คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. ตาราง 5 ข้อ 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์สินผิดพลาด ผู้ขออายัดต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม แม้บัญชีไม่ใช่ของจำเลย
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งอายัดไปยังธนาคารแล้ว แม้ก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดดังกล่าวจะไปถึงธนาคาร โจทก์ทราบว่าเงินฝากที่โจทก์ขออายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลย แต่มีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลย โจทก์จึงขอให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อนโดยโจทก์จะไประงับการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำร้องและฎีกาก็ตาม แต่ก็ปรากฎตามคำร้องของโจทก์เองว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้ว ทั้งตามคำร้องของโจทก์ก็ไม่ปรากฎว่า ขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้น ธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ถอนการอายัดเสียก่อนที่หนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปถึงธนาคาร จึงเป็นการกล่าวอ้างนอกเหนือจากที่กล่าวในคำร้อง ไม่อาจรับฟังได้ กรณีต้องถือว่าได้มีการอายัดโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 311 เมื่อโจทก์ถอนการอายัดจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ตามตาราง 5(4) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่ปรากฎว่าบัญชีเงินฝากที่อายัดนั้นไม่ใช่ของจำเลยและธนาคารมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบภายหลังที่ได้รับหนังสืออายัดแล้ว โจทก์จะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่ หากโจทก์ผู้ขออายัดไม่ชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมอายัดทรัพย์สิน - แม้จะถอนอายัดก่อนถึงมือธนาคาร แต่เมื่อมีการอายัดตามกฎหมายแล้ว ผู้ขออายัดต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากไปยังธนาคารก่อนที่หนังสือแจ้งอายัดจะไปถึงธนาคาร โจทก์ได้ทราบว่าเงินฝากนั้นไม่ใช่ของจำเลยเนื่องจากมีชื่อและนามสกุลพ้องกันกับของจำเลยโจทก์จึงให้ธนาคารงดการอายัดไว้ก่อน โจทก์ยื่นคำร้องถอนการอายัดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดไปยังธนาคารแล้ว และไม่ปรากฎว่าขณะที่โจทก์ขอถอนการอายัดนั้นธนาคารยังมิได้รับหนังสืออายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแต่อย่างใดถือว่าได้มีการอายัดไว้โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 เมื่อโจทก์ถอนการอายัดโจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอายัดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากโจทก์ไม่ชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การจ่ายเงินที่อายัดถือเป็นการ 'จำหน่าย' ตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินซึ่งจำเลยได้รับชำระหนี้ในคดีอื่นไว้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไป ต้องคิดค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง 5 ข้อ 2 ท้าย ป.วิ.พ. คำว่า "จำหน่าย"หามีความหมายเพียงการขายอย่างเดียวไม่ แต่ยังหมายถึง "จ่าย แจกแลกเปลี่ยน เอาออกใช้หรือให้" ด้วย การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นการจำหน่ายเงินที่อายัดแล้ว".