คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนทร สิทธิเวชวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้นและจับกุมคดียาเสพติด: อำนาจตามหมายค้นและอำนาจจับซึ่งหน้า
การค้นในคดีนี้เป็นการค้นเพื่อพบและยึดยาเสพติดซึ่งเป็น สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดตามที่ได้รับแจ้งจากสายลับ การออกหมายค้นจึงกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 69(2) และไม่จำต้องออกหมายจับบุคคลตามมาตรา 70 ด้วย เมื่อตรวจค้นแล้วพบว่าจำเลยมีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนไว้ใน ครอบครอง ซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจจึงมี อำนาจจับจำเลยได้ตามมาตรา 78(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจค้นและจับกุมเมื่อพบของผิดกฎหมาย (ยาเสพติด) เป็นความผิดซึ่งหน้า
การค้นในคดีนี้เป็นการค้นเพื่อพบและยึดยาเสพติดซึ่งเป็นสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดตามที่ได้รับแจ้งจากสายลับ การออกหมายค้นจึงกระทำได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 69 (2) และไม่จำต้องออกหมายจับบุคคลตามมาตรา 70 ด้วยเมื่อตรวจค้นแล้วพบว่าจำเลยมีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจจึงมีอำนาจจับจำเลยได้ตามมาตรา 78 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด, ความผิดพยายามจำหน่าย, และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อ ยาเสพติดให้โทษจากจำเลยมิได้เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย มิได้ผิดศีลธรรมหรือทำนองคลองธรรม มิได้เป็นการใส่ร้าย ป้ายสีหรือยัดเยียด ความผิดให้จำเลย หากจำเลยมิได้มี ยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อสายลับ ไปขอซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย จำเลยย่อมไม่มียาเสพติดให้โทษ จะจำหน่ายให้แก่สายลับ ความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการ เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน รับฟังลงโทษจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 จำเลยรับเงินจากสายลับ แล้วจำเลยไปหยิบฝิ่นมา แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบฝิ่นให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับ จำเลยเสียก่อน จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานจำหน่ายฝิ่น คงมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้นปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด ความผิดพยายามจำหน่าย และการพิสูจน์ความผิดโดยชอบ
การที่โจทก์ไม่ได้นำสายลับมาเบิกความ ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ให้สายลับนำเงินไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย การกระทำดังกล่าวมิได้ฝ่าฝืนกฎหมาย มิได้ผิดศีลธรรมหรือทำนองคลองธรรม มิได้เป็นการใส่ร้ายป้ายสีหรือยัดเยียดความผิดให้จำเลย หากจำเลยมิได้มียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อสายลับไปขอซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย จำเลยย่อมไม่มียาเสพติดให้โทษจะจำหน่ายให้แก่สายลับความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมรับฟังลงโทษจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
จำเลยรับเงินจากสายลับแล้วจำเลยไปหยิบฝิ่นมา แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบฝิ่นให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยเสียก่อนจำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานจำหน่ายฝิ่น คงมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด การครอบครองเพื่อจำหน่าย พยายามจำหน่าย และการใช้พยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
จำเลยรับเงินจากสายลับแล้วไปเอาถุงพลาสติกใส่เมทแอมเฟตามีนและฝิ่นของกลางมาเพื่อจะมอบให้สายลับ แต่ถูกพันตำรวจโท ส.กับพวกจับเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ได้นำสายลับมาเบิกความ ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ และการที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ให้สายลับนำเงินไปล่อซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย การกระทำดังกล่าวมิได้ฝ่าฝืนกฎหมาย มิได้ผิดศีลธรรมหรือทำนองคลองธรรม มิได้เป็นการใส่ร้ายป้ายสีหรือยัดเยียดความผิดให้จำเลย หากจำเลยมิได้มียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมื่อสายลับไปขอซื้อยาเสพติดให้โทษจากจำเลย จำเลยย่อมไม่มียาเสพติดให้โทษจะจำหน่ายให้แก่สายลับความผิดย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมรับฟังลงโทษจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.อ. มาตรา 226
จำเลยรับเงินจากสายลับ แล้วจำเลยไปหยิบฝิ่นมาแต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบฝิ่นให้แก่สายลับ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับจำเลยเสียก่อน จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานจำหน่ายฝิ่น คงมีความผิดฐานพยายามจำหน่ายฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้เขียนด้วยนามปากกา: พยานหลักฐานต้องชัดเจนและมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
การใช้นามปากกาแทนชื่อจริง บุคคลทั่วไปจะรู้จักแต่นามปากกาไม่สามารถรู้ชื่อจริงได้ แม้จะเป็นบุคคลหรือเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่นั้นก็ตาม เพราะการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่นั้นไม่ได้ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา ได้ว่านามปากกาใดเป็นของผู้ใด คำเบิกความของ พันตำรวจโท อ. ไม่ได้แสดงเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าตนรู้ได้อย่างไรว่าจำเลยที่ 2 ใช้นามปากกาว่าคมแฝกพยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนัก คดีรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เขียนคอลัมน์สังคมบ้านเรา ในหนังสือพิมพ์บ.โดยใช้นามปากกาว่าคมแฝก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากยอดขายสินค้าที่ไม่ลงบัญชี วิธีการคำนวณของเจ้าพนักงานประเมินชอบด้วยเหตุผล
วิธีการคำนวณหารายได้เกี่ยวกับการขายสินค้าไม่ลงบัญชี ของเจ้าพนักงานประเมิน โดยนำสินค้าคงเหลือต้นงวดยกมา บวกด้วย สินค้าที่ซื้อมาระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ลบด้วยสินค้าคงเหลือ ปลายงวด ผลต่างถือว่าเป็นยอดสินค้าที่โจทก์ควรจะขายได้ แล้วนำจำนวนสินค้าที่โจทก์ลงรายได้จากการขายมาหักออก ผลลัพธ์ที่ได้ถือเป็นยอดขายที่ไม่ได้ลงบัญชี แล้วนำยอดขาย ที่ไม่ลงบัญชีดังกล่าวมาคูณด้วยราคาเฉลี่ย ของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อหายอด ขายที่โจทก์ลงบัญชีต่ำไป ตามการคำนวณนั้น เป็นการคำนวณเบื้องต้นเพื่อหายอด ขาย ของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำการตรวจสอบเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำนวนสินค้าที่ขาดไปบางส่วนเป็นสินค้ามีตำหนิและ นำไปขายในราคาต่ำ สินค้าที่นำไปสาธิตหรือตั้งโชว์ เจ้าพนักงาน ได้นำไปหักออกจากจำนวนสินค้าขายไม่ลงบัญชีที่คำนวณตาม วิธีการดังกล่าวแล้ว การคำนวณหายอด ที่มิได้ลงบัญชีโดยวิธี ดังกล่าวจึงชอบด้วยเหตุผลและมิได้ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 65การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีการคำนวณหารายได้จากการขายสินค้าไม่ลงบัญชีของเจ้าพนักงานประเมิน ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมาย
วิธีการคำนวณหารายได้เกี่ยวกับการขายสินค้าไม่ลงบัญชีของเจ้าพนักงานประเมิน โดยนำสินค้าคงเหลือต้นงวดยกมา บวกด้วยสินค้าที่ซื้อมาระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ลบด้วยสินค้าคงเหลือปลายงวด ผลต่างถือว่าเป็นยอดสินค้าที่โจทก์ควรจะขายได้ แล้วนำจำนวนสินค้าที่โจทก์ลงรายได้จากการขายมาหักออก ผลลัพธ์ที่ได้ถือเป็นยอดขายที่ไม่ได้ลงบัญชี แล้วนำยอดขายที่ไม่ได้ลงบัญชีดังกล่าวมาคูณด้วยราคาเฉลี่ยของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อหายอดขายที่โจทก์ลงบัญชีต่ำไปตามการคำนวณนั้น เป็นการคำนวณเบื้องต้นเพื่อหายอดขายของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำการตรวจสอบเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำนวนสินค้าที่ขาดไปบางส่วนเป็นสินค้ามีตำหนิและนำไปขายในราคาต่ำ สินค้าที่นำไปสาธิตหรือตั้งโชว์ เจ้าพนักงานได้นำไปหักออกจากจำนวนสินค้าขายไม่ลงบัญชีที่คำนวณตามวิธีการดังกล่าวแล้ว การคำนวณหายอดที่มิได้ลงบัญชีโดยวิธีดังกล่าวจึงชอบด้วยเหตุผลและมิได้ขัดต่อ ป.รัษฎากร มาตรา 65 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรม vs. ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียง และขอบเขตการลงโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์รายวัน ข. จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัด เป็นเจ้าของและผู้จำหน่าย หนังสือพิมพ์รายวัน ข. แก่ประชาชนทั่วไป จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันพิมพ์และโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ ข. ในคอลัมน์ บันเทิงว่า "จิกจักรวาล!หึ่งปุ๋ยโอเค.นู้ด!5 ล้าน.!" มีใจความในเนื้อข่าวว่า "กระแสคลั่งนู้ดโหมหนักไม่เว้นกระทั่งนางงามจักรวาล"ปุ๋ย" ภ.ปุ๋ยยกตำแหน่งหรูการันตีขูดค่าแก้ผ้า 5 ล้านทางนิตยสาร "มิส"นู้ดอัลบัมได้ส่งตัวแทนไปทาบทาม "ปุ๋ย" ภ.นางสาวไทยและนางงามจักรวาล ปี 2531เพื่อมาถ่ายอัลบัม ด้วย แต่ปรากฏว่าทางปุ๋ย เรียกค่าตัวเพื่อการนี้สูงถึง 5,000,000 บาท จึงจะยอมถ่ายอย่างตอนนี้มิสไปติดต่อปุ๋ยใช่ไหมปุ๋ยโอเค. แต่เงินไม่ถึงก็คอยดูต่อไปแล้วกัน เดี๋ยว เล่มอื่นก็เอาไปถ่ายจนได้เงินแค่ 5,000,000 บาท ถ้าจะทำกันจริง ๆ ต้องมีคนกล้าเสี่ยงแน่นอน" โดยข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณา จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันใด เลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่ได้มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1มุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิด ดูหมิ่นเกลียดชัง โจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติ และสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอัน เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้รับการยกเว้น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332(2) บัญญัติว่าในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดศาลอาจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่ บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียว หรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เห็นได้ว่า ให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัย ต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือ จากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข. ที่จำเลยที่เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา เป็นผู้ใส่ความ โจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด หรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ลำพังแต่เพียงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของ และผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 3 เดือนและปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษ ไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา ของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การติชมด้วยความสุจริต vs. ใส่ความทำลายชื่อเสียง และขอบเขตการโฆษณาคำพิพากษา
ข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณาว่าโจทก์เรียกเงิน 5 ล้าน ในการถ่ายภาพนู้ด นั้น จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความ จริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่มีข้อความ ที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์ แต่กลับ เป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความ เพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริง เข้าใจผิด ดูหมิ่น เกลียดชังโจทก์ อันส่งผลกระทบต่อเกียรติยศและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติ ชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ จึงเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับการยกเว้นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 กำหนดให้คดี หมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์ หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณานั้นเป็นการให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณา คำขออภัยด้วย ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษา ของศาลทั้งหมดนั้นก็เกินความจำเป็น สมควรให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำพิพากษาของศาลโดยย่อพอได้ใจความ โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า บริษัท ข.จำเลยที่ 2 เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำ ความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ดังนั้น ลำพังแต่เพียงได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและ จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป จึงไม่พอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
of 26