คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อระงับเหตุรำคาญ และผลของการไม่ทราบคำสั่งโดยชอบ
พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 28 วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้น มาตรา 45 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง ถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ แต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องชอบด้วยกฎหมาย การรับรู้คำสั่งเป็นสำคัญต่อความผิด
พระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ.2535มาตรา28วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้นมาตรา45ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบแต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การพิสูจน์การรับทราบคำสั่ง และความรับผิดตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 28 วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้น มาตรา 45 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง ถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ แต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไข เหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิพาทมรดก: การท้าความถูกต้องของทรัพย์มรดกที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับ ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งที่มีสิทธิรับมรดกของนางตุ้น ผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่18มีนาคม2525โดยมิได้นำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้และจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นตามคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามส่วนและให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกจำเลยให้การต่อสู้คดีว่านางตุ้นยกที่พิพาทให้แก่จำเลยต. พ. และส.แล้วตั้งแต่ปี2518ขณะนางตุ้น ยังมีชีวิตอยู่และจำเลยต. พ.และส. ต่างครอบครองที่พิพาทตามส่วนของตนที่นางตุ้นยกให้ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี2518จนถึงปี2533หลังจากนางตุ้นตายแล้วจำเลยจึงยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นต่อศาลก็เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากนางตุ้น มาเป็นจำเลยต. พ. และส. เท่านั้นไม่เกี่ยวกับทายาทอื่นอันเป็นการให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยต.พ. และส. แล้วไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่จึงเป็นปัญหาที่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับแล้วซึ่งในการที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ก็ต้องวินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวด้วยการที่คู่ความหยิบยกเอาปัญหาดังกล่าวมาท้ากันจึงไม่ขัดต่อกฎหมายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งในการท้ากันก็ไม่จำต้องท้ากันตรงตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้คำท้าดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ คู่ความตกลงท้ากันว่าถ้าย. ล. ผ. ส. นายวินนายวัน และถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาลถ้ามี4คนขึ้นไปยื่นยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ถ้ามี4คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น หรือไม่ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทนปรากฎว่าย. และนายวัน สาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบล. ผ.ส. และนายวิน สาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วนถ. สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะทรัพย์สินว่าเป็นมรดกหรือไม่ และผลของการยอมรับข้อเท็จจริงเบื้องต้นของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งที่มีสิทธิรับมรดกของนางตุ้น ผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2525 โดยมิได้นำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้ และจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นตามคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามส่วน และให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดก จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า นางตุ้นยกที่พิพาทให้แก่จำเลย ต. พ.และ ส.แล้วตั้งแต่ปี 2518 ขณะนางตุ้นยังมีชีวิตอยู่และจำเลย ต. พ.และ ส.ต่างครอบครองที่พิพาทตามส่วนของตนที่นางตุ้นยกให้ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปี 2533 หลังจากนางตุ้นตายแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นต่อศาลก็เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากนางตุ้นมาเป็นจำเลย ต. พ. และ ส.เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับทายาทอื่น อันเป็นการให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ต. พ. และ ส.แล้วไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่จึงเป็นปัญหาที่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับแล้ว ซึ่งในการที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ก็ต้องวินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวด้วย การที่คู่ความหยิบยกเอาปัญหาดังกล่าวมาท้ากันจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งในการท้ากันก็ไม่จำต้องท้ากันตรงตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้คำท้าดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ
คู่ความตกลงท้ากันว่า ถ้า ย. ล. ผ. ส. นายวิน นายวันและ ถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาล ถ้ามี 4 คน ขึ้นไปยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ ถ้ามี 4 คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นหรือไม่ ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทน ปรากฏว่า ย.และนายวันสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบ ล. ผ. ส.และนายวินสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วน ถ.สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กจากอำนาจปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้เด็กต้องการความช่วยเหลือ
เมื่อจำเลยออกมาพบเด็กหญิงม. อายุ13ปีเศษที่ปากซอยนั้นจิตใจของเด็กหญิงม. กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ้นสับสนจะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาก็ไม่อยากกลับเพราะกลัวจะถูกทำโทษครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนจึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่ใจของจำเลยหากจำเลยไม่พาเด็กหญิงม.ไปเด็กหญิงม. อาจจะกลับไปบ้านก็ได้อีกทั้งเมื่อโจทก์ร่วมออกมาดูเห็นจำเลยพาเด็กหญิงม. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปดังนั้นหากจำเลยไม่พาเด็กหญิงม. ไปโจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบเด็กหญิงม. และพาเด็กหญิงม.กลับบ้านการที่จำเลยพาเด็กหญิงม. ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กหญิงม. ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กจากอำนาจปกครองโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เมื่อจำเลยออกมาพบเด็กหญิง ม.อายุ 13 ปีเศษ ที่ปากซอยนั้นจิตใจของเด็กหญิง ม.กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ่นสับสน จะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาก็ไม่อยากกลับเพราะกลัวจะถูกทำโทษ ครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน จึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่ใจของจำเลย หากจำเลยไม่พาเด็กหญิง ม.ไป เด็กหญิง ม.อาจจะกลับไปบ้านก็ได้ อีกทั้งเมื่อโจทก์ร่วมออกมาดู เห็นจำเลยพาเด็กหญิง ม.นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไป ดังนั้น หากจำเลยไม่พาเด็กหญิง ม.ไป โจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบเด็กหญิง ม.และพาเด็กหญิง ม.กลับบ้าน การที่จำเลยพาเด็กหญิง ม.ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลย จึงเป็นการพรากเด็กหญิง ม.ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กจากอำนาจปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควร กรณีเด็กต้องการความช่วยเหลือจากจำเลย
เมื่อจำเลยพบเด็กหญิงม.ที่ปากซอยนั้นจิตใจของเด็กหญิงม.กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ้นสับสนจะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วมก็ไม่อยากกลับเพราะกลัวจะถูกทำโทษครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนจึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่ใจของจำเลยหากจำเลยไม่พาเด็กหญิงม.ไปเด็กหญิงม.อาจจะกลับไปบ้านก็ได้เมื่อโจทก์ร่วมออกมาดูเห็นจำเลยพาเด็กหญิงม. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปซึ่งหากจำเลยไม่พาไปโจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบและพาเด็กหญิงม. กลับบ้านการที่จำเลยพาเด็กหญิงม.ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กหญิงม.ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายลดเช็คและการค้ำประกันหนี้: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขายลดเช็คต่อสาขาใดของโจทก์
สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งที่ไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่ามีลักษณะหรือรูปแบบใดเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้การที่จำเลยที่1ออกเช็คให้ธนาคารและจำเลยที่1ได้รับเงินไปจากธนาคารจึงเป็นการขายลดเช็คตามที่ได้ตกลงกันไว้ได้ ธนาคารโจทก์สาขาส. และสาขาร. ต่างเป็นตัวแทนของโจทก์และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อธนาคารโจทก์เท่านั้นหาได้ระบุไว้แต่อย่างใดว่าเจตนาค้ำประกันหนี้จำเลยที่1ต่อโจทก์สาขาหนึ่งสาขาใดเลยฉะนั้นไม่ว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์สาขาใดก็ตามจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งที่ไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่ามีลักษณะหรือรูปแบบใด เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คให้ธนาคารและจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากธนาคาร จึงเป็นการขายลดเช็คตามที่ได้ตกลงกันไว้ได้
ธนาคารโจทก์สาขา ส.และสาขา ร.ต่างเป็นตัวแทนของโจทก์และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อธนาคารโจทก์เท่านั้น หาได้ระบุไว้แต่อย่างใดว่าเจตนาค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1ต่อโจทก์สาขาหนึ่งสาขาใดเลย ฉะนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์สาขาใดก็ตาม จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
of 36