คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ม. 86

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปลดข้าราชการชอบด้วยกฎหมาย มีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำผิด
ตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการสอบสวนทางวินัย ปรากฏว่าทางราชการได้ดำเนินการสืบสวน ความผิดของโจทก์ไปตามระเบียบและขั้นตอน ของกฎหมายเริ่มตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน หาข้อเท็จจริงคณะกรรมการได้สอบปากคำพยานบุคคล และเอกสารผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเห็นว่ามีมูลความจริงแล้ว จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ซึ่งคณะกรรมการ ก็ได้สอบสวนทั้งพยานบุคคลจำนวนหลายปากและพยานเอกสาร ได้ความสอดรับกันตั้งแต่ต้น แล้วจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ ออกจากราชการ เมื่อเป็นคำสั่งที่อาศัยผลจากการสอบสวน ทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่จำเลย ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันกัน ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการเรียกเอาทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหาแม้ต่อมาโจทก์จะได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการดังกล่าวก็มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสีย ดังนี้ ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นคำสั่งที่ปราศจากพยานหลักฐานที่จะยืนยันว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริงจึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปลดข้าราชการอาศัยผลการสอบสวนทางวินัยที่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ย่อมชอบด้วยกฎหมาย
ตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการสอบสวนทางวินัย ปรากฎว่าทางราชการได้ดำเนินการสืบสวนความผิดของโจทก์ไปตามระเบียบและขั้นตอนของกฎหมายเริ่มตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงคณะกรรมการได้สอบปากคำพยานบุคคลและเอกสารผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเห็นว่ามีมูลความจริงแล้ว จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ที่แก้ไขแล้ว แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ซึ่งคณะกรรมการก็ได้สอบสวนทั้งพยานบุคคลจำนวนหลายปากและพยานเอกสารได้ความสอดรับกันตั้งแต่ต้น แล้วจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ เมื่อเป็นคำสั่งที่อาศัยผลจากการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่จำเลยตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันกันว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการเรียกเอาทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหา แม้ต่อมาโจทก์จะได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการดังกล่าวก็มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสีย ดังนี้ ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายเพราะเป็นคำสั่งที่ปราศจากพยานหลักฐานที่จะยืนยันว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริงจึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อสินค้าไม่ตรงตามระเบียบ ราชการต้องรับผิดชอบหนี้, การรับสภาพหนี้ทำให้ขาดอายุความ
โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่า จำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในราชการเรียบร้อยแล้ว จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้ชัดแจ้งในฎีกาว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะตัวแทนจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามฟ้องฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อพัสดุของใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่ 1เมื่อปรากฏว่าการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้จัดซื้อการสั่งซื้อสินค้าของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นการสั่งการตามลำดับการบังคับบัญชาคือ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้างเป็นการทำแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ก็เท่ากับทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยของหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างแทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 จัดซื้อสินค้าเพื่อใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยใช้งบประมาณที่จำเลยที่ 1 จัดสรรมาให้เป็นรายปี ส่วนการที่จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จัดซื้อสินค้าโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 และระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้าง ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2528ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในวงราชการของจำเลยที่ 1ซึ่งผู้ปฏิบัติผิดระเบียบต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 1อีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากภาระที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 ก่อขึ้นแก่โจทก์ แม้หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อขาดอายุความไปแล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือรับว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 เดิมจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการหาอาจยกเหตุการขาดอายุความนั้นขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการและตัวแทนในการชำระหนี้จากการซื้อสินค้าของราชการ แม้มีอายุความแต่มีการรับว่าจะชำระหนี้
โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่า จำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในราชการเรียบร้อยแล้ว จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้ชัดแจ้งในฎีกาว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะตัวแทนจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามฟ้องฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจตระเวณชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อพัสดุของใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่ 1เมื่อปรากฏว่าการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้จัดซื้อการสั่งซื้อสินค้าของกองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดนที่ 32 เป็นการสั่งการตามลำดับการบังคับบัญชาคือ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้างเป็นการทำแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ดังนั้น การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ก็เท่ากับทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยของหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างแทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 จัดซื้อสินค้าเพื่อใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยใช้งบประมาณที่จำเลยที่ 1 จัดสรรมาให้เป็นรายปี ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จัดซื้อสินค้าโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 และระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้าง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2528 ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในวงราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้ปฏิบัติผิดระเบียบต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากภาระที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3ก่อขึ้นแก่โจทก์
แม้หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อขาดอายุความไปแล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือรับว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการหาอาจยกเหตุการขาดอายุความนั้นขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายอำเภอและการส่งเรื่องร้องเรียนต่อผู้ว่าฯ ไม่ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์เป็นกำนันปัญหาที่ว่าการที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้รับ หนังสือร้องเรียนจากราษฎรกล่าวหาว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ราษฎรที่ร้องเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือร้องเรียนจริงเป็นการละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้น โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวอย่างไร ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 157 อนึ่งหน้าที่ในการดำเนินการตามหนังสือร้องเรียนนั้นก็เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณาสั่งการต่อไปการที่จำเลยเสนอ หนังสือร้องเรียนโดยมิได้สืบสวนเรื่องภูมิลำเนาของผู้ร้องเรียนจึงเป็น การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ของนายอำเภอในการส่งต่อเรื่องร้องเรียนไปยังผู้ว่าฯ ไม่ถือเป็นการละเว้นหน้าที่ตาม ม.157
โจทก์เป็นกำนัน ปัญหาที่ว่าการที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้รับหนังสือร้องเรียนจากราษฎรกล่าวหาว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าราษฎรที่ร้องเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือร้องเรียนจริง เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้น โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวอย่างไร ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 157 อนึ่ง หน้าที่ในการดำเนินการตามหนังสือร้องเรียนนั้น ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณาสั่งการต่อไป การที่จำเลยเสนอหนังสือร้องเรียนโดยมิได้สืบสวนเรื่องภูมิลำเนาของผู้ร้องเรียน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่นายอำเภอในการเสนอเรื่องร้องเรียนต่อผู้ว่าฯ ไม่ถือเป็นการละเว้นหน้าที่ตามมาตรา 157
โจทก์เป็นกำนันปัญหาที่ว่าการที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้รับหนังสือร้องเรียนจากราษฎรกล่าวหาว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้วเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าราษฎรที่ร้องเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือร้องเรียนจริงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่นั้นโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่าจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับหนังสือร้องเรียนดังกล่าวอย่างไรซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามมาตรา157อนึ่งหน้าที่ในการดำเนินการตามหนังสือร้องเรียนนั้นก็เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณาสั่งการต่อไปการที่จำเลยเสนอหนังสือร้องเรียนโดยมิได้สืบสวนเรื่องภูมิลำเนาของผู้ร้องเรียนจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว.