พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายความผิดทางอาญา: เพียงระบุช่วงเวลาที่เกิดเหตุก็เพียงพอแล้ว
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสองว่า เมื่อระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองร่วมกันครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายเพื่อนำไปดำเนินการอัดเป็นเม็ดแล้วนำส่งกลับคืนให้ผู้เสียหาย แต่ในวันเวลาดังกล่าวจำเลยทั้งสองได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองไปเป็นของจำเลยทั้งสองโดยทุจริต อันเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอที่จะให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดเป็นช่วงวัน เวลา ใดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายระบุวันเวลาที่แน่ชัดว่าจะต้องเป็นวันที่เท่าใดเดือนใดเวลาอะไรที่แน่นอนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเพียงพอของฟ้องอาญา: การระบุช่วงเวลาการกระทำความผิดที่ชัดเจนเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสองว่า เมื่อระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2537 ถึงเดือนตุลาคม 2537 เวลากลางวันและกลางคืน ติดต่อกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองร่วมกัน ครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายเพื่อนำไปดำเนินการอัด เป็นเม็ดแล้วนำส่งกลับคืนให้ผู้เสียหาย แต่ในวันเวลาดังกล่าว จำเลยทั้งสองได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองไปเป็น ของจำเลยทั้งสองโดยทุจริต อันเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและ สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอที่จะให้จำเลยที่ 1 เข้าใจ ข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กระทำผิด เป็นช่วงวัน เวลา ในตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายระบุวันเวลาที่แน่ชัดว่าจะต้องเป็น วันที่เท่าใดเดือนใดเวลาอะไรที่แน่นอนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ที่ดินต่อเนื่องต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน การประเมินรวมจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 6"ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ"หมายความว่า ที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆและบริเวณต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างนั้น ๆ ได้ความว่า คลังพัสดุของโจทก์มีพื้นที่ 3,360 ตารางเมตร ส่วนที่ดินอีก 98,944 ตารางเมตรนั้นเป็นพื้นที่ในส่วนที่โจทก์ไม่ได้ใช้ปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ทั้งเมื่อนำมาพิจารณาประกอบแผนผังแสดงที่ตั้งคลังน้ำมันของโจทก์และภาพถ่ายที่ตั้งคลังพัสดุแล้วเห็นได้ว่าพื้นที่ว่างที่มิได้ใช้ปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่กระจัดกระจายกันไป อีกทั้งบริเวณรอบอาคารคลังพัสดุก็มีรั้วล้อมรอบ พื้นที่ว่างนอกรั้วแยกอยู่ต่างหากจากคลังพัสดุโดยมีถนนกับทางรถไฟและคลองคั่นอยู่ ดังนั้น พื้นที่ว่างที่ ไม่ได้ปลูกโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่เหลือเนื้อที่ 98,944 ตารางเมตร จึงมิใช่พื้นที่บริเวณต่อเนื่องกับคลังพัสดุ การที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำเอาพื้นที่ดังกล่าวมารวมกัน พื้นที่คลังพัสดุ แล้วประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ จึงเป็น การประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวของผู้ว่าราชการของจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักร และฐานภาษีตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็คือโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีสรรพสามิต ของเจ้าพนักงานสรรพสามิตไม่ชอบนั่นเอง ประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงมีว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ในการพิจารณาปัญหานี้จำเป็นที่ศาลจะต้องพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายในเรื่องการเสียภาษีสรรพสามิตว่ามีอยู่อย่างไร คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรที่พิจารณาพิพากษาถึงภาษีสรรพสามิตจึงเป็นเรื่องอยู่ในประเด็น หาใช่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกประเด็นไม่ คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เป็นคำสั่งที่อธิบดีกรมสรรพสามิตออกเพื่อตีความว่า สิ่งใดบ้างเป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ 03.01 ในกรณีที่มีผู้นำของเข้ามา ซึ่งจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในขณะนำเข้าโดยกฎหมายถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ส่วนฐาน ในการคำนวณภาษีคือ มูลค่าที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 7 มาตรา 8 บัญญัติไว้ กล่าวโดยสรุปมาตรา 7 เป็นการวางหลักว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นส่วนมาตรา 8 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณภาษี หรือวิธีการ หาฐานภาษีนั่นเอง โดยแยกออกเป็นกรณี ๆ ไป ได้แก่กรณีสินค้า ที่ผลิตในราชอาณาจักร กรณีสินค้านำเข้า และกรณีบริการ กรณีของโจทก์โจทก์สั่งชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศเข้ามา แล้วโจทก์จึงมาสั่งคอมเพรสเซอร์มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วน ที่นำเข้า ขายเป็นเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอก อีกต่อหนึ่ง ถือเป็นกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักรตามความหมายของคำว่าผลิต ที่ระบุไว้ ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 การคำนวณค่าภาษีต้องเป็นไปตามมาตรา 8(1) คือ ถือตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ซึ่งโจทก์รับอยู่แล้วว่า ต้องมีชิ้นส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากที่สั่งเข้ามา จึงจะประกอบ เป็นเครื่องปรับอากาศได้ เพราะฉะนั้นราคาของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องที่โจทก์ขายจึงต้องมีราคาทุนเพิ่มขึ้นจากเดิมราคาขายจึงต้องสูงขึ้น เมื่อโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานตรวจสอบพบก็มีอำนาจประเมินใหม่ให้ถูกต้องได้โจทก์จะอ้างว่าได้เสียภาษีสรรพสามิตไปแล้วตอนนำเข้าตามคำสั่งที่ 41/2535 จึงไม่ต้องเสียอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตสินค้าผลิตในราชอาณาจักร: คำนวณจากราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเมื่ออ่านรวมกันแล้วก็คือ โจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีสรรพสามิตของเจ้าพนักงานสรรพสามิตไม่ชอบนั่นเอง ประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงมีว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ในการพิจารณาปัญหานี้จำเป็นอยู่ที่ศาลจะต้องพิจารณาถึงตัวบทกฎหมายในเรื่องการเสียภาษีสรรพสามิตว่ามีอยู่อย่างไร คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางที่พิจารณาพิพากษาถึงภาษีสรรพสามิตจึงเป็นเรื่องอยู่ในประเด็น หาใช่เป็นการพิจารณาพิพากษานอกประเด็นดังโจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์ไม่
คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เป็นคำสั่งที่อธิบดีกรมสรรพสามิตออกเพื่อตีความว่า สิ่งใดบ้างเป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ 03.01 ในกรณีที่มีผู้นำของเข้ามา ซึ่งจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในขณะนำเข้าโดยกฎหมายถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ส่วนฐานในการคำนวณภาษีคือ มูลค่าที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 7 มาตรา 8 บัญญัติไว้ กล่าวโดยสรุป มาตรา 7 เป็นการวางหลักว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น ส่วนมาตรา 8 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณภาษี หรือวิธีการหาฐานภาษีนั่นเอง โดยแยกออกเป็นกรณี ๆ ไป ได้แก่กรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร กรณีสินค้านำเข้าและกรณีบริการ
โจทก์สั่งชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศเข้ามา แล้วโจทก์จึงมาสั่งคอมเพรสเซอร์มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนที่นำเข้า ขายเป็นเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอกอีกต่อหนึ่ง ถือเป็นกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักรตามความหมายของคำว่า ผลิต ที่ระบุไว้ในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตพ.ศ.2527 การคำนวณค่าภาษีต้องเป็นไปตามมาตรา 8 (1) คือ ถือตามราคาขายณ โรงอุตสาหกรรม ซึ่งโจทก์รับอยู่แล้วว่าต้องมีชิ้นส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากที่สั่งเข้ามา จึงจะประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้ เพราะฉะนั้นราคาของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องที่โจทก์ขายจึงต้องมีราคาทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม ราคาขายจึงต้องสูงขึ้น เมื่อโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานตรวจสอบพบก็มีอำนาจประเมินใหม่ให้ถูกต้องได้ โจทก์จะอ้างว่าได้เสียภาษีสรรพสามิตไปแล้วตอนนำเข้าตามคำสั่งที่ 41/2535 จึงไม่ต้องเสียอีกไม่ได้
คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เป็นคำสั่งที่อธิบดีกรมสรรพสามิตออกเพื่อตีความว่า สิ่งใดบ้างเป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ 03.01 ในกรณีที่มีผู้นำของเข้ามา ซึ่งจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตในขณะนำเข้าโดยกฎหมายถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตนั้นเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ส่วนฐานในการคำนวณภาษีคือ มูลค่าที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียภาษีนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527มาตรา 7 มาตรา 8 บัญญัติไว้ กล่าวโดยสรุป มาตรา 7 เป็นการวางหลักว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้าหรือบริการนั้นตามอัตราที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในเวลาที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น ส่วนมาตรา 8 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณภาษี หรือวิธีการหาฐานภาษีนั่นเอง โดยแยกออกเป็นกรณี ๆ ไป ได้แก่กรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร กรณีสินค้านำเข้าและกรณีบริการ
โจทก์สั่งชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศเข้ามา แล้วโจทก์จึงมาสั่งคอมเพรสเซอร์มาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนที่นำเข้า ขายเป็นเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอกอีกต่อหนึ่ง ถือเป็นกรณีสินค้าผลิตในราชอาณาจักรตามความหมายของคำว่า ผลิต ที่ระบุไว้ในมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตพ.ศ.2527 การคำนวณค่าภาษีต้องเป็นไปตามมาตรา 8 (1) คือ ถือตามราคาขายณ โรงอุตสาหกรรม ซึ่งโจทก์รับอยู่แล้วว่าต้องมีชิ้นส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากที่สั่งเข้ามา จึงจะประกอบเป็นเครื่องปรับอากาศได้ เพราะฉะนั้นราคาของเครื่องปรับอากาศแต่ละเครื่องที่โจทก์ขายจึงต้องมีราคาทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม ราคาขายจึงต้องสูงขึ้น เมื่อโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานตรวจสอบพบก็มีอำนาจประเมินใหม่ให้ถูกต้องได้ โจทก์จะอ้างว่าได้เสียภาษีสรรพสามิตไปแล้วตอนนำเข้าตามคำสั่งที่ 41/2535 จึงไม่ต้องเสียอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ศาลต้องยกฟ้องเมื่อโจทก์ไม่นำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักลอบ นำพาของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากร หรือจำเลยได้ซื้อ รับไว้ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของกลางดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นของผู้อื่นลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษี ข้างต้น ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นคนละฐานกัน และโจทก์มี ความประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหนึ่งเพียงฐานเดียว จะลงโทษจำเลยในเรื่องเดียวกันทั้งสองฐานไม่ได้ คำให้การ ของจำเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการยังไม่ชัดเจน พอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด ย่อมเป็นหน้าที่ ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานต่อไปให้ได้ความถึงการกระทำผิด ของจำเลยว่าได้กระทำความผิดฐานใดแน่หาใช่เป็นหน้าที่ ของศาลที่จะสอบถามจำเลยว่าจะให้การรับสารภาพในฐานความผิดใดเมื่อโจทก์แถลงไม่สืบพยาน คำให้การรับสารภาพของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องและคดี ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณา สอบถามคำให้การของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากอุทธรณ์และฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไรทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษา ลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้ โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์และฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลล่าง ศาลไม่รับวินิจฉัย
ป.วิ.อ. มาตรา 193, 216, 225
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไร ทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไร ทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดต่างกระทง
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ลักษณะของการกระทำแตกต่างกันเป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4 ไม่ได้นิยามความหมายของคำว่าจำหน่ายว่าให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ดังนี้แสดงว่าพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้ว ครั้นจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไปบางส่วนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยมิได้เป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีไว้เพื่อจำหน่ายกับการจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดต่างกระทง
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ลักษณะของการกระทำแตกต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ไม่ได้นิยามความหมายของคำว่าจำหน่ายว่า ให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 4 ดังนี้แสดงว่าพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้วครั้นจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไปบางส่วนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยมิได้เป็นความผิดกรรมเดียว
การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้วครั้นจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไปบางส่วนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยมิได้เป็นความผิดกรรมเดียว