คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 94 (ข)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3359/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เพื่อชำระหนี้ทดรองจ่าย: เจตนาคือการระงับหนี้เดิมด้วยการกู้เงิน
สัญญากู้มีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ทดรองจ่ายเงินในการซื้อขายหุ้นให้จำเลย การที่โจทก์ออกเช็คให้จำเลยและจำเลยสลักหลังคืนแก่โจทก์เป็นวิธีการชำระหนี้เงินทดรองที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปในการซื้อหุ้นเท่านั้น เจตนาอันแท้จริงเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงระงับหนี้เงินทดรองที่โจทก์จ่ายไปโดยวิธีให้จำเลยกู้เงินโจทก์ใช้หนี้ จำนวนเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายแก่จำเลยตามสัญญากู้ก็คือจำนวนเงินที่โจทก์นำไปชำระหนี้เงินทดรองจ่ายนั่นเอง เมื่อปรากฏว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ดังกล่าว และโจทก์ได้นำจำนวนเงินตามสัญญากู้ไปชำระหนี้เงินทดรองจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้นั้น จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3359/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เพื่อชำระหนี้ทดรองจ่าย: เจตนาแท้จริงคือการระงับหนี้เดิม
สัญญากู้มีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ทดรองจ่ายเงินในการซื้อขายหุ้นให้จำเลย การที่โจทก์ออกเช็คให้จำเลยและจำเลยสลักหลังคืนแก่โจทก์เป็นวิธีการชำระหนี้เงินทดรองที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปในการซื้อหุ้นเท่านั้น เจตนาอันแท้จริงเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงระงับหนี้เงินทดรองที่โจทก์จ่ายไปโดยวิธีให้จำเลยกู้เงินโจทก์ใช้หนี้ จำนวนเงินที่โจทก์จะต้องจ่ายแก่จำเลยตามสัญญากู้ก็คือจำนวนเงินที่โจทก์นำไปชำระหนี้เงินทดรองจ่ายนั่นเอง เมื่อปรากฏว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ดังกล่าว และโจทก์ได้นำจำนวนเงินตามสัญญากู้ไปชำระหนี้เงินทดรองจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้นั้น จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า: การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวในนามของตนเองเป็นผู้เช่าจากโจทก์จำเลยและจำเลยร่วมจะนำสืบพยานบุคคลว่าที่จำเลยลงชื่อในสัญญาเช่าเป็นการกระทำแทนจำเลยร่วม จำเลยเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยร่วมไม่ได้เพราะเท่ากับนำสืบว่าความจริงจำเลยไม่ใช่ผู้เช่า แต่จำเลยร่วมเป็นผู้เช่า จึงเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาเช่า: ข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวในนามของตนเองเป็นผู้เช่าจากโจทก์จำเลยและจำเลยร่วมจะนำสืบพยานบุคคลว่าที่จำเลยลงชื่อในสัญญาเช่าเป็นการกระทำแทนจำเลยร่วม จำเลยเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยร่วมไม่ได้เพราะเท่ากับนำสืบว่าความจริงจำเลยไม่ใช่ผู้เช่า แต่จำเลยร่วมเป็นผู้เช่า จึงเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบพยานหักล้างข้ออ้างเรื่องการถูกข่มขู่ในการทำสัญญา การพิสูจน์การส่งมอบเงินตามสัญญากู้
ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้อ้างว่าจำเลยกู้เงินไปแล้วไม่ชำระ จำเลยให้การว่าสัญญากู้รายพิพาทเกิดจากโจทก์ขู่เข็ญให้ทำ จำเลยไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้สัญญากู้จึงไม่สมบูรณ์ จำเลยมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบหักล้างได้ ไม่ถือว่าเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินและข้อตกลงเพิ่มเติม การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินรายพิพาทโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ แม้มีการวางมัดจำด้วยการวางมัดจำก็เป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ตกลงทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงด้วยวาจาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาที่ทำไว้ต่อกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมทางหลวงในทุกประการเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขออนุญาตทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินรายพิพาทต่ออธิบดีกรมทางหลวง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังที่โจทก์กล่าวอ้างดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินรายนี้ตามสัญญาจะซื้อขายต่ออธิบดีกรมทางหลวงตามแบบพิมพ์ของกรมทางหลวง แม้จำเลยจะได้แก้ไขข้อความตามแบบพิมพ์นั้น จนเป็นเหตุให้กรมทางหลวงไม่อนุญาตให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมรายนี้ ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้ขายที่จะกระทำได้โดยชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมบริษัท, เพิกถอนใบอนุญาต, การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี, สัญญาเช่าซื้อ, และการชดใช้ค่าเสียหาย
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมบริษัทโจทก์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 โดยกรรมการบางคนเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย และบางคนเป็นข้าราชการกระทรวงการคลังไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา 22(7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ตั้งหรือยอมให้ข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทเงินทุนหรือพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการหรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัทเงินทุนนั้นเพราะบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงการห้ามมิให้บริษัทเงินทุนตั้งหรือยินยอมให้บุคคลดังกล่าวทำหน้าที่ในบริษัทของตนเองโดยตรง หาได้เกี่ยวกับกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้อำนาจในการควบคุมบริษัท การเพิกถอนใบอนุญาตและการเลิกบริษัทตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 และในหมวด 5 ดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามตั้งบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 22 เป็นกรรมการควบคุมบริษัทที่ถูกควบคุมแต่ประการใด คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 87เป็นบทบัญญัติบังคับให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามมาตรา 80 เลิกประกอบกิจการที่มาตรา 43(6) บัญญัติห้ามไว้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวประกอบกิจการที่ต้องห้ามต่อไปได้อีก 1 ปี ไม่ ฉะนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของโจทก์แล้ว อำนาจหรือสิทธิในการประกอบธุรกิจที่ต้องห้ามย่อมสิ้นสุดไปด้วยโดยอัตโนมัติ
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์ชุดแรกและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 สืบแทนผู้ชำระบัญชีคณะเดิมต่อไป แสดงว่าเป็นการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ให้ปฏิบัติหน้าที่ติดต่อไปในทันทีนั่นเอง แม้จะมีการจดทะเบียนคณะผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2ภายหลังการฟ้องคดีนี้ ก็หาทำให้กิจการที่ผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ปฏิบัติไปแล้วต้องเสียไปไม่ เพราะการจดทะเบียนผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1254 เป็นเพียงพิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไปไม่ ผู้ชำระบัญชีสองคนซึ่งเป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งทนายให้ฟ้องคดีนี้แม้จะมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนไปพร้อมกับผู้ชำระบัญชีอื่นในชุดแรก แต่ทั้งสองคนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ในชุดที่ 2 การแต่งทนายให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 บังคับให้ทำเป็นหนังสือและมีข้อความในสัญญาเช่าซื้อระบุจำนวนเงินและเวลาที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อไว้ชัดแจ้งโดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเกิดจากการแสดงเจตนา ลวงของโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะบังคับตามสัญญาไม่ได้ จำเลยที่ 1 จะนำสืบว่ามี ข้อตกลงนอกเหนือไปจากสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์ กับสืบถึงเจตนาและความประสงค์ของคู่สัญญาที่แตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อ แม้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 94(ข)
เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพรถยนต์ที่เช่าซื้อและพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยคำนวณเป็นรายเดือนเพียง 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีผลเมื่อบัญชีผู้สั่งจ่ายปิดก่อนเรียกเก็บ แม้ฟ้องตามเช็คได้ ผู้สั่งจ่ายจำกัดความรับผิดตามมูลหนี้จริง
ในกรณีฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้ธนาคารจะได้เรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็ค หากบัญชีของผู้สั่งจ่ายได้ปิดไปก่อนที่ธนาคารเรียกเก็บเงินแล้ว ก็เป็นอันว่าเช็คนั้นไม่มีผลเป็นการชำระหนี้ได้ ไม่จำต้องนำเช็คไปยื่นเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินซ้ำอีกในกรณีเช่นนี้ผู้ทรงเช็คย่อมนำเช็คมาฟ้องร้องผู้สั่งจ่ายเช็คให้รับผิดในทางแพ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 และ 989
จำเลยต่อสู้คดีว่าเช็คตามฟ้อง 400,000 บาท มีมูลหนี้จากการกู้เงินเพียง 100,000 บาท เป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับมูลหนี้ตามเช็คระหว่างจำเลยซึ่งเป็นผู้ออกเช็คกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ชอบที่จะให้จำเลยนำสืบตามข้อต่อสู้ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2589/2522)
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 400,000 บาท โดยมีมูลหนี้เพียง 100,000 บาท จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงจำนวนเงินตามมูลหนี้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีผลผูกพันหากบัญชีปิดก่อนเรียกเก็บเงิน ผู้ทรงเช็คฟ้องได้ แม้มีข้อโต้แย้งมูลหนี้
ในกรณีฟ้องเรียกเงินตามเช็ค แม้ธนาคารจะได้เรียกเก็บเงินตามเช็คก่อนวันที่ลงในเช็ค หากบัญชีของผู้สั่งจ่ายได้ปิดไปก่อนที่ธนาคารเรียกเก็บเงินแล้ว ก็เป็นอันว่าเช็คนั้นไม่มีผลเป็นการชำระหนี้ได้ไม่จำต้องนำเช็คไปยื่นเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงินซ้ำอีกในกรณีเช่นนี้ผู้ทรงเช็คย่อมนำเช็คมาฟ้องร้องผู้สั่งจ่ายเช็คให้รับผิดในทางแพ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 และ 989
จำเลยต่อสู้คดีว่าเช็คตามฟ้อง 400,000 บาท มีมูลหนี้จากการกู้เงินเพียง 100,000 บาท เป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับมูลหนี้ตามเช็คระหว่างจำเลยซึ่งเป็นผู้ออกเช็คกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ชอบที่จะให้จำเลยนำสืบตามข้อต่อสู้ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2589/2522)
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 400,000 บาท โดยมีมูลหนี้เพียง 100,000 บาท จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงจำนวนเงินตามมูลหนี้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3910/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับตามสัญญาต่างตอบแทน และผลของการผิดสัญญา
แม้สัญญาเอกสารหมาย ล.3 ข้อ 10 ระบุไว้ว่า "ข้อตกลงใดที่กระทำด้วยวาจานอกเหนือจากที่บันทึกไว้แล้วนี้ต่อหน้านายพิเชษฐพันธุ์วิชาติกุล ทนายความ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้มอบให้เป็นผู้ดำเนินการประนีประนอมจนเกิดเป็นข้อตกลงนี้ทั้งหมด ให้นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุลเป็นผู้ชี้ขาด" แต่เมื่อสัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลย อันมีผลให้โจทก์จำเลยต่างได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาดังกล่าว ดังนั้นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วยวาจาอย่างใดที่มิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญานี้คู่ความจะนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (ข)
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่สัญญาจำต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาที่ระบุไว้ทุกข้อ อันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นเมื่อฝ่ายหนึ่งยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญา ก็จะหยิบยกข้อตกลงเฉพาะข้อหนึ่งข้อใดมาบังคับเอากับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวหาได้ไม่
of 18