คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนทร สิทธิเวชวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม/ทางจำเป็น: ระยะเวลาการใช้ทาง, การใช้เพื่อประโยชน์ตนเอง, และทางออกอื่น
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อปี 2531 จาก ส. หลังจากที่โจทก์ซื้อมาโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนแก้ววรวุฒินับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แม้เจ้าของที่ดินอื่นได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของตนเกิน 10 ปีแต่เมื่อมิได้ใช้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ จึงจะนำระยะเวลาที่เจ้าของที่ดินอื่นใช้ประโยชน์ทางพิพาทดังกล่าวเพื่อทำให้ที่ดินของโจทก์ได้ภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการแก้ไขโทษโดยศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรีซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้
คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกามีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้ คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษี: ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินตั้งไว้เท่านั้น
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 16 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์เท่านั้นจะไปตั้งประเด็นใหม่นอกเหนือไปจากประเด็นเดิมที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหาได้ไม่ ส่วนการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำการไต่สวนและเรียกพยานมาตรวจสอบเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 32 และมีอำนาจในการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง นั้น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวได้ต้องเป็นการดำเนินการในประเด็นเดียวกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ด้วย
คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้วเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 เป็นเงิน 33 บาทส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่ง ป.รัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน 25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสีย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 88, 88/2 และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำกัดเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้พิจารณาแล้วเท่านั้น
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 16 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์เท่านั้นจะไปตั้งประเด็นใหม่นอกเหนือไปจากประเด็นเดิมที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหาได้ไม่ ส่วนการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำการไต่สวนและเรียกพยานมาตรวจสอบเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 32 และมีอำนาจในการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 31 วรรคสอง นั้น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวได้ต้องเป็นการดำเนินการ ในประเด็นเดียวกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ด้วย คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์2535 เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535เป็นเงิน 33 บาท ส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสียคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 88,88/2และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องละเมิดต่างหาก ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า สัญญาเช่าเลิกกันดังที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่อยู่ในห้องเช่าพิพาทอีกต่อไป ดังนี้การที่จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์จงใจหรือกลั่นแกล้งจำเลยให้ได้รับความเดือดร้อน โดยไม่ให้ความร่วมมือเซ็นเอกสารต่างๆที่จำเลยต้องนำไปใช้ในการจดทะเบียนประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ยินยอมมอบตราประทับสำหรับจอดรถฟรีของลูกค้าให้แก่จำเลย ทำให้ได้รับความเสียหาย อันเป็นเรื่องละเมิด ทั้งข้ออ้างของจำเลยมิได้มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าประการใด จึงไม่เป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความ และการแจ้งวันนัดให้ทนายจำเลยทราบ
ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสอง และวรรคสาม บัญญัติให้ศาลอ่านคำพิพากษาในศาลต่อหน้าคู่ความโดยเปิดเผย เมื่ออ่านแล้วให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ และมาตรา 2 (15) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่ความ"ไว้ว่าหมายถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมาตรา 2 (3) บัญญัติคำว่า"จำเลย" หมายถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิดฉะนั้นทนายจำเลยจึงมิได้เป็นจำเลยหรือเป็นคู่ความตามความหมายดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีฟัง โดยมีล่ามแปลให้จำเลยเข้าใจผลแห่งคำพิพากษานั้น และให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้แล้วเช่นนี้ เป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทราบ จะขัดต่อระเบียบหรือวิธีปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ก็หาเป็นเหตุให้การอ่านคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาต่อหน้าคู่ความ: จำเลยต้องเป็นผู้รับทราบ ไม่ใช่ทนายความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้ศาลอ่านคำพิพากษาในศาลต่อหน้าคู่ความโดยเปิดเผย เมื่ออ่านแล้วให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ และมาตรา 2(15) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่ความ"ไว้ว่าหมายถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมาตรา 2(3) บัญญัติคำว่า "จำเลย"หมายถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้ว โดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด ฉะนั้นทนายจำเลยจึงมิได้เป็นจำเลยหรือเป็นคู่ความตามความหมายดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีฟัง โดยมีล่ามแปลให้จำเลยเข้าใจผลแห่งคำพิพากษานั้น และให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้แล้วเช่นนี้ เป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอ่านคำพิพากษาโดยชอบแล้ว ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทราบจะขัดต่อระเบียบหรือวิธีปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ก็หาเป็นเหตุให้การอ่านคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นไม่ชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ชี้มูลความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
คำเบิกความของผู้เสียหายที่ว่าวันเกิดเหตุผู้เสียหายนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างออกจากที่ทำงานของน้องชายไปลงที่ปากซอยประชาอุทิศ 33 ขณะที่ผู้เสียหายกำลังลงจากรถจักรยานยนต์ได้พบกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 บอกให้ผู้เสียหายหยุด แล้วเข้าไปจับมือผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 1กอดผู้เสียหายทางด้านหลัง จากนั้นจำเลยที่ 2 ล้วงเอาหนังสือเดินทางและเงินสด 5,800 บาทของผู้เสียหายจากกระเป๋าเสื้อ กับดึงแว่นตาและถอดนาฬิกาไป ทั้งพูดว่าจะเอาตัวผู้เสียหายไปด้วย ผู้เสียหายกลัวจึงร้องขอความช่วยเหลือและดิ้นจนหลุด วิ่งหลบหนีเข้าไปในซอยโดยถอดรองเท้าแตะทิ้งไว้นั้น คงมีแต่ตัวผู้เสียหายเท่านั้นที่ยืนยันถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น น้องชายของผู้เสียหายและ ช. ซึ่งเป็นพยานแวดล้อมที่สำคัญ โจทก์มิได้นำตัวมาเบิกความสนับสนุนเพื่อให้สมตามคำอ้างของผู้เสียหายปรากฏว่าขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน ทั้งสถานที่เกิดเหตุอยู่ในแหล่งชุมชนมีประชาชนเดินผ่านไปมาตลอดและเป็นคิวรถจักรยานยนต์รับจ้าง หากจำเลยทั้งสองลงมือกระทำความผิดดังที่ผู้เสียหายเบิกความก็น่าจะมีคนเห็น และสามารถอ้างบุคคลที่รู้เห็นมาเป็นพยานได้ไม่ยาก ประกอบกับผู้เสียหายแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นให้เจ้าพนักงานทราบและขอให้ไปจับจำเลยทั้งสองภายหลังเกิดเหตุแล้วถึง 8 วัน ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุพิเศษใดจึงปล่อยให้เนิ่นช้าถึงขนาดนั้น ทั้งที่ผู้เสียหายรับว่ารู้จักจำเลยที่ 2 เป็นอย่างดีตั้งแต่อยู่ที่ประเทศอินเดีย น่าจะทราบที่อยู่ของจำเลยที่ 2 ได้และควรรีบดำเนินการเพื่อจับจำเลยทั้งสองทันที นอกจากนี้ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายอ้างว่าถูกจำเลยทั้งสองชิงไปนั้นก็หาได้ยึดคืนมาไม่เว้นแต่รองเท้าแตะของกลาง ซึ่งตามรูปเรื่องข้อเท็จจริงอาจจะเป็นไปดังที่จำเลยทั้งสองนำสืบต่อสู้ว่าวันเกิดเหตุผู้เสียหายนัดจำเลยที่ 2 ไปรับเงินที่ยืม 5,000 บาทโดยจำเลยที่ 2 ชวนจำเลยที่ 1 ไปด้วย แต่ผู้เสียหายกลับขอผัดผ่อน จำเลยที่ 2 ไม่ตกลง และขอให้ผู้เสียหายไปเจรจากันที่บ้าน ผู้เสียหายไม่ยอมวิ่งหลบหนีไปโดยทิ้งรองเท้าแตะไว้ จำเลยทั้งสองจึงเก็บรองเท้าแตะเพื่อส่งคืนให้ผู้เสียหายในวันหลังก็ได้ เช่นนี้ เมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงยังไม่อาจเชื่อได้โดยสนิทใจว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิด กรณีมีเหตุควรสงสัยให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน, การต่ออายุสัญญาเช่า, และการประเมินค่าเช่าที่สมควร
สัญญาเช่าทรัพย์สินระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับโจทก์ผู้เช่าระบุว่าโจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้ให้เช่า การที่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระค่าภาษีดังกล่าวจากโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน หากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีดังกล่าว เกินไปจำเลยที่ 1 ก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่คืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินจำนวนนั้นไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ชำระเงินส่วนที่อ้างว่าเกินนั้น โจทก์ย่อมเรียกเงินส่วนนี้คืนได้แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้รับประเมินและไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ด้วยอำนาจแห่งสิทธิของโจทก์เองกรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องแทนผู้ให้เช่าโจทก์จึงไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำการประเมินค่ารายปีโดยใช้ หลักเกณฑ์เทียบเคียงกับอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งใช้ประโยชน์ คล้ายคลึงกันและมีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกันคือ เทียบเคียงกับโรงเรือนซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 300 เมตรโดยคำนึงถึงค่ารายปีในปี 2537 ด้วยแล้วจึงประเมินพื้นที่อาคารสำนักงานและลายจอดรถ ซึ่งราคาประเมินลายจอดรถยังต่ำกว่าของอาคารที่อยู่ใกล้เคียงดังกล่าว สำหรับป้อมยาม โรงอาหารโรงไฟฟ้า รวมทั้งพื้นที่ต่อเนื่องกับอาคารไม่มีการประเมินเพิ่มทั้งนี้ได้คำนึงถึงดรรชนีราคาผู้บริโภคของทางราชการประกอบสภาพทางเศรษฐกิจอีกด้วย ค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ประเมินไว้เป็นเงินค่ารายปีอันสมควร และมิได้สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปี 2538 การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 26