พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยพยานบุคคลขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดินที่ขัดแย้งกับสัญญาซื้อขายที่เป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายที่ดิน อันเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามป.พ.พ. มาตรา 556 วรรคหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และสัญญาซื้อขายดังกล่าว มีข้อความระบุชัดว่าซื้อขายที่ดินในราคา 1,000,000 บาท แต่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบอ้างว่าซื้อขายที่ดินกันในราคา 1,827,000 บาท ย่อมเป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายดังกล่าว ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) และข้อกฎหมายนี้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ก็เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดินตามข้อตกลงนอกสัญญา ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 94(ข)
ตามสัญญาซื้อขายที่ดินท้ายเอกสารหมาย ล.5 ระบุราคาที่ซื้อขายกันเพียง 3,000,000 บาท ทั้งที่ราคาที่ซื้อขายกันจริงตามที่คู่ความรับกันว่ามีราคา9,500,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น แม้สัญญาซื้อขายท้ายเอกสารหมาย ล.5 จะมีข้อความว่า ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เรียบร้อยแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่ายังได้รับชำระค่าที่ดินไม่ครบถ้วน ก็หาเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายที่ดินท้ายเอกสารหมาย ล.5 เพราะคู่ความได้รับกันแล้วว่าซื้อขายกันจริงในราคา 9,500,000 บาท ไม่ใช่ตามราคาที่ระบุในสัญญาดังกล่าว การนำสืบว่ายังได้รับค่าที่ดินไม่ครบถ้วนตามราคาที่แท้จริงตามที่รับกัน จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดิน การนำสืบหลักฐานราคาที่แท้จริงไม่ขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาซื้อขายที่ดินระบุราคาซื้อขายจำนวน3,000,000บาทแต่คู่ความรับกันว่าซื้อขายกันจริงในราคา9,500,000บาทดังนั้นแม้สัญญาซื้อขายมีข้อความว่าผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้วก็ตามการที่ผู้ขายนำสืบว่ายังได้รับเงินค่าที่ดินไม่ครบถ้วนตามราคาที่แท้จริงจึงไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่าและการรับประโยชน์จากงานที่ทำเสร็จแล้ว
สัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าระบุไว้แต่เพียงว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์เท่านั้น การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่าจำเลยทั้งสองจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์ 3 ชั้นและ 2 ชั้น หน้ากว้าง 4 เมตร ลึก 14 ถึง 16 เมตร จึงเป็นการนำสืบอธิบายความหมายของคำว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) แต่อย่างใด
เมื่อผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า เป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าได้ที่พิพาทคืนก่อนกำหนด 10 ปีเศษ แม้ผู้เช่าจะเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ผู้เช่าก็ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำถนนคอนกรีตตามข้อตกลงในสัญญาเช่าไปแล้วบางส่วน และผู้ให้เช่าสามารถใช้ประโยชน์จากงานที่ผู้เช่าทำนั้นได้ ผู้ให้เช่าจึงชอบที่จะรับเอางานส่วนที่ผู้เช่าได้กระทำนั้นแล้วใช้เงินตามค่าแห่งงานให้ผู้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
เมื่อผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า เป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าได้ที่พิพาทคืนก่อนกำหนด 10 ปีเศษ แม้ผู้เช่าจะเป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ผู้เช่าก็ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ทำถนนคอนกรีตตามข้อตกลงในสัญญาเช่าไปแล้วบางส่วน และผู้ให้เช่าสามารถใช้ประโยชน์จากงานที่ผู้เช่าทำนั้นได้ ผู้ให้เช่าจึงชอบที่จะรับเอางานส่วนที่ผู้เช่าได้กระทำนั้นแล้วใช้เงินตามค่าแห่งงานให้ผู้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายสินสมรส: ผลผูกพันสัญญา, อำนาจฟ้อง, และการชำระหนี้
ฉ. ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามี ซึ่งจำเลยอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 เดิม แต่ตราบใดที่สัญญายังมิได้ถูกศาลเพิกถอนสัญญาย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยเพียงแต่มีหนังสือบอกล้างสัญญาไปยังโจทก์โดยมิได้ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญา สัญญาจึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องโดยแนบสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาการซื้อขายระหว่างโจทก์ กับ ฉ. มาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่า ฉ. มิได้ทำสัญญาตามสำเนาภาพถ่ายดังกล่าวต้องถือว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 ศาลรับฟังสำเนาเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) โจทก์กับ ฉ. ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบ พยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก เมื่อตามสัญญาเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อตกลงว่าให้ ฉ. เก็บเงินจากโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าได้ตกลงกันดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง โจทก์ต้องชำระเงิน ณ ภูมิลำเนาของ ฉ. ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 ตามสัญญากำหนดให้โจทก์ส่งเงินเป็นรายเดือนของทุกเดือนภายในกำหนด 2 ปี โดยไม่ได้กำหนดว่าจะต้องส่งเดือนละเท่าใดพฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาถือเอาเงื่อนเวลาที่กำหนดให้โจทก์ชำระให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา 2 ปี เป็นข้อสำคัญ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากเงื่อนเวลาดังกล่าว จะถือเอาว่าจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนเท่ากับราคาที่ซื้อขายหารด้วยระยะเวลา2 ปี หาได้ไม่ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น มิได้หมายความว่าต้องมีใบเสร็จจึงจะรับฟังเป็นหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ศาลรับฟังพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงข้อความหนังสือรับสภาพหนี้ได้
การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14 (1)ใหม่) ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานบุคคลแล้วนำไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ จึงไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ศาลรับฟังพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือรับสภาพหนี้ได้
การรับสภาพหนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14(1) ใหม่)ดังนั้นการที่ศาลรับฟังพยานบุคคลแล้วนำไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การพิสูจน์ข้อตกลงเพิ่มเติมขัดกับหลักฐานหนังสือ และผลของการผิดนัดตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือ แม้มีการวางเงินมัดจำด้วย การวางเงินมัดจำก็เป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ตกลงทำสัญญากันด้วยการวางเงินมัดจำ การฟ้องร้องให้บังคับคดีจึงต้องอาศัยหลักฐานตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำไว้ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าที่ดินพิพาทตกลงจะซื้อโจทก์ยอมคืนเงินมัดจำและถือว่าสัญญาเป็นอันยกเลิกกันนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาจึงต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังกล่าว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกำหนดวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและชำระราคาส่วนที่เหลือไว้แน่นอน จำเลยไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้กู้ยืม: หลักฐานการชำระเงินต้น vs. ดอกเบี้ย และการนำไปชำระหนี้
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้น ไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงนำสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองชำระให้โจทก์สูงกว่าดอกเบี้ยจากต้นเงินตามสัญญากู้และสัญญาจำนองนับแต่วันกู้ยืมมาจนถึงวันฟ้อง เงินส่วนที่ชำระดอกเบี้ยซึ่งเกินดังกล่าวต้องนำไปชำระต้นเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก
จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองชำระให้โจทก์สูงกว่าดอกเบี้ยจากต้นเงินตามสัญญากู้และสัญญาจำนองนับแต่วันกู้ยืมมาจนถึงวันฟ้อง เงินส่วนที่ชำระดอกเบี้ยซึ่งเกินดังกล่าวต้องนำไปชำระต้นเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก