คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 94 (ข)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขาย: ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยพยานบุคคล
ตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่มีข้อความว่า จำเลยต้องจัดการให้ผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ 1กันยายน 2533 การที่โจทก์อ้างและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา เพราะไม่จัดการให้ผู้เช่าออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง การนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเช่นนี้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) ไม่อาจรับฟังตามที่โจทก์นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบตัวแทนและขอบเขตการพิจารณาคดี: การนำสืบเรื่องความจริงที่เป็นอยู่ไม่ขัดป.วิ.พ. และการพิจารณาเกินคำขอ
การที่โจทก์นำสืบว่า ส.ผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์ เป็นกรณีตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อกลับแสดงตนให้ปรากฏ และเข้ารับเอาสัญญาที่ตัวแทนได้ทำไว้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ย่อมนำสืบได้เพราะนำสืบเรื่องความจริงที่เป็นอยู่ มิได้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 87 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ได้รรยายไว้แล้วว่าได้มีการขอแบ่งแยกแล้วโดยคำขอท้ายฟ้องระบุว่าเป็นที่ดินล็อกที่ 3 ทั้งได้แนบแผนที่มาท้ายฟ้องด้วย ซึ่งจำเลยก็มิได้ให้การหรือนำสืบโต้แย้งอย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้วเป็นเลขที่ 1319 ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี ดังนั้นการที่ศาลพิพากษาคดีโดยกล่าวถึงที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ดังกล่าว จึงมิได้เป็นการพิจารณาเกินคำขอของโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบตัวแทนที่มิได้เปิดเผยชื่อและการพิพากษาเกินคำขอในคดีซื้อขายที่ดิน
การที่โจทก์นำสืบว่าส. ผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์เป็นกรณีตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาที่ตัวแทนได้ทำไว้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา806ย่อมนำสืบได้เพราะนำสืบเรื่องความจริงที่เป็นอยู่มิได้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่87ตำบลเขาใหญ่อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรีซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าได้มีการขอแบ่งแยกแล้วโดยคำขอท้ายฟ้องระบุว่าเป็นที่ดินล็อกที่3ทั้งได้แนบแผ่นที่มาท้ายฟ้องด้วยซึ่งจำเลยก็มิได้ให้การหรือนำสืบโต้แย้งอย่างใดเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)แล้วเป็นเลขที่1319ตำบลเขาใหญ่อำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรีดังนั้นการที่ศาลพิพากษาคดีโดยกล่าวถึงที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3ก.)ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการพิจารณาเกินคำขอของโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการแปลเอกสารจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุและเป็นนายจ้างหรือตัวการที่ใช้ให้ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุเพื่อผลประโยชน์ของจำเลยและลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นใครชื่ออะไรหรือมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไรเป็นรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญเมื่อรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการย่อมต้องรับผิดอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจะอ้างกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลในชั้นพิจารณา โจทก์มิได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายคำฟ้องด้วย ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ว่าขอปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์ทุกฉบับว่าไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงเป็นการคัดค้านเฉพาะสำเนาเอกสารท้ายฟ้องเท่านั้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านสำเนากรมธรรม์ประกันภัยด้วย และเมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลจำเลยก็ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนากรมธรรม์ประกันภัยนั้นถูกต้องแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยระบุเลขหมายทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษว่า 9CH-1935แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงพยัญชนะตัว"ช"และ"ฉ"คล้ายกันและพยัญชนะทั้งสองตัวนี้เมื่อเทียบกับพยัญชนะภาษาอังกฤษแล้วก็อาจใช้ตัว "CH" แทนได้ทั้งสองตัว ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ใช้พยัญชนะตัว"ฉ" ดังนั้น ที่โจทก์แปลว่า 9CH-1935 คือ9 ช-1935 จึงเป็นเรื่องแปลผิดไป โจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็น 9 ฉ-1935 เพราะเป็นการสืบอธิบายว่าโจทก์แปลพยัญชนะจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดไปจากความเป็นจริง จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อความเสียหายจากรถยนต์, การแปลเลขทะเบียน, และการนำสืบพยาน
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุและเป็นนายจ้างหรือตัวการที่ใช้ให้ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุเพื่อผลประโยชน์ของจำเลย และลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นใครชื่ออะไร หรือมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไรเป็นรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เมื่อรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการย่อมต้องรับผิดอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจะอ้างกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลในชั้นพิจารณา โจทก์มิได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายฟ้องด้วย ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ว่าขอปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์ทุกฉบับว่าไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงเป็นการคัดค้านเฉพาะสำเนาเอกสารท้ายฟ้องเท่านั้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านสำเนากรมธรรม์ประกันภัยด้วย และเมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลจำเลยก็มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนากรมธรรม์ประกันภัยนั้นถูกต้องแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟังได้
ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยระบุเลขหมายทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษว่า 9 CH - 1935 แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงพยัญชนะตัว "ช" และ "ฉ" คล้ายกันและพยัญชนะทั้งสองตัวนี้เมื่อเทียบกับพยัญชนะภาษาอังกฤษแล้วก็อาจใช้ตัว "CH" แทนได้ทั้งสองตัว ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ใช้พยัญชนะตัว "ฉ" ดังนั้น ที่โจทก์แปลว่า 9 CH -1935 คือ 9 ช - 1935 จึงเป็นเรื่องแปลผิดไป โจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็น 9 ฉ - 1935 เพราะเป็นการสืบอธิบายว่าโจทก์แปลพยัญชนะจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดไปจากความเป็นจริง จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและประเด็นดอกเบี้ยที่ไม่ชัดเจน
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้ โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่า หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ จำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ปัญหาที่ว่า ม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ ม. มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 728 เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ โดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 ร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไร และเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, จำนอง, ค้ำประกัน: ศาลยืนยึดสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองตามสัญญา
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินจำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้โดยจำเลยที่1ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ปัญหาที่ว่าม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ม.มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การและมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคแรก โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงินพ.ศ.2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษโดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ร้อยละ15ต่อปีจำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่าดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ซึ่งจำเลยที่1เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไรและเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารและการนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอำนาจในการทำสัญญาเช่า
การที่จำเลยมิได้ระบุหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานและส่งสำเนาให้โจทก์แต่ใช้เอกสารนั้นประกอบการถามค้านโจทก์ว่า ล. เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยพยานเอกสารดังกล่าวมิใช่เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงแม้จะมิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานและส่งสำเนาให้โจทก์ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังกรณีไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88,90ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้ เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่า ล. เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยย่อมนำสืบโดยอ้างหนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายให้เห็นว่าที่มีชื่อ ย. เป็นผู้ให้เช่าในสัญญาเช่าเพราะได้รับมอบอำนาจจาก ล. ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง การใช้หนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายสัญญาเช่า ไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารประกอบในการถามค้านที่โจทก์เบิกความว่า ล.เจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวที่ให้เช่าไม่ได้มอบอำนาจให้ ย.บิดาของ ล.ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับจำเลย พยานเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของจำเลย ซึ่งจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ระบุเอกสารดังกล่าวในบัญชีระบุพยานและส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง เพราะกรณีดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และ 90
เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทคือล. มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยย่อมนำสืบโดยอ้างหนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายให้เห็นว่าที่มีชื่อ ย.เป็นผู้ให้เช่าในสัญญาเช่านั้น เพราะ ล.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวมอบอำนาจให้ทำสัญญาเช่าได้ การนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การทำแทนบุคคลอื่นต้องมีหลักฐานเช่นกัน การนำสืบจึงมีข้อจำกัด
การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญการตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญากู้แทนจึงต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา798วรรคสองจำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยลงชื่อในสัญญากู้แทน ล. เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)
of 18