พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841-1845/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าและค่าเสียหายหลังสัญญาเช่าช่วงระงับ การวินิจฉัยนอกประเด็น และผลของการสละสิทธิ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าที่โจทก์ได้เช่ามาจากเจ้าของเดิมและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้. พร้อมทั้งเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายที่จำเลยยังคงอยู่ต่อมาภายหลังที่ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว. จำเลยต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมระงับแล้ว และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบด้วยว่า. จำเลยไม่มีข้อผูกพันชำระค่าเช่ากับโจทก์ต่อไป. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง. ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นความจริงหรือไม่. หากเป็นความจริง โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายจากจำเลยได้เพียงไรหรือไม่. ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิม. ก็เพื่อนำมาซึ่งการวินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้นั่นเอง. จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น. และในการวินิจฉัยก็ฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น. ที่คู่ความตกลงอ้างร่วมกัน แม้จะเป็นคดีที่พิพาทกันเฉพาะห้องเลขที่ 21-23 ที่ใช้เป็นโรงแรมไทยอารีย์. ไม่รวมถึงห้องพิพาท. ศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงรวมไปถึงห้องชั้นล่างที่ให้เช่าช่วงคือห้องที่พิพาทกันในคดีนี้ด้วย.จึงไม่เป็นการวินิจฉัยโดยขาดพยานหลักฐาน.
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมได้ระงับไปตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม 2503 และจำเลยได้บอกเลิกการเช่ากับโจทก์แล้ว. สัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันระงับไป. แต่ค่าเช่าก่อนที่สัญญาเช่าช่วงระงับ จำเลยยังค้างชำระอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์. เพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ส่วนภายหลังต่อมาจากที่สัญญาเช่าช่วงระงับแล้ว คือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 เป็นต้นไปนั้น.จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนห้องพิพาทที่เช่าช่วงให้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 แต่จำเลยยังคงอยู่.ไม่ออกจากห้องพิพาท. และโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของเดิม คดีแดงที่ 192/2504 เดือนละ 360 บาท. เช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในอัตราเท่าค่าเช่าต่อไปจนถึงวันฟ้อง. ส่วนค่าเสียหายต่อจากวันฟ้องซึ่งคู่ความตกลงกันเดือนละ 25 บาทนั้น. จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์. เพราะโจทก์ได้แถลงไว้ว่า ถ้าคดีแดงที่192/2504 ถึงที่สุด ศาลพิพากษาขับไล่โจทก์. โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้บังคับขับไล่จำเลยในคดีนี้ คงขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่า. โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายได้หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า. ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์. โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่ภายหลังวันฟ้องนั้น. ไม่ใช่เป็นการอยู่โดยไม่ส่งมอบห้องพิพาทแก่โจทก์. โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายภายหลังจากวันฟ้อง.
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมได้ระงับไปตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม 2503 และจำเลยได้บอกเลิกการเช่ากับโจทก์แล้ว. สัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันระงับไป. แต่ค่าเช่าก่อนที่สัญญาเช่าช่วงระงับ จำเลยยังค้างชำระอยู่ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระแก่โจทก์. เพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ส่วนภายหลังต่อมาจากที่สัญญาเช่าช่วงระงับแล้ว คือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 เป็นต้นไปนั้น.จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนห้องพิพาทที่เช่าช่วงให้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 แต่จำเลยยังคงอยู่.ไม่ออกจากห้องพิพาท. และโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายให้เจ้าของเดิม คดีแดงที่ 192/2504 เดือนละ 360 บาท. เช่นนี้ จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในอัตราเท่าค่าเช่าต่อไปจนถึงวันฟ้อง. ส่วนค่าเสียหายต่อจากวันฟ้องซึ่งคู่ความตกลงกันเดือนละ 25 บาทนั้น. จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์. เพราะโจทก์ได้แถลงไว้ว่า ถ้าคดีแดงที่192/2504 ถึงที่สุด ศาลพิพากษาขับไล่โจทก์. โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้บังคับขับไล่จำเลยในคดีนี้ คงขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่า. โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายได้หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า. ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์. โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่ภายหลังวันฟ้องนั้น. ไม่ใช่เป็นการอยู่โดยไม่ส่งมอบห้องพิพาทแก่โจทก์. โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายภายหลังจากวันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินปลูกสร้างอาคาร: การตีความสิทธิการเช่าช่วงและการคุ้มครองผู้เช่าช่วง
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยจะเรียกชื่อว่าสัญญาเช่าที่ดินก็จริง แต่ความมุ่งหมายในการทำสัญญาเช่า คู่สัญญามีเจตนาที่จะให้ผู้เช่าทำการปลูกสร้างอาคารบนที่ดิน (สัญญาข้อ 1) เมื่อปลูกเสร็จแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของผู้ให้เช่าทันที (สัญญาข้อ 10) และสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "ห้ามมิให้ผู้เช่าเอาที่ดินไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วง ฯลฯ ผู้เช่าย่อมมีสิทธิจะอยู่อาศัยหรือทำการค้าหรือให้บุคคลอื่นเช่าช่วงในอาคารที่ปลูกสร้างลงในที่ดินได้เสมอ ดังนี้ ข้อสัญญาที่ให้อาคารซึ่งปลูกสร้างขึ้นตกเป็นของโจทก์ และโจทก์ยอมให้จำเลยให้เช่าช่วงอาคารนั้น ย่อมแสดงว่าสัญญาเช่านี้แท้จริงเป็นสัญญาให้เช่าที่ดินรวมทั้งอาคารที่ตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาข้อ 10 นั้นด้วย ฉะนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิเช่าได้เฉพาะที่ดินที่ปลูกตึกจึงขัดกับความในสัญญาข้อ 5 ที่ห้ามมิให้เช่าช่วงที่ดิน แต่ยอมให้เช่าช่วงอาคารได้ จำเลยร่วมผู้เช่าช่วงอาคารโดยชอบจึงหาได้อยู่ในฐานบริวารหรือผู้อาศัยของจำเลยไม่ เมื่อเป็นดังนี้ จำเลยร่วมมีข้อต่อสู้ที่จะคงอยู่ในอาคารประการใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องฟังคำพยานของคู่ความต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาสัญญาสัญญาเช่าที่ดินกับการให้เช่าอาคาร สิทธิของผู้เช่าช่วง
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยจะเรียกชื่อว่าสัญญาเช่าที่ดินก็จริง แต่ความมุ่งหมายในการทำสัญญาเช่าคู่สัญญามีเจตนาที่จะให้ผู้เช่าทำการปลูกสร้างอาคารบนที่ดิน (สัญญาข้อ 1) เมื่อปลูกเสร็จแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทันที (สัญญาข้อ 10) และสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า 'ห้ามมิให้ผู้เช่าเอาที่ดินไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วง ฯลฯผู้เช่าย่อมมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยหรือทำการค้าหรือให้บุคคลอื่นเช่าช่วงในอาคารที่ปลูกสร้างลงในที่ดินได้เสมอ' ดังนี้ ข้อสัญญาที่ให้อาคารซึ่งปลูกสร้างขึ้นตกเป็นของโจทก์ และโจทก์ยอมให้จำเลยให้เช่าช่วงอาคารนั้นย่อมแสดงว่าสัญญาเช่านี้แท้จริงเป็นสัญญาให้เช่าที่ดินรวมทั้งอาคารที่ตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาข้อ10 นั้นด้วย ฉะนั้นที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิให้เช่าได้เฉพาะที่ดินที่ปลูกตึกจึงขัดกับความในสัญญาข้อ 5 ที่ห้ามมิให้เช่าช่วงที่ดิน แต่ยอมให้เช่าช่วงอาคารได้ จำเลยร่วมผู้เช่าช่วงอาคารโดยชอบจึงหาได้อยู่ในฐานะบริวารหรือผู้อาศัยของจำเลยไม่เมื่อเป็นดังนี้ จำเลยร่วมมีข้อต่อสู้ที่จะคงอยู่ในอาคารประการใดก็เป็นเรื่องที่จะต้องฟังคำพยานของคู่ความต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินปลูกสร้างอาคาร: สิทธิการเช่าช่วงอาคารที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยจะเรียกชื่อว่าสัญญาเช่าที่ดินก็จริง. แต่ความมุ่งหมายในการทำสัญญาเช่า.คู่สัญญามีเจตนาที่จะให้ผู้เช่าทำการปลูกสร้างอาคารบนที่ดิน (สัญญาข้อ 1) เมื่อปลูกเสร็จแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทันที (สัญญาข้อ 10). และสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า 'ห้ามมิให้ผู้เช่าเอาที่ดินไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วง ฯลฯ. ผู้เช่าย่อมมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยหรือทำการค้าหรือให้บุคคลอื่นเช่าช่วงในอาคารที่ปลูกสร้างลงในที่ดินได้เสมอ.' ดังนี้ ข้อสัญญาที่ให้อาคารซึ่งปลูกสร้างขึ้นตกเป็นของโจทก์ และโจทก์ยอมให้จำเลยให้เช่าช่วงอาคารนั้น. ย่อมแสดงว่าสัญญาเช่านี้แท้จริงเป็นสัญญาให้เช่าที่ดินรวมทั้งอาคารที่ตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาข้อ10 นั้นด้วย. ฉะนั้นที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิให้เช่าได้เฉพาะที่ดินที่ปลูกตึกจึงขัดกับความในสัญญาข้อ 5.ที่ห้ามมิให้เช่าช่วงที่ดิน. แต่ยอมให้เช่าช่วงอาคารได้. จำเลยร่วมผู้เช่าช่วงอาคารโดยชอบจึงหาได้อยู่ในฐานะบริวารหรือผู้อาศัยของจำเลยไม่. เมื่อเป็นดังนี้ จำเลยร่วมมีข้อต่อสู้ที่จะคงอยู่ในอาคารประการใด. ก็เป็นเรื่องที่จะต้องฟังคำพยานของคู่ความต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781-782/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างและการเช่าช่วง: สิทธิของผู้เช่าเมื่อเจ้าของที่ดินอ้างกรรมสิทธิ์
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกตึกให้คนเช่า โดยตกลงว่าจะยกกรรมสิทธิ์ในตึกแถวที่สร้างขึ้นให้เป็นของโจทก์ทันทีเมื่อสร้างเสร็จ โจทก์ทำสัญญายอมให้จำเลยจัดหาคนเช่าโดยโจทก์คิดค่าเช่าเป็นรายเดือนจากจำเลย โจทก์จึงเป็นทั้งเจ้าของที่ดินและตึกพิพาท การที่โจทก์ทำสัญญายินยอมให้จำเลยเอาตึกพิพาทให้ผู้อื่นเช่าฐานะของผู้เช่าจึงเป็นผู้เช่าช่วงตึกพิพาทโดยชอบ โจทก์จึงไม่อาจขับไล่ผู้เช่าในฐานะบริวารของจำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 1984/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781-782/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้าง, สัญญาเช่าช่วง, การขับไล่บริวาร: เจ้าของที่ดินมีสิทธิขับไล่ผู้เช่าช่วงได้หรือไม่
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกตึกให้คนเช่า โดยตกลงว่าจะยกกรรมสิทธิ์ในตึกแถวที่สร้างขึ้นให้เป็นของโจทก์ทันทีเมื่อสร้างเสร็จ โจทก์มาทำสัญญายอมให้จำเลยจัดหาคนเช่าโดยโจทก์คิดค่าเช่าเป็นรายเดือนจากจำเลย โจทก์จึงเป็นทั้งเจ้าของที่ดินและตึกพิพาท การที่โจทก์ทำสัญญายินยอมให้จำเลยเอาตึกพิพาทให้ผู้อื่นเช่า ฐานะของผู้เช่าจึงเป็นผู้เช่าช่วงตึกพิพาทโดยชอบ โจทก์จึงไม่อาจขับไล่ผู้เช่าในฐานะบริวารของจำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 1984/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166-1168/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัศดุ: สิทธิของโจทก์สิ้นสุดเมื่อสัญญาเช่าที่ดินสิ้นสุด
ในฟ้องโจทก์ระบุไว้ชัดว่า ห้องพิพาทเป็นของโจทก์ ไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิทธิอื่น เป็นการยืนยันว่ามีอำนาจให้เช่าเพราะโจทก์เป็นเจ้าของแต่อย่างเดียวจำเลย จึงชอบที่จะยกข้อที่ว่าห้องพิพาทตกเป็นของราชพัศดุแล้ว ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจให้เช่าขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
ว.เช่าที่ดินราชพัศดุมาเพื่อปลูกสร้างอาคารให้เช่า โดยมีข้อตกลงในสัญญาว่า เมื่อสัญญาสิ้นกำหนดแล้ว บรรดาสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของรัฐบาลทั้งสิ้น โจทก์เช่าช่วงที่ดินที่ ว.เช่ามาจากทางราชการนั้นอีกต่อหนึ่งแล้วปลูกสร้างห้องพิพาทขึ้นให้จำเลยเช่า สัญญาเช่าที่ดินราชพัศดุระหว่าง ว.กับทางราชการสิ้นกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2506 โจทก์ทราบถึงข้อตกลงสัญญาระหว่าง ว.กับทางราชการดี และรู้ล่วงหน้าตามข้อสัญญาแล้วว่าโจทก์จะมีอำนาจให้เช่าได้ภายในกำหนดเวลาเพียงเท่าที่ ว.จะพึงมีตามสัญญาเช่าจากทางราชการ และอาคารที่ ว.ปลูกสร้างลงในที่พิพาทจะตกเป็นของราชพัศดุเมื่อสิ้นกำหนดสัญญาเช่าด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ปลูกสร้างห้องพิพาทก็ตาม ก็ปลูกโดยสวมสิทธิ ว. ต้องอยู่ในบังคับแห่งสัญญาระหว่าง ว. กับทางราชการด้วย เมื่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่าง ว. กับทางราชการสิ้นกำหนด และทางราชการได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทก็ตกเป็นของราชพัศดุตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 ว. หมดสิทธิในที่พิพาท กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทและอำนาจการให้เช่าของโจทก์ก็สิ้นสุดลงด้วย
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20-23/2509)
ว.เช่าที่ดินราชพัศดุมาเพื่อปลูกสร้างอาคารให้เช่า โดยมีข้อตกลงในสัญญาว่า เมื่อสัญญาสิ้นกำหนดแล้ว บรรดาสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของรัฐบาลทั้งสิ้น โจทก์เช่าช่วงที่ดินที่ ว.เช่ามาจากทางราชการนั้นอีกต่อหนึ่งแล้วปลูกสร้างห้องพิพาทขึ้นให้จำเลยเช่า สัญญาเช่าที่ดินราชพัศดุระหว่าง ว.กับทางราชการสิ้นกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2506 โจทก์ทราบถึงข้อตกลงสัญญาระหว่าง ว.กับทางราชการดี และรู้ล่วงหน้าตามข้อสัญญาแล้วว่าโจทก์จะมีอำนาจให้เช่าได้ภายในกำหนดเวลาเพียงเท่าที่ ว.จะพึงมีตามสัญญาเช่าจากทางราชการ และอาคารที่ ว.ปลูกสร้างลงในที่พิพาทจะตกเป็นของราชพัศดุเมื่อสิ้นกำหนดสัญญาเช่าด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ปลูกสร้างห้องพิพาทก็ตาม ก็ปลูกโดยสวมสิทธิ ว. ต้องอยู่ในบังคับแห่งสัญญาระหว่าง ว. กับทางราชการด้วย เมื่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่าง ว. กับทางราชการสิ้นกำหนด และทางราชการได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทก็ตกเป็นของราชพัศดุตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 ว. หมดสิทธิในที่พิพาท กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทและอำนาจการให้เช่าของโจทก์ก็สิ้นสุดลงด้วย
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20-23/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045-1049/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าและผลกระทบเมื่อผู้โอนผิดสัญญาเช่าเดิม ผู้รับเช่ามีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าล่วงหน้าคืนได้
การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้เช่าอยู่ ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 นั้น ผู้โอนต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและโอนกรรมสิทธิ์ในขณะที่มีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ด้วย ผู้รับโอนจึงจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านั้น
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึก และให้ตึกตกเป็นของเจ้าของที่ดินตั้งแต่สร้างตึกเสร็จ โดยจำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้นั้น เมื่อจำเลยทำผิดสัญญาจนเจ้าของที่ดินใช้สิทธิเข้าครอบครองตีกเสียแล้ว เจ้าของที่ดินจึงหาใช่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 569 ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิที่จะให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากตึกที่เช่าอันเป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าไปแล้วคืนจากจำเลยได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2507)
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึก และให้ตึกตกเป็นของเจ้าของที่ดินตั้งแต่สร้างตึกเสร็จ โดยจำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้นั้น เมื่อจำเลยทำผิดสัญญาจนเจ้าของที่ดินใช้สิทธิเข้าครอบครองตีกเสียแล้ว เจ้าของที่ดินจึงหาใช่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 569 ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิที่จะให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากตึกที่เช่าอันเป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าไปแล้วคืนจากจำเลยได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045-1048/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัญญาเช่าอยู่ การรับโอนสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนเมื่อผู้โอนหมดสิทธิในทรัพย์สิน
การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้เช่าอยู่ ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 นั้น ผู้โอนต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และโอนกรรมสิทธิ์ในขณะที่มีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ด้วย ผู้รับโอนจึงจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านั้น
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึกและให้ตึกตกเป็นของเจ้าของที่ดิน ตั้งแต่สร้างตึกเสร็จโดยจำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้นั้นเมื่อจำเลยทำผิดสัญญา จนเจ้าของที่ดินใช้สิทธิเข้าครอบครองตึกเสียแล้ว เจ้าของที่ดินจึงหาใช่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 569 ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิที่จะให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากตึกที่เช่าอันเป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าไปแล้วคืนจากจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2507)
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึกและให้ตึกตกเป็นของเจ้าของที่ดิน ตั้งแต่สร้างตึกเสร็จโดยจำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้นั้นเมื่อจำเลยทำผิดสัญญา จนเจ้าของที่ดินใช้สิทธิเข้าครอบครองตึกเสียแล้ว เจ้าของที่ดินจึงหาใช่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 569 ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิที่จะให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากตึกที่เช่าอันเป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าไปแล้วคืนจากจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าและสิทธิของผู้เช่าช่วงเมื่อผู้ให้เช่าเดิมโอนสิทธิ ผู้เช่าช่วงยังผูกพันตามสัญญาเดิม
ผู้เช่าช่วงเช่าห้องพิพาทจากผู้เช่าเดิมโดยมีสัญญาเช่าต่อกัน ต่อมาผู้เช่าเดิมโอนสิทธิการเช่าตามสัญญานั้นให้แก่โจทก์ โดยเจ้าของห้องพิพาทยินยอมด้วย ดังนี้ โจทก์ย่อมเข้าสวนสิทธิเป็นผู้ให้เช่าแทนผู้เช่าเดิม ส่วนผู้เช่าช่วงก็ยังคงผูกพันเป็นผู้เช่าและมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าตามสัญญาเช่านั้นให้แก่โจทก์ เมื่อผู้เช่าช่วงไม่ชำระค่าเช่าให้โจกท์ โจทก์ย่อมอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่านั้น ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทได้ โดยไม่จำต้องเรียกเจ้าของห้องพิพาทเข้ามาเป็นโจกท์ร่วมด้วย