คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 94 (ข)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ การหักชำระดอกเบี้ยออกจากต้นเงิน และการนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้นไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) เมื่อปรากฏว่าจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้โจทก์ไปแล้ว มีจำนวนสูงกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้ตามสัญญากู้และสัญญาจำนอง จึงต้องนำส่วนที่เกินไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา329 วรรคแรก และเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องคิดยอดเงินมาให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์คิดยอดหนี้มาไม่ถูกต้อง จึงชอบที่จะยกฟ้องแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นฟ้องใหม่ภายในอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบชำระหนี้ – ดอกเบี้ยเกินอัตรา – นำไปชำระต้นเงินได้ – มาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้นไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงนำสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองชำระให้โจทก์สูงกว่าดอกเบี้ยจากต้นเงินตามสัญญากู้และสัญญาจำนองนับแต่วันกู้ยืมมาจนถึงวันฟ้องเงินส่วนที่ชำระดอกเบี้ยซึ่งเกินดังกล่าวต้องนำไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงินชำระหนี้ การสืบพยานหลักฐานเพื่ออธิบายความหมายของเอกสาร และการพิสูจน์การชำระหนี้
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้างการนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4243/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงิน การสืบอธิบายความหมายเอกสารไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
ใบเสร็จรับเงินที่ออกในการรับชำระหนี้กู้ยืมเงินระบุแต่เพียงว่าได้รับเงิน โดยไม่ระบุแยกแยะว่าเป็นเงินอะไรบ้าง การนำสืบความหมายของใบเสร็จดังกล่าวว่าเป็นการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดสามารถทำได้ เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในเอกสาร มิใช่สืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การนำสืบผู้ให้กู้, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
หลักฐานแห่งการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 ต้องมีสาระสำคัญให้เห็นว่า มีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอ ไม่ได้บังคับว่าต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ด้วยหรือหากไม่ระบุลงไว้จะต้องถือว่าไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อเอกสารพิพาทระบุว่าจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ยืมเงินจำนวนเงินและวันเดือนปี แม้มิได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ก็ตาม ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินแล้ว และโจทก์มีสิทธินำสืบได้ว่าผู้ให้กู้คือโจทก์ได้ไม่เป็นการสืบเพิ่มเติมเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข) หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์มีสิทธิทวงถามได้โดยพลันตามป.พ.พ. มาตรา 203 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใดจึงถือว่าจำเลยผิดนัดในวันฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5951/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, หนังสือมอบอำนาจ, น้ำหนักสินค้า, การชั่งน้ำหนัก, สัญญาซื้อขาย
โจทก์มี น. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มาเบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจเอกสารแสดงฐานะการเป็นนิติบุคคลของโจทก์และหนังสือรับรองลายมือชื่อโดยโนตารีปับลิก และกงสุลไทยประจำเมืองที่มีการทำหนังสือมอบอำนาจว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. ดำเนินคดีแทนในประเทศไทย จำเลยไม่นำสืบหักล้าง โจทก์จึงไม่จำต้องนำกรรมการผู้มอบอำนาจของโจทก์มาเบิกความประกอบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. ดำเนินคดีแทนในประเทศไทยแล้ว และหนังสือมอบอำนาจไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร การนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับน้ำหนักเหล็กแผ่นพิพาทว่า มีน้ำหนักแตกต่างไปจากน้ำหนักที่ระบุในใบแจ้งราคาเบื้องต้นของเหล็กแผ่น ซึ่งมีรายละเอียดระบุในเอกสารนั้นว่ารายละเอียดต่าง ๆ เช่น น้ำหนัก ราคาเป็นเพียงการประมาณเอาเท่านั้น น้ำหนักแท้จริงน้ำหนักแน่นอนจะแจ้งหนี้ครั้งสุดท้าย ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าทั้งปริมาณและราคายังมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว ดังนั้น การสืบพยานโจทก์จึงไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้าน - วัตถุประสงค์ของสัญญา - การผิดสัญญา - สิทธิเลิกสัญญา - การคืนเงิน
การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายบ้านพิพาทกับจำเลยแต่ความประสงค์แท้จริงของโจทก์ทั้งสองก็เพื่อจะซื้อบ้านพิพาทให้ อ. บุตรโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยนำสืบถึงวัตถุประสงค์ของโจทก์ในการทำสัญญา มิใช่นำสืบว่ามีข้อตกลงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากสัญญาอันจะเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้โดยใช้เงินกู้จากธนาคาร และผลของการไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง
บ.เป็นหนี้โจทก์ บ.ได้จำนองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ บ.ต่อโจทก์ ขณะเดียวกัน บ.ก็เป็นหนี้ ล.บิดาภรรยาจำเลย แต่ไม่มีหลักประกันใด โจทก์ จำเลย บ.และ ล.ตกลงกันที่จะเอาเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ โดยให้โจทก์ยอมให้ บ.จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองก่อนแล้ว บ.ขายที่ดินดังกล่าวของ บ.ให้โจทก์ โจทก์ขายที่ดินนั้นให้จำเลย จำเลยนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองต่อธนาคารเพื่อนำเงินมาใช้หนี้แทน บ.ให้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงประเภทหนึ่งใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์กระทำการตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยไม่สามารถนำเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามที่ตกลงกัน เมื่อจำเลยยังไม่ชำระเงินให้โจทก์ โจทก์จึงยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยไว้ได้ตามที่จำเลยตกลงให้โจทก์เก็บไว้เพื่อรอให้จำเลยนำเงินไปชำระหนี้เก่าของจำเลยที่มีต่อธนาคารก่อน เมื่อจำเลยชำระหนี้แล้ว โจทก์ยอมส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวคืนให้จำเลยได้
การที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งระหว่างโจทก์ จำเลย บ. และ ล.ต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินกันอย่างไรจึงหาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาซื้อขายที่ดินที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระราคาที่ดินให้โจทก์แล้วไม่ โจทก์ย่อมนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดินพร้อมจำนอง และการชำระหนี้แทนกัน โจทก์มีสิทธิยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้
บ. เป็นหนี้โจทก์ บ. ได้จำนองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ บ. ต่อโจทก์ ขณะเดียวกัน บ.ก็เป็นหนี้ล. บิดาภรรยาจำเลย แต่ไม่มีหลักประกันใด โจทก์ จำเลย บ. และล. ตกลงกันที่จะเอาเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ โดยให้โจทก์ยอมให้ บ. จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองก่อนแล้ว บ. ขายที่ดินดังกล่าวของ บ. ให้โจทก์ โจทก์ขายที่ดินนั้นให้จำเลย จำเลยนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองต่อธนาคารเพื่อนำเงินมาใช้หนี้แทน บ. ให้โจทก์ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงประเภทหนึ่งใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์กระทำการตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยไม่สามารถนำเงินจากธนาคารมาชำระหนี้โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามที่ตกลงกันเมื่อจำเลยยังไม่ชำระเงินให้โจทก์ โจทก์จึงยึดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยไว้ได้ตามที่จำเลยตกลงให้โจทก์เก็บไว้เพื่อรอให้จำเลยนำเงินไปชำระหนี้เก่าของจำเลยที่มีต่อธนาคารก่อนเมื่อจำเลยชำระหนี้แล้ว โจทก์ยอมส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวคืนให้จำเลยได้ การที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงอีกส่วนหนึ่งระหว่างโจทก์ จำเลยบ. และ ล. ต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินกันอย่างไร จึงหาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาซื้อขายที่ดินที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระราคาที่ดินให้โจทก์แล้วไม่ โจทก์ย่อมนำสืบได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่มีมูลหนี้เนื่องจากเกิดจากการหลอกลวง สัญญาเป็นโมฆะและไม่ต้องชำระหนี้
จำเลยทั้งสามนำสืบว่า ป. สามีโจทก์หลอกลวง บ. บุตรจำเลยที่ 1 ส.หลานจำเลยที่2พ. บุตรจำเลยที่ 3 กับพวกรวม 8 คนว่าสามารถจัดส่งบุคคลทั้งแปดไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้โดยเรียกเงินจากบุคคลทั้งแปดคนละ 52,000 บาท บ. ส.และพ.มีเงินให้ ป. ไม่ถึงคนละ 52,000 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ให้โจทก์ยึดถือไว้โดยมิได้รับเงินจากโจทก์เลย เมื่อปรากฏในภายหลังว่าความจริง ป. ไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศดังกล่าวตามที่อวดอ้างได้ จำเลยทั้งสามจึงขอให้โจทก์คืนหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและโฉนดที่ดินที่มอบให้โจทก์ไว้เป็นประกัน แต่โจทก์ไม่ยอมคืนให้ดังนี้นอกจากจะเป็นการนำสืบถึงที่มาหรือมูลเหตุแห่งการทำสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องแล้ว ยังเป็นการนำสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีมูลหนี้เป็นสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ มิใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับว่าจะต้องมีมาแสดง จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).
of 18