คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนทร สิทธิเวชวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7127/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์หลังพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์ ศาลมีสิทธิยกคำร้อง
ตามอุทธรณ์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ประสงค์อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 3 เท่านั้น เมื่อไม่ใช่เป็นกรณีที่พิมพ์ผิดพลาด การที่ทนายจำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยเวลากำหนดอายุอุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ เป็นว่าจำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ จึงเป็นการเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 มาเป็นจำเลยทั้งห้า จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7127/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์หลังหมดอายุความและการตีความเจตนาของผู้ฟ้องอุทธรณ์
ตามอุทธรณ์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3ไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ประสงค์อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1และที่ 3 เท่านั้น เมื่อไม่ใช่เป็นกรณีที่พิมพ์ผิดพลาด การที่ทนายจำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยเวลากำหนดอายุอุทธรณ์จากจำเลยที่ 1และที่ 3 อุทธรณ์ เป็นว่าจำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ จึงเป็นการเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 มาเป็นจำเลยทั้งห้า จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7127/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์หลังพ้นกำหนดอายุความอุทธรณ์ ศาลยกคำร้อง
ตามอุทธรณ์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยผู้อุทธรณ์ประสงค์อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 3 เท่านั้น เมื่อไม่ใช่เป็นกรณีที่พิมพ์ผิดพลาด การที่ทนายจำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยเวลากำหนดอายุอุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ เป็นว่าจำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ จึงเป็นการเพิ่มเติมตัวผู้อุทธรณ์จากจำเลยที่ 1 และที่ 3 มาเป็นจำเลยทั้งห้า จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำร้องดังกล่าวเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความลักษณะป้ายโฆษณาและการคำนวณเงินเพิ่มภาษีป้าย โดยพิจารณาจากข้อกฎหมายและความถูกต้องของการประเมิน
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้น ย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAYDEPARTMENTSTORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์"และ"ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการ ถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้ายพระราชบัญญัติป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 25(3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีภาษีป้าย: การตีความเครื่องหมาย, การนับเงินเพิ่ม, และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้นย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAY DEPARTMENT STORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์" และ "ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้าย พ.ร.บ.ป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 25 (3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5), 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีป้าย, รูปแบบป้ายโฆษณา, และการคำนวณเงินเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้น ย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAYDEPARTMENTSTORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์"และ"ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการ ถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้ายพระราชบัญญัติป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 25(3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดให้โทษ ไม่ยกเลิกความผิดฐานครอบครอง และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนปริมาณ 0.589 กรัม เกินปริมาณรัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครอง และเมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแต่อย่างใด ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ ส่วนจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะเมทแอมเฟตามีนจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ และความผิดฐานครอบครองยังคงอยู่
จำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณ0.589 กรัม เกินปริมาณรัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครอง และเมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539) ซึ่งออกตามความในพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้นโดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแต่อย่างใด ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ ส่วนจะต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นณแก่จำเลย คือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ ตามป.อ.มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ ไม่ยกเลิกความผิดฐานครอบครอง ต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนปริมาณ 0.589 กรัม เกินปริมาณรัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครอง และเมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแต่อย่างใด ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ ส่วนจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมสโมสรเป็นค่าตอบแทนบริการ จัดเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษี
โจทก์ประกอบกิจการในลักษณะสโมสรซึ่งมีสถานที่ให้สมาชิกรับประทานอาหารและการประชุมต่าง ๆ และพักผ่อนออกกำลังกายให้แก่สมาชิกรวมทั้งแขกของสมาชิก โดยผู้สนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นเงินประมาณ 40,000 บาท ถึง 100,000 บาท และค่าธรรมเนียมรายเดือนอีกเดือนละ 1,000 บาท ยกเว้นสมาชิกตลอดชีพไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายเดือน จะเห็นได้ว่าเงินค่าสมาชิกรายเดือนเพียงเดือนละ 1,000 บาท ไม่พอเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสโมสร ดังนั้น เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้าจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าสมาชิกรายเดือน โดยสมาชิกมีสิทธิใช้บริการต่าง ๆ ของสโมสร แม้เงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าโจทก์จะต้องคืนให้แก่สมาชิกเมื่อครบกำหนด 30 ปี ก็ตาม แต่ในระหว่างที่ยังไม่คืนโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากการใช้สอยเงินดังกล่าว ถือได้ว่าเงินค่าธรรมเนียมสมาชิกแรกเข้าเป็นเงินค่าตอบแทนการให้บริการต่าง ๆ การดำเนินการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการเป็นการรับจ้างทำของอย่างหนึ่ง โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4การรับจ้างทำของชนิด 1 (ฉ)
of 26