พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกจากพินัยกรรม 2 ฉบับที่มิได้ขัดแย้งกัน ศาลอนุญาตให้ผู้รับตามพินัยกรรมแต่ละฉบับเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้ง 2 ฉบับเป็นทรัพย์คนละส่วนกัน ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นบุตรคนหนึ่งของผู้ตายและมีสิทธิรับมรดกส่วนหนึ่งของผู้ตายตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารท้ายคำร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ ผู้ร้องจึงใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม 2 ฉบับ ไม่ขัดแย้งกัน ศาลอนุญาตให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับ
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับจึงหาได้ขัดกันและมีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกไม่ ผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมายทั้งฉบับที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อเจตนาของผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันและไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718จึงให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรกและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับที่สอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้และการให้เหตุผลที่ไม่ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 และการยกข้ออ้างใหม่ในชั้นอุทธรณ์
จำเลยกล่าวในคำให้การในตอนแรกว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินกับโจทก์ทั้ง 3 ฉบับ และนำที่ดินโฉนดที่พิพาทจำนองต่อโจทก์เป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้ตามฟ้องโจทก์ทั้ง 3 ฉบับจริง แต่จำเลยไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับนั้น การจำนองที่ดินประกันหนี้ตามสัญญากู้จึงเป็นการประกันหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ดังนี้เป็นเพียงคำให้การที่ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์เท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจำเลยไม่ได้รับเงินจากโจทก์จึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามที่กล่าวอ้างของตน
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่าหากศาลฟังว่าสัญญากู้และการจำนองที่ดินเป็นประกันสมบูรณ์ตามกฎหมายและจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองก็ตาม กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นคำให้การที่มีเงื่อนไขไม่แจ้งชัดว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ มิใช่เป็นคำปฏิเสธเหมือนในตอนแรก คำให้การในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองและการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
แม้คำให้การของจำเลยในตอนหลังที่ว่าหากศาลฟังว่าสัญญากู้และการจำนองที่ดินเป็นประกันสมบูรณ์ตามกฎหมายและจำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวบังคับจำนองก็ตาม กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นคำให้การที่มีเงื่อนไขไม่แจ้งชัดว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่ มิใช่เป็นคำปฏิเสธเหมือนในตอนแรก คำให้การในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นคำให้การที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย ดังนั้นที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองและการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: หลักฐานไม่ชัดเจน ผู้ต้องสงสัยได้รับประโยชน์แห่งความสงสัย
ทรัพย์สินของผู้เสียหายที่แจ้งสูญหายไว้ต่อประชาสัมพันธ์ศูนย์การค้ามีเงินสด 2,000 บาท และทรัพย์สินอื่นอีก 3 รายการโดยไม่มีบัตรโทรศัพท์แต่อย่างใดแต่ทรัพย์สินของกลางที่ค้นได้จากตัวจำเลยมีเพียงเงินสด 5,000 บาท กับบัตรโทรศัพท์และใบมีดโกน เท่านั้น ผู้เสียหายรับว่าเงินสด 5,000 บาทจะใช่ของผู้เสียหายหรือไม่ก็ไม่แน่ใจ ส่วนบัตรโทรศัพท์นั้นผู้เสียหายมิได้ทำตำหนิไว้เป็นพิเศษเป็นบัตรโทรศัพท์ที่ประชาชนสามารถหาซื้อโดยทั่วไป เช่นนี้ เงินสดและบัตรโทรศัพท์ของกลางที่ค้นได้จากตัวจำเลยหาได้มีหลักฐานใดที่ยืนยันได้ชัดแจ้งว่าเป็นของผู้เสียหายไม่ แม้ผู้เสียหายอ้างว่าบัตรโทรศัพท์ดังกล่าวผู้เสียหายใช้ไปแล้ว 1 ครั้ง เป็นเงิน 23 บาทยังเหลืออยู่ 77 บาทและเจ้าพนักงานตำรวจนำไปตรวจสอบดูปรากฏว่ามีจำนวนเงินเหลือตรงกันก็ตาม ก็มิอาจเชื่อได้โดยสนิทใจว่าบัตรโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นของผู้เสียหาย เพราะในข้อนี้จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยใช้บัตรโทรศัพท์ไป 1 ครั้ง เป็นเงิน 23 บาทเช่นกัน พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้แน่ชัดว่าเงินสดและบัตรโทรศัพท์ของกลางเป็นของผู้เสียหาย กรณีมีเหตุควรสงสัยว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดในข้อหารับของโจรต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกและการแต่งตั้งใหม่เนื่องจากละเลยหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน เมื่อผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและยกคำร้องของผู้คัดค้านนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาคดีไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่กรณีที่ยังไม่ทราบว่าใครจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างแม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันที่ยังไม่ถึงที่สุดเพราะผู้ร้องอุทธรณ์นั้น คำสั่งดังกล่าวก็ผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความจนกว่าคำสั่งนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นและทราบคำสั่งแล้ว ถือว่าหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้เริ่มขึ้นแล้วในวันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1716 ดังนั้นผู้ร้องและผู้คัดค้านจึงต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา1728 ทั้งนี้ต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729และหากผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ มาตรา 1731 ก็บัญญัติให้ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้
ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหน้าที่ผู้จัดการมรดกก็เพราะว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้างนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และเมื่อบัญชีทรัพย์ที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลขณะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องลงมือจัดทำให้แล้วเสร็จภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 และ 1729 และโดยที่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด ทรัพย์มรดกที่ให้เช่าผู้ร้องก็เป็นผู้เก็บค่าเช่าตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม2534 แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองรวมทั้งเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ยังไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก และแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบ้างเลย ทั้งยังแสดงเจตนาที่จะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นนี้ จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้วผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกประกอบกับศาลได้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว จึงสมควรตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป
ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหน้าที่ผู้จัดการมรดกก็เพราะว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้างนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และเมื่อบัญชีทรัพย์ที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลขณะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องลงมือจัดทำให้แล้วเสร็จภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 และ 1729 และโดยที่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด ทรัพย์มรดกที่ให้เช่าผู้ร้องก็เป็นผู้เก็บค่าเช่าตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม2534 แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองรวมทั้งเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ยังไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก และแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบ้างเลย ทั้งยังแสดงเจตนาที่จะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นนี้ จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้วผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกประกอบกับศาลได้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว จึงสมควรตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกจากหน้าที่เนื่องจากไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก และการแต่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน เมื่อผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และยกคำร้องของผู้คัดค้านนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีไปในทางใด ก็ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมิใช่กรณีที่ยังไม่ทราบว่าใครจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันที่ยังไม่ถึงที่สุดเพราะผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก็ผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความจนกว่าคำสั่งนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไขกลับหรืองดเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นและทราบคำสั่งแล้ว ถือว่าหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้เริ่มขึ้นแล้วในวันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1716 ดังนั้นผู้ร้องและผู้คัดค้านจึงต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวันนับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 ทั้งนี้ต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729 และหากผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาและ ตามแบบที่กำหนดไว้ มาตรา 1731 ก็บัญญัติให้ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้ การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกทั้งหมดรวมทั้งเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ยังไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก และแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบ้างเลย ทั้งยังแสดงเจตนาที่จะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นนี้ จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้ต้องระบุชัดว่าเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิทางศาลเพื่อเรียกทรัพย์คืน
การโอนทรัพย์ไปให้แก่ผู้อื่นเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 นั้น จะต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และผู้กระทำก็ต้องรู้ว่าเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงให้ค่าจ้าง ว่าความแก่โจทก์ถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ โจทก์ทวงถาม จำเลยที่ 1 หลบหน้า ต่อมาโจทก์จึงรู้ว่า จำเลยที่ 1 โอนที่ดินแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 2 และขายที่ดินอีกแปลงหนึ่ง ให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ อันเป็นการโอนโดยเจตนาทุจริต ประสงค์มิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งที่ตะหนักดีว่าโจทก์ ต้องฟ้องบังคับคดีอย่างแน่นอน เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มี ทรัพย์สินใดพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์นั้น จึงเป็นคำฟ้องที่ มิได้ระบุว่าโจทก์ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล ให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำ ทั้งที่ตระหนักดีว่าโจทก์ต้องฟ้องบังคับคดีอย่างแน่นอนเป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำไปทั้งที่คาดหมายว่าโจทก์ ฟ้องบังคับคดี ส่วนตัวโจทก์เองจะฟ้องร้องหรือไม่โจทก์ ไม่ได้กล่าวถึง คำฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญ ไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างทำของ vs. ซื้อขาย: หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ยกเลิกการประเมิน และของดหรือลดเบี้ยปรับโดยให้เหตุผลว่า ในการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปโดยถือความเข้าใจและความรู้สึกของตนเองเป็นเกณฑ์ หากมีกรณีความเห็นไม่ตรงกันก็จะใช้คำถามนำ และใช้คำพูดในเชิงใช้อำนาจอันเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมสรรพากร พร้อมทั้งโจทก์ได้ยื่นหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินมาพร้อมด้วย คำอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นการโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว
โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างสั่งให้โรงงานผู้รับจ้างผลิตรองเท้าตามที่โจทก์กำหนด กรณีจึงเป็นเรื่องจ้างทำของ หาใช่เป็นเรื่องซื้อขายไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ให้แก่โรงงานผลิตรองเท้าผู้รับ และนำส่งไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ป.รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ข้อ 8
โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างสั่งให้โรงงานผู้รับจ้างผลิตรองเท้าตามที่โจทก์กำหนด กรณีจึงเป็นเรื่องจ้างทำของ หาใช่เป็นเรื่องซื้อขายไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ให้แก่โรงงานผลิตรองเท้าผู้รับ และนำส่งไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ป.รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ข้อ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องคดีจำหน่ายยาเสพติด: การระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ไม่จำเป็นต้องระบุในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 3 หลอด น้ำหนัก 2.98 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเงิน 1,800 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพ แม้โจทก์มิได้ระบุน้ำหนักเฮโรอีนของกลางว่ามีสารบริสุทธิ์หนักเท่าไร แต่ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5) แห่ง ป.วิ.อ. ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว สำหรับน้ำหนักเฮโรอีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้นเป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยเองก็ฎีกายอมรับว่าเป็นเรื่องประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม น้ำหนักสารบริสุทธิ์เป็นข้อนำสืบ โทษจำคุกเหมาะสมแล้ว
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว สำหรับน้ำหนักเฮโรอีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้นเป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ประกอบกับจำเลยเองก็ฎีกายอมรับว่าเป็นเรื่องประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม