คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่า: ศาลพิจารณาความเหมาะสมจากผลประโยชน์ที่สูญเสียและผลได้ที่จำเลยได้รับ
การกำหนดวันจดทะเบียนการเช่าตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันมิได้ให้อำนาจจำเลยเปลี่ยนแปลงวันจดทะเบียนการเช่าได้โดยพลการ การเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเหตุขัดข้องขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าเป็นเพียงข้อเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าออกไปเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ตอบตกลง ทั้งไม่ได้กระทำการอันใดขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ แต่ตรงกันข้ามโจทก์กลับมอบอำนาจให้ ศ. ไปจดทะเบียนการเช่าแทนตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้เดิมอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ยอมตกลงตามข้อเสนอของจำเลย การเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าของจำเลยจึงไม่มีผล ต้องถือตามกำหนดนัดเดิม เมื่อจำเลยไม่ไปตามนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ว่าหากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนการเช่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตลอดจนเรียกร้องจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าตอบแทนการเช่าที่รับไว้ทั้งหมดพร้อมค่าชดเชยความเสียหายอีก 3,600,000 บาท นั้น ในส่วนค่าชดเชยความเสียหายเป็นเรื่องจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนการเช่ากับโจทก์ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลยหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่าให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน คดีนี้นอกจากค่าเช่าเป็นรายเดือนแล้ว จำเลยเรียกค่าตอบแทนการเช่าจากโจทก์ 18,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินงวดแรกให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา 1,800,000 บาท ที่เหลือ 16,200,000 บาทจะชำระในวันจดทะเบียน หากโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนการเช่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วได้ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องทั้งโจทก์และจำเลยต่างกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็ยอมรับในเบี้ยปรับที่อีกฝ่ายกำหนดไว้ด้วยแม้จำนวนเบี้ยปรับที่โจทก์จะได้รับในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจะสูงกว่าเบี้ยปรับที่จำเลยจะได้รับในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาแต่จำเลยก็ได้เปรียบโจทก์ในส่วนที่จำเลยได้เงินของโจทก์ไว้แล้วถึง 1,800,000 บาท แต่โจทก์ไม่ได้ทรัพย์สินของจำเลยไว้ นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 จำเลยให้การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยเช่าที่ดินและสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวเป็นเวลา 17 ปี ได้เงินค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนเป็นจำนวนสูงกว่าที่โจทก์เสนอให้ซึ่งหากทั้งโจทก์และการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยไม่เห็นว่าจะมีรายได้จากสถานีบริการน้ำมันของจำเลยเป็นจำนวนสูงกว่าค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนที่ต้องจ่ายให้จำเลย พร้อมทั้งดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราที่จะได้จากธนาคารหากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารแล้ว โจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยก็คงจะไม่ทำสัญญาเช่ากับจำเลยเป็นแน่ การที่จำเลยผิดสัญญาย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ดังกล่าวไปแม้พยานโจทก์ที่กล่าวถึงจำนวนเงินกำไรที่โจทก์จะได้รับหากมีการเช่าตามสัญญาเป็นเวลา 16 ปี จะเป็นไปอย่างลอย ๆ ไม่ได้แสดงหลักเกณฑ์ในการคำนวณหารายได้ดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ลดจำนวนเงินเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ลงเหลือ 3,000,000 บาท อันเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่า: การลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนโดยพิจารณาผลประโยชน์ทุกฝ่าย
การกำหนดวันจดทะเบียนการเช่าตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันมิได้ให้อำนาจจำเลยเปลี่ยนแปลงวันจดทะเบียนการเช่าได้โดยพลการ การเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเหตุขัดข้องขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าเป็นเพียงข้อเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าออกไปเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ตอบตกลง ทั้งไม่ได้กระทำการอันใดขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ แต่ตรงกันข้ามโจทก์กลับมอบอำนาจให้ ศ.ไปจดทะเบียนการเช่าแทนตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้เดิมอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ยอมตกลงตามข้อเสนอของจำเลย การเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าของจำเลยจึงไม่มีผล ต้องถือตามกำหนดนัดเดิม เมื่อจำเลยไม่ไปตามนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ว่าหากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนการเช่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตลอดจนเรียกร้องจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าตอบแทนการเช่าที่รับไว้ทั้งหมด พร้อมค่าชดเชยความเสียหายอีก 3,600,000 บาท นั้นในส่วนค่าชดเชยความเสียหายเป็นเรื่องจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนการเช่ากับโจทก์ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลยหรือไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้นท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน คดีนี้นอกจากค่าเช่าเป็นรายเดือนแล้ว จำเลยเรียกค่าตอบแทนการเช่าจากโจทก์ 18,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินงวดแรกให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา 1,800,000 บาท ที่เหลือ 16,200,000 บาทจะชำระในวันจดทะเบียน หากโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนการเช่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วได้ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องทั้งโจทก์และจำเลยต่างกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็ยอมรับในเบี้ยปรับที่อีกฝ่ายกำหนดไว้ด้วย แม้จำนวนเบี้ยปรับที่โจทก์จะได้รับในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจะสูงกว่าเบี้ยปรับที่จำเลยจะได้รับในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา แต่จำเลยก็ได้เปรียบโจทก์ในส่วนที่จำเลยได้เงินของโจทก์ไว้แล้วถึง 1,800,000 บาท แต่โจทก์ไม่ได้ทรัพย์สินของจำเลยไว้ นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 จำเลยให้การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยเช่าที่ดินและสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวเป็นเวลา 17 ปี ได้เงินค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนเป็นจำนวนสูงกว่าที่โจทก์เสนอให้ ซึ่งหากทั้งโจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไม่เห็นว่าจะมีรายได้จากสถานีบริการน้ำมันของจำเลยเป็นจำนวนสูงกว่าค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนที่ต้องจ่ายให้จำเลย พร้อมทั้งดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราที่จะได้จากธนาคารหากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารแล้ว โจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยก็คงจะไม่ทำสัญญาเช่ากับจำเลยเป็นแน่ การที่จำเลยผิดสัญญาย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ดังกล่าวไปแม้พยานโจทก์ที่กล่าวถึงจำนวนเงินกำไรที่โจทก์จะได้รับหากมีการเช่าตามสัญญาเป็นเวลา 16 ปี จะเป็นไปอย่างลอย ๆ ไม่ได้แสดงหลักเกณฑ์ในการคำนวณหารายได้ดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ลดจำนวนเงินเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ลงเหลือ 3,000,000 บาท อันเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของเมทแอมเฟตามีนจาก พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ และผลกระทบต่อความผิด
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวง-สาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุ-ออกฤทธิ์ ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518เดิมทุกฉบับ และให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่มีระบุว่าเมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อีกต่อไป แต่ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ดังนั้น ขณะศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิอีกต่อไป แต่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน ทำให้โทษจำคุกของผู้ต้องหาลดลงตามกฎหมายยาเสพติดให้โทษ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เดิมทุกฉบับ และให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่มีระบุว่าเมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อีกต่อไป แต่ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังนั้นขณะศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ อีกต่อไป แต่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมและเข้าค้นในที่รโหฐานเมื่อพบเห็นความผิดซึ่งหน้าและมีเหตุฉุกเฉิน
จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอก ป.จับจำเลยได้ ขณะที่จำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ล่อซื้อ ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าขณะนั้นธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ที่จำเลยและจำเลยดิ้นรนต่อสู้ ถ้าปล่อยให้เนิ่นช้ากว่าจะนำหมายจับและหมายค้นมาได้ จำเลยอาจหลบหนีและพยานหลักฐานอาจสูญหายจึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จ่าสิบตำรวจ ส. และร้อยตำรวจเอกป.จึงมีอำนาจเข้าไปในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้น และมีอำนาจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80,81 ประกอบมาตรา 92(2) และมาตรา 96(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและความจำเป็นในการเข้าค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น กรณีความผิดซึ่งหน้าและเหตุฉุกเฉิน
จ่าสิบตำรวจ ส.และร้อยตำรวจเอก ป.จับจำเลยได้ขณะที่จำเลยกำลังขายวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส.ผู้ล่อซื้อ ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ขณะนั้นธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ที่จำเลยและจำเลยดิ้นรนต่อสู้ ถ้าปล่อยให้เนิ่นช้ากว่าจะนำหมายจับและหมายค้นมาได้ จำเลยอาจหลบหนีและพยานหลักฐานอาจสูญหายจึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จ่าสิบตำรวจ ส.และร้อยตำรวจเอก ป.จึงมีอำนาจเข้าไปในบริเวณบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้น และมีอำนาจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ.มาตรา80, 81 ประกอบมาตรา 92 (2) และมาตรา 96 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็ค ณ เวลาปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นผู้เสียหาย
จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยระบุชื่อพ. ภริยาโจทก์ หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้ จึงต้องถือเอาข้อความที่ปรากฏในเช็คเป็นสำคัญ เมื่อข้อความในเช็คพิพาทระบุชื่อพ. หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดชำระเงินพ. นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของตนเพื่อเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงต้องถือว่าในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอันเป็นวันที่ความผิดเกิดขึ้นนั้นพ. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท หาใช่เป็นตัวแทนโจทก์ในการเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ เมื่อ พ. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะความผิดเกิดขึ้น พ. จึงเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะความผิดเกิดขึ้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทรงเช็คพิพาทมีอำนาจฟ้องคดีเช็ค – ผู้รับเงินตามเช็คเป็นผู้เสียหาย
จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยระบุชื่อ พ.ภริยาโจทก์ หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้ จึงต้องถือเอาข้อความที่ปรากฏในเช็คเป็นสำคัญ เมื่อข้อความในเช็คพิพาทระบุชื่อ พ.หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงิน เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดชำระเงิน พ.นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของตนเพื่อเรียกเก็บเงิน และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงต้องถือว่าในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอันเป็นวันที่ความผิดเกิดขึ้นนั้น พ.เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท หาใช่เป็นตัวแทนโจทก์ในการเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ เมื่อ พ.เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะความผิดเกิดขึ้น พ.จึงเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะความผิดเกิดขึ้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องราคาค่าจ้างไม่ถือเป็นการผิดสัญญา บอกเลิกสัญญาไม่ได้
โจทก์ได้ทำชั้นวางของจนสำเร็จตามที่จำเลยว่าจ้าง จำเลยจึงมีหน้าที่ที่ต้องรับมอบชั้นวางของดังกล่าวจากโจทก์ พร้อมกับใช้ราคาตามที่ตกลงกันให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 602 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระราคาผิดไปจากข้อตกลงอันเป็นการผิดสัญญาเพื่อบอกเลิกสัญญาไม่ได้จำเลยมีสิทธิเพียงแต่บอกปัดไม่จำต้องชำระราคาให้แก่โจทก์ตามที่เรียกร้องมาเท่านั้น
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นเพียงการโต้แย้งกันเรื่องราคาค่าจ้างเท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าการเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้โดยตรง หาใช่นอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาอาศัยมูลหนี้แพ่งที่ระงับสิ้นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้เสียหายนำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งแล้วต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ดังนั้น หนี้ตามเช็คพิพาทจึงเป็นอันระงับสิ้นความผูกพัน คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
of 36