลยนำสืบอ้างว่าได้เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทเช่นกัน การนำสืบของจำเลยจึงอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้รับฟังไม่ได้ ส่วนจะมีน้ำหนักน่าเชื่อหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยต่อไป
of 36