คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนทร สิทธิเวชวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: เริ่มนับจากวันผิดนัด หรือวันบอกเลิกสัญญา
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรเครดิตให้แก่สมาชิกแล้วสมาชิกสามารถนำไปถอนเงินสดล่วงหน้า และสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ แทนการชำระด้วยเงินสดตามร้านค้าหรือสถานบริการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ทั้งในและต่างประเทศที่มีข้อตกลงเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรกับโจทก์โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเงินทดรองแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง ซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมด้วย เช่นนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก การที่โจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป ซึ่งตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดบัญชีส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บ และให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ กรณีเช่นนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในงวดใดโจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญาจำเลยผิดนัดงวดใดบ้าง จึงต้องถือว่าวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิตเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับหนี้ทั้งหมดได้และการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆได้เรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(7) เมื่อโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องคดีนี้ได้นับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2534แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2538 เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2539)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ โดยเฉพาะบัตรเครดิต เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญา
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรเครดิตให้แก่สมาชิกแล้ว สมาชิกสามารถนำไปถอนเงินสดล่วงหน้าและสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ แทนการชำระด้วยเงินสดตามร้านค้าหรือสถานบริการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ทั้งในและต่างประเทศที่มีข้อตกลงเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรกับโจทก์โดยโจทก์เป็นผู้ชำระเงินทดรองแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง ซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมด้วย เช่นนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกการที่โจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป ซึ่งตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดบัญชีส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บ และให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ กรณีเช่นนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในงวดใด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญาจำเลยผิดนัดงวดใดบ้าง จึงต้องถือว่าวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิตเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับหนี้ทั้งหมดได้ และการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆได้เรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป มีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) เมื่อโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องคดีนี้ได้นับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน2534 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2538 เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดต้องอ้างเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามกฎหมายไม่ถูกต้อง มิใช่แค่ราคาขายต่ำ
ตามคำร้องของจำเลยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 วรรคสองเพียงแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์กับผู้ซื้อทรัพย์ร่วมกันเข้าสู้ราคาโดยไม่สุจริต สมคบกันกดราคาซื้ออันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้จำเลยเสียหายเท่านั้น ซึ่งมิได้เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำสั่งของจำเลยเสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวนก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นไม่ผูกพันผู้เยาว์
ในการเจรจาเรื่องค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 2 เจรจาแทนฝ่ายผู้ต้องหา มีการตกลงใช้ค่าเสียหายแก่ญาติของผู้ตายเป็นเงิน 150,000 บาท หลังจากนั้นมีการจ่ายเงิน 100,000 บาท ที่บริษัทจำเลยที่ 1 บ.มารดาผู้ตาย และ จ.บิดาผู้ตายได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายที่บริษัทจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาทที่โจทก์ที่ 1 และ บ.แถลงในรายงานกระบวนพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้น ซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ โจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 3 เป็นจำเลยว่าร่วมกันได้รับชดใช้เงินจากจำเลยที่ 3 อีก 60,000 บาท ไม่ติดใจดำเนินคดีจำเลยที่ 3 ต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3แล้ว แต่สำหรับโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์โดยโจทก์ที่ 1 ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องคดีแทนนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 แทนโจทก์ที่ 2 การประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดซึ่งเป็นนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ตามป.พ.พ.มาตรา 1574 (12) หากมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจกระทำได้ การประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2
ปัญหาเรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นเรื่องกระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบกับมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการประมาท: การหักเงินชดใช้แล้วออกจากค่าเสียหายที่เรียกร้องเพื่อป้องกันการซ้ำซ้อน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์โดยประมาทและจำเลยที่ 2 นายจ้างของจำเลยที่ 1 ร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้ประนีประนอม-ยอมความกับโจทก์ทั้งสองโดยจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน300,000 บาท แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง ในวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ทั้งสองแถลงว่า ได้รับเงินเพื่อบรรเทาความเสียหายจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน300,000 บาท แต่ไม่ใช่เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่จำต้องนำพยานเข้าสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงิน 300,000 บาทให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วอีก เมื่อคดีมีประเด็นเพียงว่าได้มีการทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกันแล้วหรือไม่ และศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่ได้เป็นการทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกัน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1และที่ 2 แต่ต้องหักเงิน 300,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วออกจากค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ทั้งสองฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ชดใช้แก่โจทก์ทั้งสองมีผลมาจากการที่จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทอันเป็นความผิดอาญา ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ทั้งสอง แม้จะไม่ครบถ้วนตามจำนวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนหนึ่งแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าเสียหายส่วนที่ตนได้รับชดใช้แล้วได้อีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน การที่ศาลอุทธรณ์ให้นำเงินดังกล่าวมาหักออกจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าพิพาทมรดก: การท้าความถูกต้องของทรัพย์มรดกที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับ ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งที่มีสิทธิรับมรดกของนางตุ้น ผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่18มีนาคม2525โดยมิได้นำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้และจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นตามคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามส่วนและให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกจำเลยให้การต่อสู้คดีว่านางตุ้นยกที่พิพาทให้แก่จำเลยต. พ. และส.แล้วตั้งแต่ปี2518ขณะนางตุ้น ยังมีชีวิตอยู่และจำเลยต. พ.และส. ต่างครอบครองที่พิพาทตามส่วนของตนที่นางตุ้นยกให้ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี2518จนถึงปี2533หลังจากนางตุ้นตายแล้วจำเลยจึงยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นต่อศาลก็เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากนางตุ้น มาเป็นจำเลยต. พ. และส. เท่านั้นไม่เกี่ยวกับทายาทอื่นอันเป็นการให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยต.พ. และส. แล้วไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่จึงเป็นปัญหาที่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับแล้วซึ่งในการที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ก็ต้องวินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวด้วยการที่คู่ความหยิบยกเอาปัญหาดังกล่าวมาท้ากันจึงไม่ขัดต่อกฎหมายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งในการท้ากันก็ไม่จำต้องท้ากันตรงตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้คำท้าดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ คู่ความตกลงท้ากันว่าถ้าย. ล. ผ. ส. นายวินนายวัน และถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาลถ้ามี4คนขึ้นไปยื่นยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ถ้ามี4คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น หรือไม่ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทนปรากฎว่าย. และนายวัน สาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบล. ผ.ส. และนายวิน สาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วนถ. สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะทรัพย์สินว่าเป็นมรดกหรือไม่ และผลของการยอมรับข้อเท็จจริงเบื้องต้นของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งที่มีสิทธิรับมรดกของนางตุ้น ผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2525 โดยมิได้นำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้ และจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นตามคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามส่วน และให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดก จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า นางตุ้นยกที่พิพาทให้แก่จำเลย ต. พ.และ ส.แล้วตั้งแต่ปี 2518 ขณะนางตุ้นยังมีชีวิตอยู่และจำเลย ต. พ.และ ส.ต่างครอบครองที่พิพาทตามส่วนของตนที่นางตุ้นยกให้ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปี 2533 หลังจากนางตุ้นตายแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นต่อศาลก็เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากนางตุ้นมาเป็นจำเลย ต. พ. และ ส.เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับทายาทอื่น อันเป็นการให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ต. พ. และ ส.แล้วไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่จึงเป็นปัญหาที่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับแล้ว ซึ่งในการที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ก็ต้องวินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวด้วย การที่คู่ความหยิบยกเอาปัญหาดังกล่าวมาท้ากันจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งในการท้ากันก็ไม่จำต้องท้ากันตรงตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้คำท้าดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ
คู่ความตกลงท้ากันว่า ถ้า ย. ล. ผ. ส. นายวิน นายวันและ ถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาล ถ้ามี 4 คน ขึ้นไปยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ ถ้ามี 4 คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นหรือไม่ ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทน ปรากฏว่า ย.และนายวันสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบ ล. ผ. ส.และนายวินสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วน ถ.สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กจากอำนาจปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้เด็กต้องการความช่วยเหลือ
เมื่อจำเลยออกมาพบเด็กหญิงม. อายุ13ปีเศษที่ปากซอยนั้นจิตใจของเด็กหญิงม. กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ้นสับสนจะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาก็ไม่อยากกลับเพราะกลัวจะถูกทำโทษครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนจึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่ใจของจำเลยหากจำเลยไม่พาเด็กหญิงม.ไปเด็กหญิงม. อาจจะกลับไปบ้านก็ได้อีกทั้งเมื่อโจทก์ร่วมออกมาดูเห็นจำเลยพาเด็กหญิงม. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปดังนั้นหากจำเลยไม่พาเด็กหญิงม. ไปโจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบเด็กหญิงม. และพาเด็กหญิงม.กลับบ้านการที่จำเลยพาเด็กหญิงม. ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กหญิงม. ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กจากอำนาจปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควร กรณีเด็กต้องการความช่วยเหลือจากจำเลย
เมื่อจำเลยพบเด็กหญิงม.ที่ปากซอยนั้นจิตใจของเด็กหญิงม.กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ้นสับสนจะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วมก็ไม่อยากกลับเพราะกลัวจะถูกทำโทษครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนจึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่ใจของจำเลยหากจำเลยไม่พาเด็กหญิงม.ไปเด็กหญิงม.อาจจะกลับไปบ้านก็ได้เมื่อโจทก์ร่วมออกมาดูเห็นจำเลยพาเด็กหญิงม. นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปซึ่งหากจำเลยไม่พาไปโจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบและพาเด็กหญิงม. กลับบ้านการที่จำเลยพาเด็กหญิงม.ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กหญิงม.ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กจากอำนาจปกครองโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เมื่อจำเลยออกมาพบเด็กหญิง ม.อายุ 13 ปีเศษ ที่ปากซอยนั้นจิตใจของเด็กหญิง ม.กำลังอยู่ในภาวะว้าวุ่นสับสน จะกลับบ้านตามคำสั่งของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาก็ไม่อยากกลับเพราะกลัวจะถูกทำโทษ ครั้นจะไปที่อื่นก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน จึงบอกให้จำเลยพาไปที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่ใจของจำเลย หากจำเลยไม่พาเด็กหญิง ม.ไป เด็กหญิง ม.อาจจะกลับไปบ้านก็ได้ อีกทั้งเมื่อโจทก์ร่วมออกมาดู เห็นจำเลยพาเด็กหญิง ม.นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไป ดังนั้น หากจำเลยไม่พาเด็กหญิง ม.ไป โจทก์ร่วมก็ต้องออกมาพบเด็กหญิง ม.และพาเด็กหญิง ม.กลับบ้าน การที่จำเลยพาเด็กหญิง ม.ไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนของจำเลย จึงเป็นการพรากเด็กหญิง ม.ไปเสียจากอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคแรก
of 26