พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งงานก่อสร้างต่อความเสียหายที่เกิดจากผู้รับเหมา รวมถึงความรับผิดต่อค่าเช่าที่สูญเสีย
การก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เลือกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 และในระหว่างการก่อสร้าง อ.กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ไปสังเกตการณ์ทุกวัน ดังนี้ พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ได้ไปควบคุมดูแลการก่อสร้างตลอดเวลาและมีข้อสัญญาที่ให้จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาได้หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428 แห่ง ป.พ.พ.จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์ให้ ร.เช่าอาคารของโจทก์ และต่อมา ร.เลิกเช่าอาคารเนื่องจากการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารที่ ร.เช่าจากโจทก์ ดังนี้ ค่าเช่าที่โจทก์ไม่ได้รับเนื่องจาก ร.บอกเลิกการเช่าจึงเป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้
หนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)
โจทก์ให้ ร.เช่าอาคารของโจทก์ และต่อมา ร.เลิกเช่าอาคารเนื่องจากการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารที่ ร.เช่าจากโจทก์ ดังนี้ ค่าเช่าที่โจทก์ไม่ได้รับเนื่องจาก ร.บอกเลิกการเช่าจึงเป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้
หนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาในการก่อสร้างที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อสร้างอาคารตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 22 ชั้น ใต้ดิน 1 ชั้น ซึ่งอยู่ติดกับอาคารพิพาทของโจทก์และตาม สัญญารับจ้างเหมางานการก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าการก่อสร้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3จะต้องกระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับในสัญญา ดังกล่าว หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยที่ 1มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในระหว่างการก่อสร้างจำเลยที่ 1 ได้ไปควบคุมดูแลการก่อสร้าง ตลอดเวลาและมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาได้หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1เช่นนี้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีอากรเริ่มต้นเมื่อผู้มีอำนาจของนิติบุคคลทราบการตายของผู้เสียภาษี
กองกฎหมายและคดีได้ทำบันทึกให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับทราบถึงการตายของ ย.เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อรับทราบการตายของ ย. ในวันนั้นโดยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นถือได้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพิ่งทราบการตายของ ย. ในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รู้ถึงความตายของ ย. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้อง เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึง การตายของ ย. มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อย รับแจ้งการตายของ ย.แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความคดี การตายของบุคคล และฐานะโจทก์เป็นนิติบุคคล
กองกฎหมายและคดีได้ทำบันทึกให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับทราบถึงการตายของ ย. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อรับทราบการตายของ ย.ในวันนั้นโดยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ถือได้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพิ่งทราบการตายของ ย.ในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด1 ปี นับแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รู้ถึงความตายของ ย. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการตายของ ย.มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อยรับแจ้งการตายของ ย. แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึงการตายของ ย.มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อยรับแจ้งการตายของ ย. แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีผิดพลาดโดยสุจริตเนื่องจากเจ้าหน้าที่ประเมินไม่ตรวจสอบเอกสาร ทำให้งดเบี้ยปรับได้
เมื่อโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมายโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำแต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีสมุห์บัญชีอำเภอเมืองชลบุรี ปฏิบัติราชการแทนสรรพากรจังหวัดชลบุรี รับจดทะเบียนให้ ซึ่งเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ก่อนจดทะเบียน น่าจะตรวจสอบให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วจึงจดทะเบียนให้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1ไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนจดทะเบียนดังกล่าวจึงน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจผิดโดยสุจริตว่าการขอจดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว ทั้งระบบภาษี มูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะนั้น น่าเชื่อว่าการเสียภาษีโดยผิดพลาดครั้งนี้ของโจทก์ได้กระทำไปโดยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี สมควรที่จะ งดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเบี้ยปรับกรณีผู้เสียภาษีจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะผิดพลาดโดยสุจริตและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
โจทก์ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำเพราะโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมายแต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจำเลย แต่เจ้าพนักงานของจำเลย ไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าการขอ จดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว อีกทั้งระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ เห็นได้ว่าการที่โจทก์เสียภาษีโดยผิดพลาดโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี อีกทั้งการที่โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทก็ยังไม่มีเหตุให้รับฟังว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ดังนี้จึงสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีผิดพลาดโดยสุจริต และงดเบี้ยปรับกรณีเจ้าหน้าที่มิได้ตรวจสอบความถูกต้อง
โจทก์ไม่มีสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำ เพราะโจทก์มิได้รับใบอนุญาตตั้งโรงรับจำนำตามกฎหมาย แต่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่โจทก์ไปขอจดทะเบียนเสียภาษีธุรกิจเฉพาะประเภทโรงรับจำนำต่อเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร แต่เจ้าพนักงานของจำเลยไม่โต้แย้งหรือไม่ตรวจสอบให้ถูกต้องก่อนรับจดทะเบียนดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โจทก์เข้าใจโดยสุจริตว่าการขอจดทะเบียนดังกล่าวถูกต้องแล้ว อีกทั้งระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ เห็นได้ว่าการที่โจทก์เสียภาษีโดยผิดพลาด โจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี อีกทั้งการที่โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทก็ยังไม่มีเหตุให้รับฟังว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ดังนี้จึงสมควรที่จะงดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ร่วมกันโดยวางแผนและใช้ความได้เปรียบจากสถานการณ์ที่มีคนพลุกพล่าน
จำเลยกับชายชาวต่างประเทศอีก 1 คน เดินมาด้วยกันชายชาวต่างประเทศเข้ามายืนคุยกับผู้เสียหายซึ่งอยู่ในร้านเพียงคนเดียวและหันหลังให้ทางเข้าร้าน ขณะที่ยืนคุยนั้นผู้เสียหายไม่เห็นจำเลยโดยมีการเบนความสนใจของผู้เสียหายจากสิ่งอื่น ๆ ให้มาอยู่กับชาวต่างประเทศโดยใช้ภาษาต่างประเทศที่ผู้เสียหายไม่เข้าใจ แล้วจำเลยแอบเข้าไปในร้านของผู้เสียหายลักทรัพย์กระเป๋าหนังของกลางน่าเชื่อว่าจำเลยกับชายชาวต่างประเทศดังกล่าววางแผนสมคบกัน ในการลักทรัพย์ของผู้เสียหาย กระเป๋าหนังของกลางที่จำเลยกับพวกร่วมกันลักไปมีราคาสูง พฤติการณ์การกระทำของจำเลยมีการวางแผนการ แบ่งหน้าที่ กันทำและเป็นการลักทรัพย์ในงานแสดงสินค้าที่มีคนพลุกพล่าน อันเป็นภัยแก่สาธารณชนทั่วไป สมควรลงโทษเพื่อยับยั้ง มิให้เกิดการกระทำความผิดอย่างเดียวกันขึ้นมาอีกโดยไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด แม้มิได้ระบุในฟ้อง หรือมาจากการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรง
วันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้และยึดได้เงินสดจำนวน 5,470 บาท ซึ่งปะปนอยู่กับเงินจำนวนอื่นที่สายลับนำไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำเลยรับว่าเงินสดจำนวน 5,470 บาท ของกลาง จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับจำเลยดังนี้ เงินสดจำนวน 5,470 บาท ของกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยการกระทำความผิด เพราะการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดจำนวน 5,470 บาท ของกลาง ตามมาตรา 102 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ได้ก็ตาม แต่การริบทรัพย์สินเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะริบทรัพย์สินตามที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบของกลางมาแล้วและของกลางดังกล่าวเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้าง ป.อ.มาตรา 33 มาด้วย และเป็นเงินของกลางที่ไม่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบเงินสดจำนวน 5,470 บาท ของกลางได้ ตามมาตรา 33 (2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด แม้มิใช่ของกลางในคดีโดยตรง
วันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้และยึดได้เงินสด จำนวน 5,470 บาท ซึ่งปะปนอยู่กับเงินจำนวนอื่นที่สายลับ นำไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำเลยรับว่าเงินสดจำนวน 5,470 บาท ของกลาง จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับจำเลย ดังนี้ เงินสดจำนวน 5,470 บาท ของกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มา โดยการกระทำความผิด เพราะการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลย ในข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดจำนวน 5,470 บาท ของกลาง ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้ก็ตาม แต่การริบทรัพย์สิน เป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะริบทรัพย์สินตามที่ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบของกลางมาแล้วและของกลาง ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาด้วย และเป็นเงินของกลางที่ไม่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบเงินสดจำนวน 5,470 บาท ของกลางได้ ตามมาตรา 33(2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ถูกต้องได้