คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยค้ำจุน: ผู้เอาประกันภัยมีอำนาจฟ้องโดยตรง แม้ยังไม่ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหาย
โจทก์เอารถยนต์ประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลย ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย โจทก์ขับรถยนต์ชนราวสะพานและเสียหลักพุ่งตกลงบนหลังคาบ้านของ ม. โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยให้ชำระค่าเสียหายอันเกิดแก่ ม. ให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์มีความรับผิดตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของ ม. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในนามของโจทก์จากจำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เพราะกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องรับช่วงสิทธิแม้โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ม. ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7454/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดซึ่งหน้าและการตรวจค้น: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมจับจำเลยได้แอบซุ่มดูอยู่ที่หน้าบ้านจำเลยห่างประมาณ 30 เมตร ชุดหนึ่ง และ 20 เมตรอีกชุดหนึ่ง เห็นสายลับมอบธนบัตรให้จำเลย แล้วจำเลยไปนำสิ่งของที่ซุกซ่อนมามอบให้สายลับซึ่งเป็นเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด การที่เจ้าพนักงานตำรวจเห็นการกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการเห็นจำเลยกำลังกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดซึ่งหน้า
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีอำนาจตรวจค้นบ้านจำเลยเพราะมิได้เป็นความผิดซึ่งหน้า และการตรวจค้นของเจ้าพนักงานตำรวจไม่ชอบเพราะเข้าตรวจค้นตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ยังเป็นเวลากลางคืน ทั้ง ๆ ที่บันทึกการตรวจค้นจับกุมระบุเวลาตรวจค้น 6.20 นาฬิกา และไม่มีพยานหลักฐานใดของโจทก์ระบุว่าได้ทำการตรวจค้นตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมการพิจารณาคดีและการไม่อนุญาตเลื่อนคดีเพื่อป้องกันการประวิงเวลา
ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ควบคุมการพิจารณาคดีให้เป็นไปโดยไม่ล่าช้าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี เมื่อมีคำร้องขอเลื่อนคดีจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ว่าคำร้องขอเลื่อนคดีดังกล่าวมีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตหรือไม่
ศาลชั้นต้นเริ่มพิจารณาคดีนัดแรกโดยให้นัดพร้อมวันที่ 29มกราคม และให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกวันที่ 2 เมษายนแต่ในวันดังกล่าวพยานติดราชการไม่อาจมาศาลได้ ศาลชั้นต้นจึงให้เลื่อนการพิจารณาไปวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งในวันดังกล่าว ส. ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความและยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดแห่งคดี แต่เมื่อ ว. ทนายความที่ศาลชั้นต้นแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยทั้งสองได้มาศาลและพร้อมจะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีข้อบกพร่องแต่ประการใด ทั้งคดีได้มีการเลื่อนการพิจารณามาประมาณ 5 เดือนแล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นและไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไป แม้จำเลยทั้งสองจะได้ยื่นคำร้องขอถอน ว. ออกจากการเป็นทนายความในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาก็ตาม ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตหากพิจารณาเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะประวิงคดีและรอไว้จนกระทั่ง ว. ถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองปากเสร็จสิ้นจึงได้อนุญาตตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง ทั้งนี้เพื่อควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปโดยไม่ล่าช้า ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นในวันที่ 5 มิถุนายน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7183/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิเข้าถึงศาลต้องมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและกระบวนการยุติธรรม
ข้อกำหนดใด ๆ ที่ศาลออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วเท่านั้นการที่ศาลอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวห้ามผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาในบริเวณศาล เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาถูกผู้กล่าวหาทำหนังสือร้องเรียนว่าผู้ถูกกล่าวหาได้เรียกร้องเงินที่สถานีตำรวจและทางโทรศัพท์ โดยอ้างว่าเพื่อนำไปจ่ายค่าเดินเรื่องแก่คนในศาลที่จะทำให้ศาลรอการลงอาญาแก่จำเลย ซึ่งตามหนังสือร้องเรียนผู้ถูกกล่าวหามิได้เข้าไปกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบริเวณศาลแต่อย่างใด ดังนั้น การกล่าวอ้างของผู้ถูกกล่าวหามิได้ทำให้กระบวนพิจารณาต้องดำเนินไปโดยไม่เที่ยงธรรมหรือล่าช้า ข้อกำหนดของศาลชั้นต้นไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณโทษผิดพลาดในคดีจำหน่ายยาเสพติด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเพื่อความถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 3 ปี 6 เดือน เป็นการคำนวณโทษผิดพลาด ที่ถูกเป็นจำคุก 3 ปี 4 เดือน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยมิได้แก้ไขจึงไม่ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 204 และ 206
โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การภายในกำหนด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การ ศาลจึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 2 ลักษณะ 2 หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัดซึ่งบัญญัติใหม่ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2543 แก่คดีที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
ศาลมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยที่ 1 ทราบนัดแล้วไม่มาศาล จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จก็ย่อมที่จะมีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียว กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่ (1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา ผิดระเบียบตาม มาตรา 27 ประกอบมาตรา 88 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งและการพิจารณาคดีต่อไปได้ แม้จำเลยมิได้สืบพยาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 วรรคหนึ่ง และศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จโดยจำเลยมิได้อยู่ในศาล ก็มีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียวตามมาตรา 204 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่(1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยมิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตามมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6310/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก, การยอมรับข้อเท็จจริง, ทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาหลังหย่า
แม้คดีเริ่มต้นด้วยคำร้องขออันเป็นการใช้สิทธิทางศาลซึ่งเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทแต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้าน จึงชอบที่จะต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องยกขึ้นกล่าวอ้างในคำร้องขอนั้นผู้คัดค้านมิได้ปฏิเสธ จึงต้องถือว่าผู้คัดค้านยอมรับข้อเท็จจริงนี้แล้วและหาเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะต้องนำสืบไม่
ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629(2) แม้จะปรากฏข้อกล่าวอ้างในทางนำสืบของผู้ร้องว่าทรัพย์สินบางรายการในบัญชีทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของผู้ร้องซึ่งเพียงแต่ใส่ชื่อผู้ตายถือกรรมสิทธิ์แทน ก็จะถือว่าผู้ร้องกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตายอันเป็นพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมหาได้ไม่ เพราะหากความจริงเป็นประการใดก็ย่อมจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องอีกทั้งเป็นเรื่องในชั้นจัดการแบ่งปันมรดกซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งและสำหรับผู้คัดค้านนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าแม้ผู้คัดค้านและผู้ตายจดทะเบียนหย่าต่อกัน แต่ภายหลังก็อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่มีอยู่จึงอาจเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้คัดค้านกับผู้ตาย จึงชอบที่จะว่ากล่าวกันในชั้นจัดการแบ่งปันมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6262/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งสิทธิผู้ต้องหา: การลงชื่อรับทราบสิทธิถือเป็นการแจ้งสิทธิแล้ว แม้จะไม่มีการระบุความต้องการใช้สิทธิ
จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบสิทธิตามบันทึกการแจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาแล้ว แม้จะไม่ปรากฏในบันทึกดังกล่าวว่าจำเลยที่ 2 ต้องการใช้สิทธิหรือไม่ก็ตาม ก็ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 แล้ว และแม้ตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 จะปรากฎถ้อยคำว่า "ข้าฯ สามารถให้การหรือไม่ให้การใน ชั้นสอบสวน" โดยไม่ปรากฎคำว่า"ก็ได้" ต่อท้ายอาจเป็นการพิมพ์ตกหล่นของพนักงานสอบสวนก็เป็นได้ ทั้งถ้อยคำ ดังกล่าวก็มีความหมายเป็นนัยว่า จำเลยที่ 2 สามารถให้การหรือไม่ให้การในชั้นสอบสวนอยู่แล้วนั่นเอง ข้อเท็จจริง จึงฟังไม่ได้ว่าการสอบสวนกระทำโดยไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกคดีอาญาและแพ่งออกจากกัน การฟ้องซ้ำ และประเด็นความแตกต่างของคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องคดีทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาโจทก์จึงได้ถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องของคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นเข้ามาใหม่ยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง ไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้นการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้น จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับส่วนอาญาตามมาตรา 144
of 36