พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12199/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีต้องอาศัยราคาสินค้าจริง หากราคาที่สำแดงถูกต้อง การประเมินเพิ่มเติมจึงไม่ชอบ
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 30 แม้อธิบดีกรมสรรพากร โจทก์ที่ 2 จะมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร และจำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสองที่จะต้องนำสืบว่า การประเมินของเจ้าพนักงานถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
การคำนวณภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยฐานจากราคาสินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อราคาใบชาอันแท้จริงในท้องตลาดตรงตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าซึ่งจำเลยได้เสียภาษีอากรให้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว การแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 ที่ให้จำเลยเสียอากร ขาเข้าเพิ่มเติมนั้นไม่ชอบจึงไม่มีฐานราคาสินค้าที่จะประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมจากจำเลยอีกตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2547)
การคำนวณภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องอาศัยฐานจากราคาสินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อราคาใบชาอันแท้จริงในท้องตลาดตรงตามที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าซึ่งจำเลยได้เสียภาษีอากรให้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว การแจ้งการประเมินของโจทก์ที่ 1 ที่ให้จำเลยเสียอากร ขาเข้าเพิ่มเติมนั้นไม่ชอบจึงไม่มีฐานราคาสินค้าที่จะประเมินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมจากจำเลยอีกตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: เหตุผลความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และลักษณะของสัญญาบริการ
หลังจากที่โจทก์ทราบว่าสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าได้รับความเสียหายจากพายุฝนแล้ว แม้โจทก์จะทราบถึงจำนวนสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้าแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจทราบจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงได้จนกว่าจะได้มี การสำรวจค่าเสียหายก่อน ในวันที่โจทก์ได้ยื่นประมาณการกำไรสุทธินั้น โจทก์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายเท่าใด และไม่ทราบว่าโจทก์จะมีรายได้ที่จะได้รับจากค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้ แก่โจทก์เพียงใด อีกทั้งไม่ทราบว่าบริษัทประกันภัยจะไม่รับเอาสินค้าที่ได้รับความเสียหายไป จึงทำให้โจทก์มีกำไรจากการขายซากทรัพย์เพิ่มขึ้นอีก การที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ที่ได้รับจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ จึงมีเหตุอันสมควร
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดที่บริษัทต่างประเทศตกลงให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การบริหารการเงินและด้านการตลาดให้แก่โจทก์ เป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 และการรับจ้างทำของดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีการให้ใช้สิทธิในกรรมวิธี สูตร หรือ สิทธิในการประกอบกิจการอันเป็นความลับแต่อย่างใด แม้การจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาจะกำหนดให้คิดคำนวณในอัตราร้อยละของยอดขายสินค้า ที่บริษัทต่างประเทศเป็นผู้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่บริษัทต่างประเทศก็มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนขายสินค้าที่มีชื่อตราสินค้าหรือผูกขาดยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ แต่ผู้เดียว กรณีที่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต่างประเทศจึงไม่ใช่ค่าให้ใช้สิทธิแห่งเครื่องหมายการค้า หรือค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นลักษณะทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) และสัญญาดังกล่าวก็ไม่ได้มีการตกลงที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์พิเศษ ซึ่งจะต้องไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอันเป็นวิทยาการเพื่อให้โจทก์นำไปใช้ จึงมิใช่การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทาง อุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์ อันจะเป็นค่าสิทธิตามที่ระบุไว้ในข้อ 12 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศเดนมาร์ก เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และทุน เงินค่าบริการดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนตามสัญญารับจ้างทำของ อันเป็นเงินได้ในลักษณะเป็นกำไรทางธุรกิจที่บริษัทต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และ ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยได้รับจากโจทก์ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทยตามสัญญาข้อ 7 แห่งอนุสัญญาดังกล่าวประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดที่บริษัทต่างประเทศตกลงให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การบริหารการเงินและด้านการตลาดให้แก่โจทก์ เป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 และการรับจ้างทำของดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีการให้ใช้สิทธิในกรรมวิธี สูตร หรือ สิทธิในการประกอบกิจการอันเป็นความลับแต่อย่างใด แม้การจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาจะกำหนดให้คิดคำนวณในอัตราร้อยละของยอดขายสินค้า ที่บริษัทต่างประเทศเป็นผู้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่บริษัทต่างประเทศก็มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนขายสินค้าที่มีชื่อตราสินค้าหรือผูกขาดยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ แต่ผู้เดียว กรณีที่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต่างประเทศจึงไม่ใช่ค่าให้ใช้สิทธิแห่งเครื่องหมายการค้า หรือค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นลักษณะทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) และสัญญาดังกล่าวก็ไม่ได้มีการตกลงที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์พิเศษ ซึ่งจะต้องไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอันเป็นวิทยาการเพื่อให้โจทก์นำไปใช้ จึงมิใช่การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทาง อุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์ อันจะเป็นค่าสิทธิตามที่ระบุไว้ในข้อ 12 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศเดนมาร์ก เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และทุน เงินค่าบริการดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนตามสัญญารับจ้างทำของ อันเป็นเงินได้ในลักษณะเป็นกำไรทางธุรกิจที่บริษัทต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และ ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยได้รับจากโจทก์ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทยตามสัญญาข้อ 7 แห่งอนุสัญญาดังกล่าวประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การกำหนดรายรับจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ และข้อยกเว้นตามคำสั่งกรมสรรพากร
ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้ โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการฯ เฉพาะการประเมินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากลูกหนี้รายบริษัทในเครือของโจทก์เท่านั้น ส่วนลูกหนี้รายที่เป็นกรรมการโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าการที่โจทก์ให้กรรมการกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยไม่มีเหตุผลอันสมควร การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องอ้างว่าโจทก์ให้ลูกหนี้ดังกล่าวกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยมีเหตุอันสมควร จึงเป็นประเด็นที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ หาใช่โจทก์อ้างเหตุเพิ่มเติมในประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ไว้แล้วไม่ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องในประเด็นนี้สำหรับลูกหนี้รายบริษัท น. กับบริษัท ซ. และบริษัท พ. นั้น แม้โจทก์อ้างแต่เพียงว่ายอดหนี้คลาดเคลื่อนทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานสำหรับการประเมินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของลูกหนี้รายดังกล่าวไว้แล้ว โจทก์จึงอ้างว่าการประเมินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของลูกหนี้รายดังกล่าวไม่ถูกต้อง เนื่องจากโจทก์ให้กู้ยืมโดยมีเหตุอันสมควรในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลได้ เพราะเป็นการยกเหตุผลอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลเห็นว่าการประเมินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของลูกหนี้รายดังกล่าวที่ได้โต้แย้งการประเมินไว้แล้วไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ยังมีหนี้สินต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่สมควรจะให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย แม้จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกันกับโจทก์ การที่โจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากบริษัทดังกล่าวจึงไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวตามราคาตลาดได้ ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ทวิ (4)
เมื่อโจทก์ให้บริษัทต่าง ๆ และกรรมการกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยตามราคาตลาดเป็นรายรับตามมาตรา 91/16 (6) และถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยแล้ว โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและการที่โจทก์ให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินหลายราย ไม่ว่าเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้หรือเพื่อตอบแทนการทำงานของกรรมการดังที่โจทก์อุทธรณ์ ก็ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการตามปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
โจทก์ให้บริษัท พ. และบริษัท จ. กู้ยืมเงินไปก่อนที่โจทก์จะเข้าถือหุ้นในบริษัททั้งสองเกินร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมด โจทก์กับบริษัททั้งสองจึงมิใช่บริษัทในเครือเดียวกันตามความหมายของบริษัทในเครือเดียวกันดังที่ระบุในข้อ 2 วรรคสอง ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 26/2534 โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นไม่ต้องนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของลูกหนี้รายบริษัท พ. และบริษัท จ. มาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เมื่อโจทก์ยังมีหนี้สินต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่สมควรจะให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย แม้จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกันกับโจทก์ การที่โจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากบริษัทดังกล่าวจึงไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวตามราคาตลาดได้ ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ทวิ (4)
เมื่อโจทก์ให้บริษัทต่าง ๆ และกรรมการกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยตามราคาตลาดเป็นรายรับตามมาตรา 91/16 (6) และถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยแล้ว โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและการที่โจทก์ให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินหลายราย ไม่ว่าเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้หรือเพื่อตอบแทนการทำงานของกรรมการดังที่โจทก์อุทธรณ์ ก็ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการตามปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
โจทก์ให้บริษัท พ. และบริษัท จ. กู้ยืมเงินไปก่อนที่โจทก์จะเข้าถือหุ้นในบริษัททั้งสองเกินร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมด โจทก์กับบริษัททั้งสองจึงมิใช่บริษัทในเครือเดียวกันตามความหมายของบริษัทในเครือเดียวกันดังที่ระบุในข้อ 2 วรรคสอง ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 26/2534 โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นไม่ต้องนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของลูกหนี้รายบริษัท พ. และบริษัท จ. มาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10251/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้สิทธิสถานีบริการน้ำมันกับการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ศาลยืนตามประเมินของเจ้าหน้าที่
ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินค่ารายปีและภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย และคำชี้ขาดของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับโรงเรือนพิพาทตามฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาสัญญาการให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการซึ่งเป็นโรงเรือนพิพาทที่ปรากฏในสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า การที่โจทก์ได้รับค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวนั้น มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า เพราะเป็นสัญญาที่ตกลงให้คู่สัญญาสามารถใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินและคู่สัญญาต้องเสียค่าตอบแทนในการเข้าไปใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ค่าใช้สิทธิที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเพียงค่าเช่าบางส่วน การที่จำเลยกำหนดค่ารายปีสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ต่ำกว่าอัตราค่าเช่าที่โจทก์ได้รับ นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว เป็นการวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงในสำนวนแล้วปรับกับข้อกฎหมายตามประเด็นข้อพิพาท จึงมิได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็นพิพาทตามที่โจทก์อุทธรณ์
โจทก์ทำสัญญาให้บริษัท ฮ. เข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเพื่อจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ โดยสัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการดังกล่าวมีเงื่อนไขในสัญญาว่า โจทก์อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี เครื่องหมายการค้า เทคนิคการบริหาร การตลาดและการใช้เครื่องบริภัณฑ์ และระบบต่าง ๆ ของโจทก์ โดยบริษัทดังกล่าวต้องจ่ายค่าใช้สิทธิในสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวให้โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 85,000 บาท และแต่ละเดือนบริษัทดังกล่าวต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ในสัญญา มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่ตกลงกัน นอกจากนี้ผู้ใช้บริการมีเพียงสิทธิอาศัยในสถานีบริการน้ำมันและที่ดินโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า ไม่อาจถือได้ว่าค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวรวมค่าเช่าโรงเรือนรวมอยู่ด้วย
โจทก์ทำสัญญาให้บริษัท ฮ. เข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเพื่อจำหน่ายน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ โดยสัญญาให้ใช้สิทธิดำเนินการสถานีบริการดังกล่าวมีเงื่อนไขในสัญญาว่า โจทก์อนุญาตให้บริษัทดังกล่าวเข้าเป็นผู้ดำเนินการสถานีบริการน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี เครื่องหมายการค้า เทคนิคการบริหาร การตลาดและการใช้เครื่องบริภัณฑ์ และระบบต่าง ๆ ของโจทก์ โดยบริษัทดังกล่าวต้องจ่ายค่าใช้สิทธิในสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวให้โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 85,000 บาท และแต่ละเดือนบริษัทดังกล่าวต้องซื้อน้ำมันและผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไม่น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ในสัญญา มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่ตกลงกัน นอกจากนี้ผู้ใช้บริการมีเพียงสิทธิอาศัยในสถานีบริการน้ำมันและที่ดินโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับการเช่า ไม่อาจถือได้ว่าค่าใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวรวมค่าเช่าโรงเรือนรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าภาษีที่ได้รับคืนไปโดยไม่มีสิทธิ: ลาภมิควรได้และอายุความ 1 ปี
จำเลยเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายน้ำมัน เมื่อจำเลยจำหน่ายน้ำมันเพื่อเติมแก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว จำเลยย่อมขอรับคืนค่าภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยที่ชำระไปแล้วคืนได้ ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต มาตรา 102 (4) ต่อมาปรากฏว่า แท้จริงมิได้มีการเติมน้ำมันตามชนิดและปริมาณให้แก่เรือขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยจากโจทก์ การที่จำเลยได้รับเงินค่าภาษีคืนไป แม้ในชั้นแรกจะมีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ แต่ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเงินก็ถือว่าไม่มีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้เช่นกัน การรับเงินภาษีดังกล่าวคืนจึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยจึงต้องคืนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 แต่โจทก์ต้องฟ้องคดีใช้สิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องลาภมิควรได้ กรณีคืนภาษีสรรพสามิต: การได้รับเงินคืนโดยไม่มีสิทธิภายหลังถือเป็นลาภมิควรได้
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสำหรับเหตุที่ไม่ได้มีการเติมน้ำมันให้แก่เรือและรายละเอียดของกฎกระทรวงตามวรรคสองของพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2527 มาตรา 102(4) ไม่ใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักในข้อหาที่โจทก์ฟ้อง จึงสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ แต่อุทธรณ์ของจำเลยไม่ปรากฏเลยว่าเหตุใดจำเลยจึงเห็นว่ากรณีดังกล่าวมิใช่รายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ และเหตุใดจำเลยจึงถือว่ารายละเอียดของกฎกระทรวงเป็นข้ออ้างที่โจทก์ต้องอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา อุทธรณ์ของจำเลยไม่มีข้อโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับกรมสรรพสามิตโจทก์คืนค่าภาษีคนละเที่ยวเรือกับที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยคืนค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งการนำน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นเรือแต่ละเที่ยวเรือตามคำฟ้องและฟ้องแย้งไม่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ตามคำฟ้องของโจทก์มีประเด็นว่า จำเลยจะต้องคืนเงินค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไป ให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยมีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเรียกให้โจทก์คืนเงินค่าภาษีที่จำเลยชำระไว้หรือไม่เพียงใด ดังนั้น แม้ตามคำฟ้องของโจทก์และคำฟ้องแย้งของจำเลยจะเป็นเรื่องของการขอคืนภาษีสรรพสามิตตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตในมาตราเดียวกัน แต่ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำขอของโจทก์กับฟ้องแย้งของจำเลยก็แตกต่างตรงข้ามกันและไม่มีความเกี่ยวพันกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์
คำฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันว่าการที่จำเลยขอรับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยไปจากโจทก์เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือจำเลยได้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีก็เป็นผลมาจากการที่โจทก์ตรวจสอบพบว่าไม่มีการเติมน้ำมันแก่เรือตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 102(4) แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2537 กรณีตามฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่อาจนำอายุความเรื่องละเมิดมาบังคับแก่คดีได้
จำเลยใช้สิทธิจากการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตหรือขายหรือจำหน่ายน้ำมันนำน้ำมันที่จำเลยชำระภาษีแล้วเติมให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว ขอรับคืนค่าภาษีจากกรมสรรพสามิตโจทก์ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102(4) ต่อมาโจทก์ได้รับแจ้งจากกรมศุลกากรว่ามิได้มีการเติมน้ำมันตามชนิดและปริมาณให้แก่เรือซึ่งมีชื่อที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยจากโจทก์ การที่จำเลยได้รับเงินค่าภาษีคืนไปแม้ในชั้นแรกจะมีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินก็ถือว่าไม่มีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้เช่นกัน จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เป็นลาภมิควรได้จำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406แต่โจทก์ต้องฟ้องคดีใช้สิทธิเรียกเงินดังกล่าวภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยคืนเงินภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปแก่โจทก์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2539 จึงฟังได้ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนซึ่งค่าภาษีจากจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับกรมสรรพสามิตโจทก์คืนค่าภาษีคนละเที่ยวเรือกับที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยคืนค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งการนำน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นเรือแต่ละเที่ยวเรือตามคำฟ้องและฟ้องแย้งไม่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ตามคำฟ้องของโจทก์มีประเด็นว่า จำเลยจะต้องคืนเงินค่าภาษีที่จำเลยขอรับคืนไป ให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยมีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเรียกให้โจทก์คืนเงินค่าภาษีที่จำเลยชำระไว้หรือไม่เพียงใด ดังนั้น แม้ตามคำฟ้องของโจทก์และคำฟ้องแย้งของจำเลยจะเป็นเรื่องของการขอคืนภาษีสรรพสามิตตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตในมาตราเดียวกัน แต่ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำขอของโจทก์กับฟ้องแย้งของจำเลยก็แตกต่างตรงข้ามกันและไม่มีความเกี่ยวพันกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์
คำฟ้องโจทก์มิได้ยืนยันว่าการที่จำเลยขอรับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยไปจากโจทก์เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือจำเลยได้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีก็เป็นผลมาจากการที่โจทก์ตรวจสอบพบว่าไม่มีการเติมน้ำมันแก่เรือตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 102(4) แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2537 กรณีตามฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่อาจนำอายุความเรื่องละเมิดมาบังคับแก่คดีได้
จำเลยใช้สิทธิจากการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตหรือขายหรือจำหน่ายน้ำมันนำน้ำมันที่จำเลยชำระภาษีแล้วเติมให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว ขอรับคืนค่าภาษีจากกรมสรรพสามิตโจทก์ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 102(4) ต่อมาโจทก์ได้รับแจ้งจากกรมศุลกากรว่ามิได้มีการเติมน้ำมันตามชนิดและปริมาณให้แก่เรือซึ่งมีชื่อที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับคืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยจากโจทก์ การที่จำเลยได้รับเงินค่าภาษีคืนไปแม้ในชั้นแรกจะมีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินก็ถือว่าไม่มีมูลที่จะอ้างกฎหมายได้เช่นกัน จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เป็นลาภมิควรได้จำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406แต่โจทก์ต้องฟ้องคดีใช้สิทธิเรียกเงินดังกล่าวภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยคืนเงินภาษีที่จำเลยขอรับคืนไปแก่โจทก์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2539 จึงฟังได้ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนซึ่งค่าภาษีจากจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากราคาประเมินเมื่อราคาขายต่ำกว่าราคาตลาด และการปกปิดราคาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
ป. รัษฎากร มาตรา 78 (เดิม) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โดยกำหนดความหมายของคำว่า "รายรับ" ไว้ในมาตรา 79 ว่า หมายความว่า เงินทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้า ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดที่โจทก์ทำกับลูกค้าบางห้อง มีราคาสูงกว่าราคาตามสัญญาซื้อขายที่จดทะเบียนต่อสำนักงานที่ดิน แสดงว่าโจทก์มีเจตนาปกปิดราคาอันแท้จริงที่โจทก์ขายให้แก่ลูกค้า และราคาซื้อขายห้องชุดดังกล่าวที่จดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินมิใช่ราคาขายอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินรายรับของโจทก์ตามมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับ โดยใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้เก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ และมีอำนาจประเมินภาษีการค้าเพิ่มขึ้น พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ ตามมาตรา 87 (1) (2) และ 87 ทวิ
ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องนำรายรับจากการประกอบกิจการคือ รายรับก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/5 (6) มาเป็นฐานในการคิดคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่รายรับดังกล่าวต้องเป็นรายรับที่เป็นจริงและควรได้รับตามปกติจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในวันที่มีการจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์มิได้ยื่นรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีเมษายน 2535 และปรากฏว่าในขณะจดทะเบียนโอนขายอาคารชุดนั้น สำนักงานทะเบียนที่ดินเก็บค่าธรรมเนียมและอากรแสตมป์โดยคิดคำนวณจากราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้จัดเก็บค่าธรรมเนียมสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อยู่ในขณะนั้นโดยโจทก์ไม่โต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีภาษีธุรกิจเฉพาะ เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวโดยกำหนดรายรับของโจทก์จากการขายอาคารชุดที่โจทก์ควรจะได้รับ หรือควรจะขายได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/15 และ 91/16
ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องนำรายรับจากการประกอบกิจการคือ รายรับก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/5 (6) มาเป็นฐานในการคิดคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่รายรับดังกล่าวต้องเป็นรายรับที่เป็นจริงและควรได้รับตามปกติจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในวันที่มีการจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์มิได้ยื่นรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีเมษายน 2535 และปรากฏว่าในขณะจดทะเบียนโอนขายอาคารชุดนั้น สำนักงานทะเบียนที่ดินเก็บค่าธรรมเนียมและอากรแสตมป์โดยคิดคำนวณจากราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้จัดเก็บค่าธรรมเนียมสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อยู่ในขณะนั้นโดยโจทก์ไม่โต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีภาษีธุรกิจเฉพาะ เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวโดยกำหนดรายรับของโจทก์จากการขายอาคารชุดที่โจทก์ควรจะได้รับ หรือควรจะขายได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/15 และ 91/16
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2796-2801/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินที่ได้รับหลังเลิกบริษัท ไม่ใช่เงินปันผล แต่เป็นผลประโยชน์จากการเลิกบริษัท ไม่อาจขอเครดิตภาษีได้
ประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติถึงความหมายของคำว่า "เงินปันผล" ไว้โดยเฉพาะการพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับจากผู้ชำระบัญชีของบริษัท ข. เป็นเงินปันผลหรือไม่จึงต้องพิเคราะห์จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับเงินปันผลและเงินสำรองของบริษัทจำกัดไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ22 หมวด ส่วนที่ 3 ข้อ 5 ตั้งแต่มาตรา 1200 ถึงมาตรา 1205
ในระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี แต่การที่ผู้ชำระบัญชีขายทรัพย์สินและดำเนินการต่าง ๆหลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ขยายออกไป ก็เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นเพื่อชำระสะสางการงานของบริษัทให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้นรายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชีที่มีเหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจึงมิใช่ผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่จะต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนเมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้วหรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 เงินที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ข. เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว จึงมิใช่เงินปันผลที่ได้จากบริษัทซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่บริษัทเลิกกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัท โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ
ในระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี แต่การที่ผู้ชำระบัญชีขายทรัพย์สินและดำเนินการต่าง ๆหลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ขยายออกไป ก็เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นเพื่อชำระสะสางการงานของบริษัทให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้นรายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชีที่มีเหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจึงมิใช่ผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่จะต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนเมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้วหรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 เงินที่โจทก์ได้รับจากบริษัท ข. เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว จึงมิใช่เงินปันผลที่ได้จากบริษัทซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่บริษัทเลิกกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัท โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2796-2801/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีบริษัทเลิก: รายได้จากการขายทรัพย์สินหลังเลิกบริษัท ไม่ใช่เงินปันผล แต่เป็นผลประโยชน์ที่ต้องแบ่งคืนให้ผู้ถือหุ้น
ป. รัษฎากรไม่ได้บัญญัติถึงความหมายของ "เงินปันผล" ไว้โดยเฉพาะ การพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับจากผู้ชำระบัญชีของบริษัท ข. เป็นเงินปันผลหรือไม่ ต้องพิจารณาจากบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ที่บัญญัติเกี่ยวกับเงินปันผลและเงินสำรองของบริษัทจำกัดในบรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 4 ส่วนที่ 3 ข้อ 5
ป.พ.พ. มาตรา 1200 , 1201 วรรคสาม และ 1202 แสดงให้เห็นว่า เงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกำไรที่บริษัทได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนไว้ และเพื่อไม่ให้บริษัทนำผลกำไรที่ได้รับดังกล่าวมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหมดจนขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ มาตรา 1202 จึงบังคับให้บริษัทต้องจัดสรรกำไรที่ได้รับจากการประกอบกิจการส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินทุนสำรองทุกคราวที่จ่ายเงินปันผล แต่เมื่อบริษัทเลิกกัน ป.พ.พ. ได้บัญญัติถึงการชำระบัญชีไว้โดยเฉพาะในหมวด 5 โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ในมาตรา 1250 และ 1259 นอกจากนี้ ป. รัษฎากร มาตรา 72 วรรคสอง ยังบัญญัติให้ถือว่า วันที่จดทะเบียนเลิกบริษัทเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีตามแบบและเวลาภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 68 และ 69 โดยอนุโลม ดังนั้น ระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทดังกล่าวยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี แต่การที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัทขายทรัพย์สินของบริษัทและดำเนินกิจการต่าง ๆ หลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ขยายออกไปโดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา 72 วรรคสาม เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่ ป.พ.พ. ได้กำหนดไว้ระหว่างที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ เพื่อชำระสะสางการงานให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้น รายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นระหว่างการชำระบัญชีดังกล่าวที่เหลืออยู่หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว จึงมิใช่ผลกำไรจากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นสินทรัพย์ที่ต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วน เมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้ว หรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1269
เงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับจากผู้ชำระบัญชี ในระหว่างการชำระบัญชีไม่ใช่เงินปันผลตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (4) (ข) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฉ) เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัทดังกล่าว และไม่มีสิทธินำไปเครดิตภาษี ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 47 ทวิ
ป.พ.พ. มาตรา 1200 , 1201 วรรคสาม และ 1202 แสดงให้เห็นว่า เงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกำไรที่บริษัทได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนไว้ และเพื่อไม่ให้บริษัทนำผลกำไรที่ได้รับดังกล่าวมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหมดจนขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ มาตรา 1202 จึงบังคับให้บริษัทต้องจัดสรรกำไรที่ได้รับจากการประกอบกิจการส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินทุนสำรองทุกคราวที่จ่ายเงินปันผล แต่เมื่อบริษัทเลิกกัน ป.พ.พ. ได้บัญญัติถึงการชำระบัญชีไว้โดยเฉพาะในหมวด 5 โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ในมาตรา 1250 และ 1259 นอกจากนี้ ป. รัษฎากร มาตรา 72 วรรคสอง ยังบัญญัติให้ถือว่า วันที่จดทะเบียนเลิกบริษัทเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีตามแบบและเวลาภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 68 และ 69 โดยอนุโลม ดังนั้น ระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทดังกล่าวยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี แต่การที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัทขายทรัพย์สินของบริษัทและดำเนินกิจการต่าง ๆ หลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ขยายออกไปโดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากรตามมาตรา 72 วรรคสาม เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่ ป.พ.พ. ได้กำหนดไว้ระหว่างที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ เพื่อชำระสะสางการงานให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้น รายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นระหว่างการชำระบัญชีดังกล่าวที่เหลืออยู่หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว จึงมิใช่ผลกำไรจากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นสินทรัพย์ที่ต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วน เมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้ว หรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1269
เงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับจากผู้ชำระบัญชี ในระหว่างการชำระบัญชีไม่ใช่เงินปันผลตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (4) (ข) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฉ) เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัทดังกล่าว และไม่มีสิทธินำไปเครดิตภาษี ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 47 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2796-2801/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินที่ได้รับหลังเลิกบริษัทไม่ใช่เงินปันผล แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการชำระบัญชี
ประมวลรัษฎากรฯ มิได้บัญญัติถึงความหมายของคำว่า "เงินปันผล" ไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การพิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ทั้งหกได้รับจากผู้ชำระบัญชีของบริษัท ข. เป็นเงินปันผลหรือไม่ จึงต้องพิเคราะห์จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับเงินปันผลและเงินสำรองของบริษัทจำกัดไว้ตั้งแต่มาตรา 1200 ถึงมาตรา 1205 จากบทบัญญัติของกฎหมายแสดงให้เห็นว่า เงินปันผลที่บริษัทจำกัดจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งของกำไรที่บริษัทได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนไว้ และเพื่อป้องกันมิให้บริษัทนำผลกำไรที่ได้รับมาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหมดจนขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการต่อไป มาตรา 1202 จึงบังคับให้บริษัทต้องจัดสรรกำไรที่ได้รับจากการประกอบกิจการส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรองทุกคราวที่จ่ายเงินปันผล
เมื่อบริษัทเลิกกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติถึงการชำระบัญชีของบริษัทไว้ในมาตรา 1249 ให้ถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และกำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ในมาตรา 1250 ว่าหน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทนั้น โดยในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจที่จะกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 เพื่อชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี ส่วนทรัพย์สินของบริษัทนั้นจะแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทเท่านั้นตามมาตรา 1269
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 72 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่า วันที่จดทะเบียนเลิกบริษัทเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และให้ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีตามแบบและภายในกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 68 และ 69 โดยอนุโลม หากไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ มาตรา 72 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก และอธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปอีกด้วยก็ได้ ดังนั้น ในระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีแต่การที่ผู้ชำระบัญชีขายทรัพย์สินของบริษัทและดำเนินกิจการต่าง ๆ หลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ขยายออกไป ก็เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นเพื่อชำระสะสางการงานของบริษัทให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้นรายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชีที่มีเหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว จึงมิใช่ผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่จะต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนเมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้ว หรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 เงินที่โจทก์ที่ 1ถึงที่ 4 ภริยา โจทก์ที่ 5 และโจทก์ที่ 6 ได้รับจากบริษัท ข. เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วจำนวนดังกล่าว จึงมิใช่เงินปันผลที่ได้จากบริษัทซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากรฯ แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่บริษัท ข. เลิกกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากรฯ เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัทดังกล่าว โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรฯ
เมื่อบริษัทเลิกกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติถึงการชำระบัญชีของบริษัทไว้ในมาตรา 1249 ให้ถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และกำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ในมาตรา 1250 ว่าหน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทนั้น โดยในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจที่จะกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 เพื่อชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี ส่วนทรัพย์สินของบริษัทนั้นจะแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทเท่านั้นตามมาตรา 1269
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 72 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่า วันที่จดทะเบียนเลิกบริษัทเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และให้ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีตามแบบและภายในกำหนดเวลาตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 68 และ 69 โดยอนุโลม หากไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ มาตรา 72 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอขยายระยะเวลาออกไปอีก และอธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปอีกด้วยก็ได้ ดังนั้น ในระหว่างการชำระบัญชีของบริษัท ข. แม้จะถือว่าบริษัทยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีแต่การที่ผู้ชำระบัญชีขายทรัพย์สินของบริษัทและดำเนินกิจการต่าง ๆ หลังจากจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว เป็นเหตุให้บริษัทมีรายได้ในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ขยายออกไป ก็เป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ในระหว่างที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นเพื่อชำระสะสางการงานของบริษัทให้สิ้นไป และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้นรายได้ของบริษัทที่เกิดขึ้นในระหว่างการชำระบัญชีที่มีเหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว จึงมิใช่ผลกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของบริษัท แต่เป็นผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ของบริษัทและเป็นทรัพย์สินของบริษัทที่จะต้องแบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนเมื่อได้กันส่วนที่จะต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของบริษัทแล้ว หรือเมื่อชำระบัญชีเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 เงินที่โจทก์ที่ 1ถึงที่ 4 ภริยา โจทก์ที่ 5 และโจทก์ที่ 6 ได้รับจากบริษัท ข. เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วจำนวนดังกล่าว จึงมิใช่เงินปันผลที่ได้จากบริษัทซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากรฯ แต่เป็นผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการที่บริษัท ข. เลิกกัน ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากรฯ เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุนที่โจทก์แต่ละคนลงทุนในบริษัทดังกล่าว โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรฯ