คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อำนวย เต้พันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: การแยกคดีอาญาและแพ่งจากคดีเดิมไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
แม้ปัญหาว่าการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการฟ้องซ้ำหรือไม่ จำเลยได้ขอสละข้อต่อสู้ดังกล่าวไปแล้วก็ตาม แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คดีก่อน โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งส่วนอาญาและส่วนแพ่งรวมกันมา ต่อมาศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญา โจทก์จึงถอนฟ้องคดีส่วนแพ่งแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ วันฟ้องคดีส่วนแพ่งที่ถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องเข้ามาใหม่ตามที่ศาลชั้นต้นให้แยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญานั้นยังคงเป็นวันฟ้องเดิมในคดีอาญาสินไหมนั่นเอง การยื่นฟ้องคดีส่วนแพ่งดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นการยื่นฟ้องใหม่ แต่ถือว่าเป็นเพียงการแยกคดีส่วนแพ่งออกจากคดีส่วนอาญาตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อการยื่นฟ้องมีเพียงคราวเดียวเท่านั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และเมื่อมีการแยกคดีส่วนแพ่งออกไปแล้ว คดีอาญาสินไหมก็คงเหลือเพียงคดีส่วนอาญาซึ่งมีปัญหาเพียงว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีส่วนแพ่งซึ่งถูกแยกออกไปนั้น มีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดประเด็นแห่งคดีแตกต่างกัน การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่ซ้ำกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6068/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทจากการขับรถ - การไม่มีส่วนก่อเหตุ - รถแทรกเตอร์ไม่มีไฟท้าย
แม้จำเลยที่ 1 ขับรถแทรกเตอร์เปิดไฟหน้ารถ แต่ไม่มีโคมไฟท้ายรถมาจากถนนดินลูกรังเลี้ยวขวาขึ้นถนน ซึ่งตามพฤติการณ์อาจเกิดอันตรายแก่ผู้อื่นก็ตามแต่เหตุที่เกิดขึ้นจากจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ออกมาตัดหน้า รถจักรยานยนต์ของผู้ตาย โดยจำเลยที่ 1 ขับรถแทรกเตอร์อยู่ข้างหน้า เมื่อรถจักรยานยนต์ของผู้ตายชนกับ รถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 2 แล้ว จึงเสียหลักไถลไปชนกับส่วนท้ายของรถแทรกเตอร์พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ตามจำเลยที่ 1 ออกมาเพื่อส่องไฟให้แก่รถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่ 1 ขับ ซึ่งไม่มีไฟท้ายอาจเป็น ความประสงค์ดีของจำเลยที่ 2 เองก็ได้ จึงยังไม่พอฟังได้ว่าเป็นความประมาทของจำเลยที่ 1 ที่มีส่วนก่อให้เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์และฎีกา: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ที่พิพาท
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 34273 จากชื่อบิดาจำเลยเป็นชื่อโจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินระหว่างบิดาจำเลยกับจำเลยในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 33900 และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 33900 ดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์ทั้งห้าและจำเลยร่วมกัน กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งห้าได้รับส่วนแบ่งข้าวลดลง โจทก์ทั้งห้าเสียค่าขึ้นศาลโดยตีราคาที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวรวมกับค่าเสียหายแล้ว เป็นทุนทรัพย์ตามคำฟ้องทั้งสิ้น226,800 บาท ปรากฏตามที่โจทก์ทั้งห้าอ้างในคำฟ้องว่าบิดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 33900 และ 34273ดังกล่าวไว้แทนทายาททุกคนด้วย ซึ่งจำเลยก็ทราบดีเพราะจำเลยได้เข้าทำนาในที่ดินนั้นแทนบิดาจำเลย โจทก์ทั้งห้าในฐานะทายาทซึ่งมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวจึงขอให้จำเลยแบ่งที่ดินทั้งสองแปลงโดยใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยด้วย จึงเท่ากับโจทก์ทั้งห้าอ้างว่าโจทก์แต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงนั้นร่วมกับจำเลยโดยมีส่วนคนละเท่า ๆ กัน ทุนทรัพย์ตามคำฟ้องของโจทก์แต่ละคนย่อมคำนวณแบ่งแยกจากกันได้เป็นจำนวนเท่า ๆกัน คนละ 45,360 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งห้าและพิพากษายืนจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เมื่อปรากฏตามฎีกาของโจทก์ทั้งห้าคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยทุนทรัพย์ที่พิพาทกันชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงมีจำนวนเพียง 45,360 บาท หาใช่จำนวน 226,800 บาทไม่ซึ่งเป็นจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งทั้งเป็นข้อฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่งด้วย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806-5807/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทที่จำกัด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า ทรัพย์มรดกของ อ. มีเพียงใดและโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่ เพียงใด โดยมิได้กำหนดวิธีการแบ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ตามที่จำเลยให้การต่อสู้ ซึ่งก็ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนด โดยวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละหนึ่งในสิบส่วนครบตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ ก็ย่อมไม่จำต้องวินิจฉัยถึงวิธีการแบ่งเพราะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 อยู่แล้ว อีกทั้งก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้วินิจฉัยเกี่ยวกับวิธีการแบ่งตามที่จำเลยให้การต่อสู้มาด้วย ก็เป็นเรื่องวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทและไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาฉะนั้น ข้อฎีกาของจำเลยย่อมถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สมบูรณ์ไม่มีความผิดอาญา – ขาดข้อมูลสำคัญออกเช็ค
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่ออกเช็คอันเป็นวันกระทำความผิด คำสั่งให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนและชื่อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988(2)(4) และ (6)บังคับให้ต้องมีรายการเหล่านี้ เมื่อไม่มีรายการเหล่านี้ตั้งแต่ขณะออกเช็คจึงเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง จำเลยผู้ออกเช็คย่อมไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5628/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่มีรายการสำคัญ ทำให้จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ขณะจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่าย เช็คพิพาทยังไม่มีรายการวันที่ออกเช็คอันเป็นวันกระทำความผิด คำสั่งให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน และชื่อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 988 (2) (4) และ (6) บังคับให้ต้องมีรายการเหล่านี้ เมื่อไม่มีรายการเหล่านี้ตั้งแต่ขณะออกเช็คจึงเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง จำเลยผู้ออกเช็คย่อมไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนความผิดทางราชการด้วยเจตนาสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า โจทก์เบียดบังเอาทรัพย์สินของทางราชการไปขายเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอันเป็นการไม่ชอบทำให้ราชการเสียหายและอาจทำให้จำเลยซึ่งรับราชการในตำแหน่งเดียวกันกับโจทก์และปฏิบัติงานร่วมกันต้องร่วมรับผิดด้วยในการที่ทรัพย์สินของทางราชการขาดหายไป การที่จำเลยมีหนังสือร้องเรียนโจทก์เป็นการกระทำเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม จำเลยจึงไม่มีความผิดฐาน หมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 329 (1)
ประเด็นที่พิจารณาในชั้นศาลมีว่าจำเลยกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ไม่ได้พิจารณาว่าโจทก์กระทำความผิดหรือไม่ เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้พยานหลักฐานในชั้นสอบสวนทางวินัยจะได้ความว่าโจทก์ไม่มีความผิดทางวินัย ก็ไม่ทำให้จำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นติชมโดยสุจริตเกี่ยวกับพฤติกรรมการทุจริตของนักการเมือง แม้ยังไม่มีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว จำเลยได้พูดผ่านเครื่องกระจายเสียงว่า โจทก์เป็นคนขี้โกงเอาที่สาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง เพื่อให้ประชาชนต่อต้านการกระทำที่จำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะการที่โจทก์เสนอตัวต่อประชาชนให้เลือกตน เป็นการแสดงว่าตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์สุจริต ไว้วางใจให้เข้าไปมีส่วนร่วมบริหารกิจการแทนประชาชนได้ และการเรียกร้องเอาที่สาธารณประโยชน์คืนก็เพื่อประโยชน์ของประชาชนและจำเลยเองด้วย จำเลยจึงมีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตลอดจนแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งการกระทำดังกล่าวอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ แม้ขณะจำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าว โจทก์ยังไม่ถูกดำเนินคดีอาญา หากจำเลยเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งใส่ร้ายโจทก์และมีมูลอันควรเชื่อ ก็เป็นการกระทำโดยสุจริตแล้ว จำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นติชมโดยสุจริตถึงการทุจริตของนักการเมือง ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
หลังจากโจทก์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว จำเลยได้พูดผ่านเครื่องกระจายเสียงต่อประชาชนว่า โจทก์เป็นคนขี้โกงเอาที่สาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง คำกล่าวของจำเลยเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์เอาที่สาธารณประโยชน์ไปเป็นของตนเอง โดยจำเลยแสดงความคิดเห็นประกอบว่าโจทก์ผู้กระทำการดังกล่าวเป็นคนขี้โกง ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนต่อต้านการกระทำที่จำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องเอาที่สาธารณประโยชน์ในตำบลที่จำเลยอยู่อาศัยคืน และหากปรากฏว่าโจทก์โกงที่สาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตประชาชนไม่ควรไว้วางใจให้โจทก์เข้าไปมีส่วนร่วมบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลแทนประชาชน และการเรียกร้องเอาที่สาธารณประโยชน์คืนเพื่อประโยชน์ของประชาชนและจำเลยเองด้วย จำเลยจึงมีความชอบธรรมที่จะเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตลอดจนแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งการกระทำดังกล่าวอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ และข้อความที่จำเลยกล่าวมีมูลความจริง มิใช่เป็นการเสกสรรปั้นแต่งเรื่องขึ้นใส่ร้ายโจทก์โดยไม่มีมูลความจริง การแสดงข้อความและความคิดเห็นของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยสุจริต จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากผิดนัดจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินได้ระบุข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2.2 ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เมื่อเช็คฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายนไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญามาครั้งหนึ่งแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยถือเอาข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวซึ่งเป็นเช็คชำระดอกเบี้ยในงวดที่ 2โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
of 36