คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนทร สิทธิเวชวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลจำกัดอำนาจการสั่งให้ขอโทษ และวินิจฉัยความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์รายวันข. จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข.แก่ประชาชนทั่วไป จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันพิมพ์และโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ ข. ในคอลัมน์บันเทิงว่า "จิกจักรวาล! หึ่ง ปุ๋ย โอเค.นู้ด! 5 ล้าน.!"มีใจความในเนื้อข่าวว่า "กระแสคลั่งนู้ดโหมหนัก ไม่เว้นกระทั่งนางงามจักรวาล"ปุ๋ย" ภ.... ปุ๋ยยกตำแหน่งหรูการันตีขูดค่าแก้ผ้า 5 ล้าน ทางนิตยสาร "มิส"นู้ดอัลบัมได้ส่งตัวแทนไปทาบทาม "ปุ๋ย" ภ.นางสาวไทยและนางงามจักรวาลปี 2531เพื่อมาถ่ายอัลบัมด้วย แต่ปรากฎว่าทางปุ๋ยเรียกค่าตัวเพื่อการนี้สูงถึง 5,000,000บาท จึงจะยอมถ่าย... อย่างตอนนี้มิสไปติดต่อปุ๋ยใช่ไหม ปุ๋ยโอเค. แต่เงินไม่ถึงก็คอยดูต่อไปแล้วกัน เดี๋ยวเล่มอื่นก็เอาไปถ่ายจนได้ เงินแค่ 5,000,000 บาทถ้าจะทำกันจริง ๆ ต้องมีคนกล้าเสี่ยงแน่นอน" โดยข้อความที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณา จำเลยที่ 1 มิได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดเลยในการแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งไม่ได้มีข้อความที่แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่จะปกป้องโจทก์แต่กลับเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 มุ่งประสงค์ใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียงของโจทก์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความจริงเกิดเข้าใจผิด ดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์อันส่งผลกระทบต่อเกียรติและสถานะในทางสังคมของโจทก์หาใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่จึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้รับการยกเว้นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 329
ตาม ป.อ.มาตรา 332 (2) บัญญัติว่า ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ศาลอาจสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา เห็นได้ว่าให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำพิพากษาเท่านั้น มิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้โฆษณาคำขออภัยด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบ
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์รายวัน ข. ที่จำเลยที่เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์โฆษณา เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดหรือรู้ว่าข้อความที่ตีพิมพ์เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ ลำพังแต่เพียงได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวให้แก่ประชาชนทั่วไป ไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1ในข้อนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7623/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิชอบ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องพิจารณาเอกสารหลักฐานที่ผู้เสียภาษีนำเสนอ
ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน2536 โจทก์ลงรายการในช่องภาษีที่ชำระเกินยกมาเป็นจำนวนเงิน 157,989.33 บาท ผิดโดยลงซ้ำทั้งสามเดือน และโจทก์อ้างว่าฐานภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนมิถุนายนและตุลาคม 2535 โจทก์ใช้ราคาสินค้าตามความจริงโดยมิได้นำราคาที่เจ้าพนักงานศุลกากรประเมินเพิ่มมาเป็นฐานภาษี ในระหว่างอุทธรณ์การประเมินโจทก์ได้เสนอเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานภาษี แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่พิจารณาหลักฐานรายงานภาษีขายและภาษีซื้อเดือนพฤศจิกายน 2536 โดยมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการประเมินชอบแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการนำข้อมูลจากรายงานภาษีขายและภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งโจทก์นำสืบว่าโจทก์ลงไว้ผิดมาวินิจฉัย โดยมิได้ตรวจสอบจากเอกสารที่โจทก์นำมาส่งให้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/4 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีและเป็นทางแก้กรณีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและให้โอกาสผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษียื่นเพิ่มเติมใหม่เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลภาษีอากรเข้าไปวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของเจ้าพนักงานประเมินหรือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องหรือไม่การที่ศาลภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงมิใช่เป็นการลัดขั้นตอนของกฎหมายหรือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7623/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: ศาลภาษีอากรมีอำนาจวินิจฉัยความถูกต้องของการประเมิน
ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน 2536 โจทก์ลงรายการในช่องภาษีที่ชำระเกินยกมาเป็นจำนวนเงิน157,989.33 บาท ผิดโดยลงซ้ำทั้งสามเดือน และโจทก์อ้างว่าฐานภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนมิถุนายนและตุลาคม 2535 โจทก์ใช้ราคาสินค้าตามความจริงโดยมิได้นำราคาที่เจ้าพนักงานศุลกากรประเมินเพิ่มมาเป็นฐานภาษี ในระหว่างอุทธรณ์การประเมินโจทก์ได้เสนอเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานภาษี แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่พิจารณาหลักฐานรายงานภาษีขายและภาษีซื้อเดือนพฤศจิกายน 2536 โดยมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการประเมินชอบแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการนำข้อมูลจากรายงานภาษีขายและภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งโจทก์นำสืบว่าโจทก์ลงไว้ผิดมาวินิจฉัย โดยมิได้ตรวจสอบจากเอกสารที่โจทก์นำมาส่งให้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ป.รัษฎากร มาตรา 83/4 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีและเป็นทางแก้กรณีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและให้โอกาสผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษียื่นเพิ่มเติมใหม่เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลภาษีอากรเข้าไปวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของเจ้าพนักงานประเมินหรือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงมิใช่เป็นการลัดขั้นตอนของกฎหมายหรือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7623/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิชอบ กรณีเจ้าพนักงานประเมินละเลยเอกสารสำคัญที่ผู้เสียภาษีนำเสนอเพื่อประกอบการพิจารณา
ตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน2536 โจทก์ลงรายการในช่องภาษีที่ชำระเกินยกมาเป็นจำนวนเงิน 157,989.33 บาท ผิดโดยลงซ้ำทั้งสามเดือน และโจทก์อ้างว่าฐานภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนมิถุนายนและตุลาคม 2535 โจทก์ใช้ราคาสินค้าตามความจริงโดยมิได้นำราคาที่เจ้าพนักงานศุลกากรประเมินเพิ่มมาเป็นฐานภาษี ในระหว่างอุทธรณ์การประเมินโจทก์ได้เสนอเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานภาษี แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยแล้ว การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่พิจารณาหลักฐานรายงานภาษีขายและภาษีซื้อเดือนพฤศจิกายน 2536 โดยมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการประเมินชอบแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการนำข้อมูลจากรายงานภาษีขายและภาษีซื้อของโจทก์ในเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งโจทก์นำสืบว่าโจทก์ลงไว้ผิดมาวินิจฉัย โดยมิได้ตรวจสอบจากเอกสารที่โจทก์นำมาส่งให้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 83/4 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นแบบและชำระภาษีและเป็นทางแก้กรณีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและให้โอกาสผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษียื่นเพิ่มเติมใหม่เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลภาษีอากรเข้าไปวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีหรือคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของเจ้าพนักงานประเมินหรือของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องหรือไม่การที่ศาลภาษีอากรมีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงมิใช่เป็นการลัดขั้นตอนของกฎหมายหรือเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท-สัญญากู้-ยินยอมชำระหนี้: เช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้กู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ถือเป็นความผิดตามฟ้องเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วม โดยปรากฏว่าวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงิน แสดงว่าขณะเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้นมูลหนี้ตามเช็คดังกล่าวมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้กู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตาม เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คเพื่อชำระหนี้กู้ยืม แม้ไม่ได้ลงนามในสัญญากู้ แต่ยินยอมชำระหนี้แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ร่วมแล้วจำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วม โดยปรากฏว่าวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตาม สัญญากู้เงิน แสดงว่าขณะเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้นมูลหนี้ตามเช็คดังกล่าวมีหลักฐาน การกู้ยืมเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย เมื่อหนี้กู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมายการที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตาม เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7437/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาประกันจากพนักงานสอบสวน: เงินค่าปรับเป็นไปตามระเบียบราชการ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 136บัญญัติให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการที่จะปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาโดยมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ และมาตรา 106(1)บัญญัติว่า คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวเมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ดังนั้น ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มี อำนาจปล่อยชั่วคราวและทำสัญญาประกันในกรณีที่ผู้ต้องหายังอยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนคือพนักงานสอบสวนมิใช่กรมตำรวจ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันย่อมเป็นการผิดสัญญาต่อพนักงานสอบสวนโดยตรง พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันได้ ทั้งอำนาจในการปล่อยชั่วคราวและทำสัญญาประกัน กฎหมายมอบให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวน มิได้มอบอำนาจให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นการส่วนตัว เงินค่าปรับตามสัญญาประกันจึงต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการมิได้ตกเป็นเงินส่วนตัวของร้อยตำรวจเอกป. การที่ร้อยตำรวจเอกป. ไม่อาจนำเงินดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวได้มิได้แสดงว่าร้อยตำรวจเอกป.ในฐานะพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้องผู้ผิดสัญญาประกันโจทก์ในฐานะพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษคดีขับรถประมาทและหลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
ป.วิ.อ. มาตรา 176, 194, 195พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 78, 160 ว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ซึ่งขับโดย ล.เป็นเหตุให้ ล.ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แล้วจำเลยหลบหนีไปไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที การที่จำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล.ถึงแก่ความตาย จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงว่าหลังจากจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ล.ขับ เป็นเหตุให้ ล.ได้รับบาดเจ็บแล้วจำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล.ถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคหนึ่ง จำคุก 4 เดือน สูงกว่าอัตราโทษจำคุกตามบทมาตราดังกล่าว จึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็น ให้ลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้บุคคลอื่นตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสองนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง มิใช่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 194

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษความผิดฐานขับรถโดยประมาทและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือ ศาลอุทธรณ์ปรับบทได้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78,160 ว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ซึ่งขับโดยล. เป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แล้วจำเลยหลบหนีไปไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที การที่จำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตาย จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงว่าหลังจากจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ล. ขับ เป็นเหตุให้ ล. ได้รับบาดเจ็บแล้วจำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคหนึ่ง จำคุก 4 เดือน สูงกว่าอัตราโทษจำคุกตามบทมาตราดังกล่าวจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็น ให้ลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้บุคคลอื่นตายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง มิใช่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 194

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษความผิดฐานไม่หยุดช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ: ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษถูกต้อง ไม่ถือเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกคำวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78,160 ว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ซึ่งขับโดยล. เป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา แล้วจำเลยหลบหนีไปไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที การที่จำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตาย จำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงว่าหลังจากจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ล. ขับ เป็นเหตุให้ ล. ได้รับบาดเจ็บแล้วจำเลยหลบหนีไปไม่ให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้ ล. ถึงแก่ความตายตามที่โจทก์ฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคหนึ่ง จำคุก 4 เดือน สูงกว่าอัตราโทษจำคุกตามบทมาตราดังกล่าวจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตามฟ้อง กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็น ให้ลงโทษจำเลยฐานไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือเป็นเหตุให้บุคคลอื่นตายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสอง นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง มิใช่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 194
of 26