คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 94 (ข)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9866/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมที่ไม่ได้ระบุดอกเบี้ย การนำสืบพยานบุคคลขัดมาตรา 94(ข) ป.วิ.พ. ศาลจำกัดดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาท ขึ้นไป กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อสัญญากู้ไม่ได้ระบุข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงต้องฟังว่าสัญญากู้ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาเบิกความว่าสัญญากู้เงินมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร คำพยานของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 94 (ข) แห่ง ป.วิ.พ. โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
บันทึกข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ตามเอกสารแนบท้ายฎีกานั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ใน ความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่โจทก์นำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8811/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นจะขายที่ดินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับฟังพยานบุคคลถูกจำกัดหากไม่มีหลักฐานเอกสาร
เอกสารมีข้อความว่า "ยอดเงินขายฝากที่ดิน 300,000 บาท ยอดเงินกู้ 292,700 บาท รวม 2 รายการ 592,700 บาท จ่ายเงินสดก่อน 200,000 บาท คงเป็นหนี้อยู่อีก 392,700 บาท" ไม่มีข้อความที่เป็นข้อตกลงว่าจำเลยได้ให้คำมั่นจะขาย ที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ เมื่อคำมั่นว่าจะขายอสังหาริมทรัพย์มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลที่โจทก์นำสืบประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อได้นำเอกสารมาแสดงว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) และข้อความตามเอกสารในสำนวนคดีแพ่งดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นคำมั่นว่าจะขายที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ ดังนั้น จึงฟังไม่ได้ว่ามีการตกลงให้คำมั่นจะขายที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อโดยพยานบุคคลขัดต่อข้อตกลงในสัญญา และการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อกรณีรถยนต์เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ในสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตาม ป.วิ.พ.มาตรา94 (ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงินค่าเช่าซื้อ และการเบิกความอธิบายเอกสาร มิใช่การเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
หนังสือสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทระบุว่า ผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อวันละ 433.65 บาท และผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์โดยผู้เช่าซื้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าเบี้ยประกันภัยเองทั้งหมด ดังนี้การชำระเงินแต่ละงวดจำเลยจึงต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ด้วย การที่พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์มาเบิกความอธิบายในส่วนนี้ว่า การชำระค่างวดของจำเลย โจทก์ได้รวมค่าเบี้ยประกันภัยและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไว้ในแต่ละงวดด้วย โดยค่างวดเช่าซื้อตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้จำเลยระบุว่าจำนวนเงิน620 บาท แยกเป็นค่าเช่าซื้อ 433.65 บาท ค่าเบี้ยประกันภัย 145.79 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 40.56 บาท เพราะโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้ออกเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยผู้เช่าซื้อไปก่อนแล้วให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยคืนโจทก์พร้อมกับค่างวด มิใช่ค่าเช่าซื้ออย่างเดียวกรณีเป็นการเบิกความอธิบายข้อความในเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้าง มิใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความอธิบายเอกสารสัญญาเช่าซื้อ การรวมค่าเบี้ยประกันภัยในค่างวด ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
หนังสือสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทระบุว่า ผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อวันละ 433.65 บาท และผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์โดยผู้เช่าซื้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าเบี้ยประกันภัยเองทั้งหมด ดังนี้การชำระเงินแต่ละงวดจำเลยจึงต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ด้วย การที่พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์มาเบิกความอธิบายในส่วนนี้ว่า การชำระค่างวดของจำเลย โจทก์ได้รวมค่าเบี้ยประกันภัยและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไว้ในแต่ละงวดด้วย โดยค่างวดเช่าซื้อตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้จำเลยระบุว่าจำนวนเงิน 620 บาท แยกเป็นค่าเช่าซื้อ 433.65 บาท ค่าเบี้ยประกันภัย 145.79 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม40.56 บาท เพราะโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้ออกเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยผู้เช่าซื้อไปก่อนแล้วให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยคืนโจทก์พร้อมกับค่างวด มิใช่ค่าเช่าซื้ออย่างเดียวกรณีเป็นการเบิกความอธิบายข้อความในเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้าง มิใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงิน: การลงนามในนามบริษัท และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้ อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน การที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคล ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมเงิน: เจตนารมณ์ของคู่สัญญาและขอบเขตความรับผิดของกรรมการผู้จัดการ
ข้อความของสัญญาระบุไว้ชัดแจ้งว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผู้กู้ ส่วนโจทก์เป็นฝ่ายผู้ให้กู้อีกทั้งมีข้อความระบุย้ำอีกว่า สัญญากู้ยืมเงินฉบับนี้ทำในนามของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นเจตนารมณ์อันชัดแจ้งของคู่สัญญาว่ามุ่งเน้นให้จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ลงชื่อในสัญญาก็เป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 กระทำในฐานะส่วนตัวไม่ แม้มิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 ไว้ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินการที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยถือเป็นเรื่องนอกเหนือจากข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับได้, ศาลรับฟังเอกสารเพิ่มเติมเพื่อความยุติธรรม
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสารหมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย จ.11แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับเอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา87 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับใช้ได้ แม้ไม่ได้ระบุในบัญชีพยาน
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการ ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสาร ฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็น ผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสาร หมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อ ในเอกสารหมาย จ.11 แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับ เอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐาน อันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการ ฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟัง เอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา 87(2)
of 18