คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนทร สิทธิเวชวิจิตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นและสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกแม้พ้นอายุความ
โจทก์ที่ 4 เป็นภรรยาเจ้ามรดกมาก่อนประกาศใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลย เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อปี 2503 โดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ที่ 4 และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสี่ว่าจำเลยไม่มีเจตนายึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแทนโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 การที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปออก น.ส.3 ในนามของจำเลยแต่ผู้เดียวโดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ทั้งสี่ จึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่อยู่ต่อไป เมื่อโจทก์ทั้งสี่ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 1754 บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ.มาตรา 1748 คดีจึงไม่ขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยไม่แจ้งเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ ยังมีสิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกได้ แม้พ้นอายุความ
โจทก์ที่ 4 เป็นภรรยาเจ้ามรดกมาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีบุตรด้วยกัน4 คน คือ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลย เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อปี 2503 โดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ โจทก์ที่ 4และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสี่ว่าจำเลยไม่มีเจตนายึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแทนโจทก์ทั้งสี่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 การที่ จำเลยนำที่ดินพิพาทไปออก น.ส.3 ในนามของจำเลยแต่ผู้เดียว โดยมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยัง โจทก์ทั้งสี่ จึงถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่อยู่ต่อไป เมื่อโจทก์ทั้งสี่ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 คดีจึง ไม่ขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับตามสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้
แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่ง หรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้ สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้น มิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่ง ในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วย ตามมาตรา 213 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับตามสัญญาและการเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้
แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่งหรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่าหากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้นมิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่งในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วยตามมาตรา 213 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 5 ปีหลังหมดกำหนด 2 ปี โดยการอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 นั้น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจเองนั้นจึงจะต้องกระทำภายใน 2 ปี แต่หากเป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว เจ้าพนักงานประเมินสามารถประเมินได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลา 2 ปี ตามมาตรา 88/6 วรรคหนึ่ง (1) (ก)สิ้นสุดลง
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวว่า อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร สามารถอนุมัติการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 88/6 (1) แห่ง ป.รัษฎากรได้หรือไม่ เพียงใด แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายเลื่อนคดีไปนัดฟังคำพิพากษา หลังจากมีคำสั่งเช่นนี้แล้วก็ไม่ปรากฏเลยว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางไว้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 16 วรรคท้าย คงเพิกเฉยเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว และการหยิบยกประเด็นข้อนี้มากล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ปิดคดี ไม่ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี โดยอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากร ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่เจ้าพนักงานจะประเมินภาษีโดยใช้อำนาจเองนั้นต้องกระทำภายใน 2 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88/6(1)(ก)แต่หากเป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือ ผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว เจ้าพนักงานประเมินสามารถประเมินได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลา 2 ปีตามมาตราดังกล่าวสิ้นสุดลง เมื่อคดีนี้เป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทน กรณีจึงสามารถประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีตามมาตรา 88/6 วรรคหนึ่ง (1)(ก) ได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีคือวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสองคดีนี้ต้องเริ่มนับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีมกราคม 2536 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมตามหนังสือแจ้งการประเมินและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 จึงยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 88/6 วรรคท้าย และเมื่อการประเมินให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีมกราคม 2536ยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปีแล้ว การประเมินให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมสำหรับทุกเดือนภาษีของปี 2536ก็ย่อมยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปีดังกล่าวด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว ในชั้นชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เลื่อนคดีไปนัดฟังคำพิพากษาซึ่งหลังจากมีคำสั่งเช่นนี้แล้วก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรพ.ศ. 2539 ข้อ 16 วรรคท้าย คงเพิกเฉยเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อพิพาทอื่นแล้วการหยิบยกประเด็นอื่นมากล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ปิดคดี ไม่ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: กรณีพิพาทคืนภาษี แม้ไม่ใช่การประเมิน ก็มีอำนาจฟ้องได้หากมีการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยตามแบบ ค.10 ที่จำเลยกำหนดไว้ แต่ต่อมาจำเลยพบว่าโจทก์ได้รับค่าภาษีอากร เกินไปจำนวน 5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่ง คืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมินก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบ ค.10 ให้ผิดไปตามแบบที่จำเลยกำหนด โดยจำเลยได้ทำการพิจารณา คำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่ง เงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของ โจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: การโต้แย้งสิทธิขอคืนภาษีอากรและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลย ต่อมาจำเลยได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนพบว่า โจทก์ได้รับค่าภาษีอากรเกินไปจำนวน5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่งคืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมิน แต่กรณีเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 (3)แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบค.10 โดยจำเลยได้ทำการพิจารณาคำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งเงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรแล้ว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิได้ออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการก่อน ถือเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ซึ่งไม่ต้องออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนก่อนนั้น เป็นการประเมินตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามแบบ แสดงรายการที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยื่นเสียภาษีอากรเท่านั้น ส่วนการประเมินตามมาตรา 19 และมาตรา 20 เป็นการประเมินหลังจากเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีต่อโจทก์โดยมิได้ออกหมายเรียก อ.ผู้ยื่นรายการ หรือโจทก์ ซึ่งเป็นทายาทของอ.มาไต่สวนก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ยื่นไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกผู้นั้นพร้อมทั้งสามีกับพวกมาตรวจสอบไต่สวน แล้วเชื่อว่าอ.ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง จึงได้ประเมินภาษีต่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของอ. เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยมิได้ประเมินจากรายการที่ปรากฏในแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2528ของอ.ที่ยื่นไว้ การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแต่เป็นการประเมินตามมาตรา 19 และ 20เมื่อมิได้มีการออกหมายเรียก อ.ผู้ยื่นรายการหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของอ.มาไต่สวนก่อน การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่มิได้เรียกผู้เสียภาษีมาไต่สวนก่อน เป็นการประเมินตามมาตรา 19/20 ไม่ใช่มาตรา 18
การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 ซึ่งไม่ต้องออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนก่อนนั้น เป็นการประเมินตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามแบบแสดงรายการที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยื่นเสียภาษีอากรเท่านั้น ส่วนการประเมินตามมาตรา 19 และมาตรา 20 เป็นการประเมินหลังจากเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีต่อโจทก์โดยมิได้ออกหมายเรียก อ. ผู้ยื่นรายการ หรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ.มาไต่สวนก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้อื่นไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกผู้นั้นพร้อมทั้งสามีกับพวกมาตรวจสอบไต่สวน แล้วเชื่อว่า อ.ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง จึงได้ประเมินภาษีต่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ. เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยมิได้ประเมินจากรายการที่ปรากฏในแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2528 ของ อ.ที่ยื่นไว้ การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการประเมินตามมาตรา 19 และ 20 เมื่อมิได้มีการออกหมายเรียก อ.ผู้ยื่นรายการหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ.มาไต่สวนก่อน การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงไม่ชอบ
of 26