คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนทร สิทธิเวชวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปรียบเทียบปรับ พ.ร.บ.โรงงาน: จำเป็นต้องยินยอมก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ
กรณีตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 65 เมื่อคดีถึงพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้นั้น ผู้ต้องหานั้นต้องแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับเสียก่อน ผู้ต้องหานั้นจะแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในระหว่างการพิจารณาของศาลหาได้ไม่
คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโรงงาน: การยินยอมเปรียบเทียบปรับต้องแจ้งพนักงานสอบสวนก่อน
กรณีตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 65เมื่อคดีถึงพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้นั้น ผู้ต้องหานั้นต้องแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับเสียก่อน ผู้ต้องหานั้นจะแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในระหว่างการพิจารณา ของศาลหาได้ไม่ คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่ เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีอาญา: การชดใช้ค่าเสียหายเป็นเหตุระงับความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
จำเลยเข้าไปตัดโค่นต้นยางพารา ในที่ดินพิพาทแล้วได้ปลูก ต้นยางพารา ใหม่ทดแทน โจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีอาญากับจำเลยในข้อหาเกี่ยวกับที่ดินพิพาทและการตัดโค่นยางพาราในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานตำรวจได้ไกล่เกลี่ยจนจำเลยตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในการโค่นต้นยางพารา ดังกล่าว หลังจากที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันได้แล้ว เจ้าพนักงานตำรวจผู้รับคำร้องทุกข์ก็หาได้ดำเนินคดีตามที่โจทก์ร้องทุกข์ไว้ไม่ เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยอีก เพราะหากจำเลยยังต้องถูกดำเนินคดีตามที่โจทก์ร้องทุกข์ไว้โดย ไม่มีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน จำเลยคงจะไม่ยินยอมชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) มิใช่เป็นการตกลงยอมความกันเฉพาะในทางแพ่ง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มข้ามเดือนภาษี และการประเมินเงินเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์มีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในเดือนภาษีมิถุนายน 2535 จำนวน7,946,661.69 บาท โจทก์มีสิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไป หากยังมีเหลืออยู่อีกก็มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป ซึ่งเป็นขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ แต่โจทก์ไม่มีสิทธินำเครดิตภาษีในเดือนภาษีมิถุนายน 2535 ข้ามขั้นตอนไปขอชำระในเดือนภาษีธันวาคม 2535 ได้
โจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535เป็นเงินเพียง 466,218 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535 โดยนำยอดเครดิตภาษีที่โจทก์นำมาใช้เครดิตจำนวน 7,946,611.69 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535 เป็นเงิน 466,218 บาทแต่โจทก์มิได้ชำระภายในกำหนดเวลา โจทก์ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินเงินเพิ่มจากเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องเสียจำนวน 466,218 บาทเท่านั้น มิใช่มีอำนาจประเมินจากเงินภาษีจำนวน 7,946,661.69 บาท
แม้เงินเพิ่มจะเป็นภาษีอากรประเมิน แต่ ป.รัษฎากร มาตรา89/1 มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ ดังเช่น มาตรา 89 วรรคท้าย บัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจลดหรืองดเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มข้ามเดือนเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีฐานผิดมิชอบ
โจทก์มีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในเดือนภาษีมิถุนายน 2535จำนวน 7,946,661.69 บาท โจทก์มีสิทธินำเครดิตภาษีที่ เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไป หากยังมี เหลืออยู่อีกก็มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป ซึ่งเป็นขั้นตอนที่กฎหมาย บังคับไว้ แต่โจทก์ไม่มีสิทธินำเครดิตภาษีในเดือนภาษี มิถุนายน 2535 ข้ามขั้นตอนไปขอชำระในเดือนภาษีธันวาคม 2535 ได้ โจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม2535 เป็นเงินเพียง 466,218 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535โดยนำยอดเครดิตภาษีที่โจทก์นำมาใช้เครดิตจำนวน 7,946,611.69 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ต้องชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535 เป็นเงิน 466,218 บาท แต่โจทก์มิได้ชำระภายในกำหนดเวลา โจทก์ก็ต้อง เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของ ภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมิน เงินเพิ่มจากเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องเสียจำนวน 466,218 บาทเท่านั้น มิใช่มีอำนาจประเมินจากเงินภาษีจำนวน 7,946,661.69 บาท แม้เงินเพิ่มจะเป็นภาษีอากรประเมิน แต่ประมวลรัษฎากรมาตรา 89/1 มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ ดังเช่น มาตรา 89วรรคท้าย บัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ศาลจึงไม่มีอำนาจลดหรืองดเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่ยื่นแบบและไม่ให้ไต่สวน: ใช้อัตรา 5% ของรายรับก่อนหักรายจ่ายได้
จำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและจำเลยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมาย แล้ว แต่จำเลยมิได้มาให้ไต่สวนและไม่นำบัญชี เอกสารหรือ พยานหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 23 จึงต้องตามบทบัญญัติมาตรา 71(1) เจ้าพนักงาน ประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบ ระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และกรณีเช่นนี้ ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งใช้บังคับสำหรับการคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพราะกฎหมายได้ บัญญัติไว้แจ้งชัดโดยเฉพาะแล้ว แม้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 วรรคสอง เจ้าพนักงาน ประเมินจะมีอำนาจเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไร สุทธิแทนฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71(1) ก็ตาม แต่ เมื่อการคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิไม่อาจหักรายจ่ายเป็นการ เหมาตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณกำไรสุทธิให้จำเลย จึงไม่ชอบ และมีผลทำให้กำไรสุทธิและภาษีที่คำนวณได้ไม่ชอบ ไปด้วย ดังนั้น การเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐาน กำไรสุทธิจึงไม่ชอบ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จึงเห็นได้ว่าหากสามารถพิสูจน์แสดงรายจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้มากเท่าใด แล้วนำไปหักออกจากรายได้มากเพียงใด ก็จะเสียภาษีน้อยลง เท่านั้น หรือถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลจึง อยู่ที่การพิสูจน์รายจ่ายตามกฎหมาย หาใช่การไม่ปฏิบัติตาม หมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินทำให้เสียภาษีน้อยกว่าผู้ที่ ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่ยื่นแบบและไม่ให้ข้อมูล เจ้าพนักงานประเมินประเมินจากรายรับได้ แต่หักค่าใช้จ่ายเหมาไม่ได้
จำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และจำเลยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายแล้ว แต่จำเลยมิได้มาให้ไต่สวนและไม่นำบัญชี เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 จึงต้องตามบทบัญญัติมาตรา 71 (1) เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และกรณีเช่นนี้ไม่อาจนำ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502ซึ่งใช้บังคับสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้แจ้งชัดโดยเฉพาะแล้ว
แม้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 71 วรรคสอง เจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไรสุทธิแทนฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71 (1) ก็ตาม แต่เมื่อการคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิไม่อาจหักรายจ่ายเป็นการเหมาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณกำไรสุทธิให้จำเลยจึงไม่ชอบ และมีผลทำให้กำไรสุทธิและภาษีที่คำนวณได้ไม่ชอบไปด้วย ดังนั้น การเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไรสุทธิจึงไม่ชอบ
การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งป.รัษฎากร จึงเห็นได้ว่า หากสามารถพิสูจน์แสดงรายจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้มากเท่าใด แล้วนำไปหักออกจากรายได้มากเพียงใด ก็จะเสียภาษีน้อยลงเท่านั้น หรือถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงอยู่ที่การพิสูจน์รายจ่ายตามกฎหมาย หาใช่การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินทำให้เสียภาษีน้อยกว่าผู้ที่ปฏิบัติตามหมายเรียก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจร: ศาลลงโทษได้ตามข้อเท็จจริง แม้ฟ้องเฉพาะฐานลักทรัพย์
ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติให้การกระทำความผิดระหว่างฐานลักทรัพย์และรับของโจรมิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ แต่เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดเท่านั้น และไม่ให้ถือว่าเป็นกรณีเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษด้วย เว้นแต่จำเลยจะหลงต่อสู้ เมื่อคดีนี้แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่จำเลยให้การและนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์ของกลาง จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยหลงต่อสู้อันจะได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าว ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานรับของโจร แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ หากจำเลยปฏิเสธและมีเหตุผล ศาลลงโทษฐานรับของโจรได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามบัญญัติให้การกระทำความผิดระหว่างฐานลักทรัพย์และรับของโจรมิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญแต่เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดเท่านั้น และไม่ให้ถือว่าเป็นกรณีเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษด้วย เว้นแต่จะหลงต่อสู้ เมื่อคดีนี้แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่จำเลยให้การและนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์ของกลางจึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยหลงต่อสู้อันจะได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าว ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเกินกว่าเหตุ และเจตนาในการทำร้ายร่างกาย ศาลลดโทษฐานป้องกันเกินกว่าเหตุ
โจทก์ร่วมถามจำเลยที่ 1 ถึงเรื่องที่จำเลยที่ 1ด่าบิดาโจทก์ร่วม การที่จำเลยที่ 1 ตอบว่า "ให้กลับไปถามพ่อมึงดู" ถ้อยคำดังกล่าวหาได้มีความหมายเป็นการด่าไม่ จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1สมัครใจเข้าวิวาทกับโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยที่ 1ถูกโจทก์ร่วมเข้าทำร้ายก่อน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตนเองได้ แต่โจทก์ร่วมเข้าทำร้ายจำเลยที่ 1โดยใช้มือกระชากผมและตบใบหน้าหลายครั้ง จากนั้นทั้งคู่เข้ากอดปล้ำกัน การที่จำเลยที่ 1 ใช้มีดแทงทำร้ายโจทก์ร่วมซึ่งปราศจากอาวุธที่บริเวณเอวจึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้เท่านั้นสำหรับบาดแผลที่โจทก์ร่วมได้รับนั้นแม้จะเป็นบริเวณเอวและช่องท้อง แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีโอกาสที่จะเลือกแทงได้เนื่องจากกำลังกอดปล้ำกับโจทก์ร่วมอยู่ ทั้งจำเลยที่ 1หยุดทำร้ายโจทก์ร่วมทันทีเมื่อมีคนมาห้าม และส่งมีดให้ยึดไว้โดยดี แสดงให้เห็นว่าไม่ประสงค์ต่อชีวิตของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายโจทก์ร่วมจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายโดยเกินกว่ากรณีจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
of 26