พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าที่แท้จริงเกินสี่พันบาท ไม่ขัดขวางสิทธิอุทธรณ์คดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตามหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่าค่าเช่าเดือนละ1,000บาทและผู้เช่าชำระเงินกินเปล่าแล้วเมื่อเงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้าจึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วยเงินกินเปล่ามีจำนวน2,000,000บาทกำหนดเวลาเช่า11ปี6เดือนคิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ14,492.75บาทเมื่อรวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ1,000บาทจึงเป็นค่าเช่าเดือนละ15,492.75บาทในขณะยื่นคำฟ้องซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาทจึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสอง ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000บาทตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องหรือเป็นจำนวนเงิน2,000,000บาทตามที่จำเลยอ้างกรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา94(ข)เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าล่วงหน้าเกิน 4,000 บาท ไม่ขัดขวางสิทธิอุทธรณ์คดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่า ค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทและผู้เช่าชำระเงินกินเปล่าแล้ว เมื่อเงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้าจึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วย เงินกินเปล่ามีจำนวน 2,000,000 บาท กำหนดเวลาเช่า11 ปี 6 เดือน คิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 14,492.75 บาทเมื่อรวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ 1,000 บาท จึงเป็นค่าเช่าเดือนละ15,492.75 บาท ในขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้อง หรือเป็นจำนวนเงิน2,000,000 บาท ตามที่จำเลยอ้าง กรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา 94(ข) เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าล่วงหน้าและการคำนวณค่าเช่าเพื่อประโยชน์ในการฟ้องขับไล่ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่า ค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท และผู้เช่าชำระเงินกินเปล่าแล้ว เมื่อเงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้าจึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วย เงินกินเปล่ามีจำนวน 2,000,000บาท กำหนดเวลาเช่า 11 ปี 6 เดือน คิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 14,492.75บาท เมื่อรวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ 1,000 บาท จึงเป็นค่าเช่าเดือนละ15,492.75 บาท ในขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้อง หรือเป็นจำนวนเงิน 2,000,000บาท ตามที่จำเลยอ้าง กรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา 94(ข) เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้อง หรือเป็นจำนวนเงิน 2,000,000บาท ตามที่จำเลยอ้าง กรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา 94(ข) เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี จึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิของทายาท จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทเพียงอย่างเดียว แต่มีคำขอให้โอนที่ดินพิพาทและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถโอนได้ให้ใช้เงิน 520,000 บาท แก่โจทก์ด้วยดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทจาก ส.มาโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ยังไม่โอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทต่อไป ที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทก็ต้องกลับมาเป็นของ ส.ซึ่งเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ส.ก็ย่อมสามารถโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้โอนต่อไปยังจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอันไม่สามารถเพิกถอนการโอนได้เสียแล้ว การโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมใช้เงิน520,000 บาท แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทระหว่าง ส.และจำเลยที่ 2 เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนจึงเป็นการไม่ชอบ
หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส.จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และไม่มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน และเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง
หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส.จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3และไม่มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน และเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน การเพิกถอนนิติกรรม และความรับผิดของทายาท
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทเพียงอย่างเดียว แต่มีคำขอให้โอนที่ดินพิพาทและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่สามารถโอนได้ให้ใช้เงิน 520,001 บาท แก่โจทก์ด้วยดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทจาก ส. มาโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2ยังไม่โอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทต่อไปที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทก็ต้องกลับมาเป็นของ ส.ซึ่งเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ส. ก็ย่อมสามารถโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทแก่โจทก์ได้ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2ได้โอนต่อไปยังจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอันไม่สามารถเพิกถอนการโอนได้เสียแล้วการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมไม่สามารถทำได้อันเนื่องมาจากความผิดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมใช้เงิน 520,000 บาท แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ห้องพิพาทระหว่าง ส. และจำเลยที่ 2 เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนจึงเป็นการไม่ชอบ หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารเลขที่ 288/98 และ 288/99 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า ส.ตกลงขายที่ดินและอาคารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว แต่ไม่สามารถโอนได้เพราะนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 จะดำเนินคดีกับ ส.ส. จึงไปขอร้องจำเลยที่ 2 ให้จัดการโอนให้แก่จำเลยที่ 3เป็นการอธิบายให้เห็นว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความเป็นมาอย่างไรเท่านั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ ห้องพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอน โดยมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และไม่มีคำส่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยมิได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกันและเมื่อโจทก์ฎีกาและฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเรื่องเหล่านี้ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดก: การซื้อที่ดินแทนบุคคลอื่น การแบ่งทรัพย์มรดก และการนำสืบพยานเพื่อแสดงความเป็นมาของทรัพย์สิน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อการที่โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยทำแทนหรือถือกรรมสิทธิ์แทนก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของส. จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินแทนส. การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวการตัวแทนอีกส่วนหนึ่งหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ที่จำเลยฎีกาว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมายจ.4เป็นคำมั่นจะให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้นจำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบความเป็นมาของกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ไม่เป็นการแก้ไขเอกสาร, ข้อตกลงไม่จดทะเบียน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อ การที่โจทก์จะนำสืบว่า จำเลยทำแทนหรือถือกรรมสิทธิ์แทนก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ส. จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินแทน ส. การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวการตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
ที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.4เป็นคำมั่นจะให้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้น จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.4เป็นคำมั่นจะให้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้น จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบราคาซื้อขายที่แท้จริง แม้ไม่ระบุในสัญญาจดทะเบียน ย่อมฟังได้หากมีหลักฐานสนับสนุนและแสดงเจตนาสุจริต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้นแต่การที่ผู้คัดค้านร่วมนำสืบว่าผู้คัดค้านร่วมได้ชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายให้แก่จำเลยที่2เป็นจำนวนเงิน17,200,000บาทโดยนำพ.กับป.ซึ่งรู้เห็นในการซื้อขายมาเบิกความยืนยันประกอบเอกสารมิใช่นำสืบเพื่อให้บังคับตามสัญญาซื้อขายแต่เป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงว่าผู้คัดค้านร่วมซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่2มาในราคาเท่าใดเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านและศาลจะได้วินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านร่วมได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่ย่อมนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94และการที่ผู้คัดค้านร่วมกับจำเลยที่2ไม่ได้ระบุราคาที่ซื้อขายอันแท้จริงจำนวนลงในสัญญาซื้อขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นก็หาตกเป็นโมฆะไม่และรับฟังได้เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456มีบทบังคับเพียงให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นซึ่งกรณีของจำเลยที่2กับผู้คัดค้านร่วมก็ได้มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุราคาที่ซื้อขายครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบราคาซื้อขายที่แท้จริง แม้เอกสารจดทะเบียนระบุราคาไม่ตรง ย่อมทำได้ ไม่ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 94
ป.วิ.พ.มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสาร หรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร ในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น แต่การที่ผู้คัดค้านร่วมนำสืบว่าผู้คัดค้านร่วมได้ชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 17,200,000 บาท โดยนำ พ.กับ ป.ซึ่งรู้เห็นในการซื้อขายมาเบิกความยืนยันประกอบเอกสาร มิใช่นำสืบเพื่อให้บังคับตามสัญญาซื้อขายแต่เป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงว่าผู้คัดค้านร่วมซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 2 มาในราคาเท่าใด เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านและศาลจะได้วินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านร่วมได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่ ย่อมนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 และการที่ผู้คัดค้านร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้ระบุราคาที่ซื้อขายอันแท้จริงจำนวนลงในสัญญาซื้อขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นก็หาตกเป็นโมฆะไม่และรับฟังได้เพราะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 มีบทบังคับเพียงให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น ซึ่งกรณีของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านร่วมก็ได้มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุราคาที่ซื้อขายครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การคิดดอกเบี้ยจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และอายุความตามกฎหมายล้มละลาย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา680 วรรคสอง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ดังนั้น ข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่า หากบริษัท ง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกัน จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลาย มีความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้สาบสูญ หรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัท ง. เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัท ง. ชำระหนี้ก่อนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนสัญญาค้ำประกัน และตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือน แต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่ 6มิถุนายน 2534 ย้อนหลังขึ้นไป 5 ปี คือวันที่ 6 มิถุนายน 2529 และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดี ผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่า การคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(1) ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลาย มีความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้สาบสูญ หรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัท ง. เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัท ง. ชำระหนี้ก่อนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนสัญญาค้ำประกัน และตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือน แต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่ 6มิถุนายน 2534 ย้อนหลังขึ้นไป 5 ปี คือวันที่ 6 มิถุนายน 2529 และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดี ผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่า การคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(1) ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย