คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วงศ์ยืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9045/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายต่างกรรมต่างวาระ: ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง แม้เกิดเหตุต่อเนื่องจากวิวาทก่อนหน้า
คดีนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นหญิงสมัครใจเข้าวิวาทกับ ภ. ต่างคนต่างทำร้ายซึ่งกันและกันแต่พละกำลังโจทก์สู้ ภ. ไม่ได้ จึงล้มลงกับพื้นในลักษณะนอนหงาย จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของ ภ. ตรงเข้าทำร้ายโจทก์โดยไม่ได้มีเหตุโกรธเคืองหรือทะเลาะวิวาทกับโจทก์มาก่อน แม้ว่าโจทก์และ ภ. จะถูกฟ้องดำเนินคดีทั้งสองคนและคดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกาย โดยเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกันกับ ภ. แม้จะเป็นเวลาใกล้เคียงต่อเนื่องกันก็ตาม พฤติการณ์แห่งคดีชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ฉวยโอกาสทำร้ายโจทก์ทั้งที่โจทก์ไม่มีทางสู้ โจทก์ไม่ได้สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทและกระทำผิดต่อจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายโจทก์ฝ่ายเดียว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายทั้งตามความเป็นจริงและตามกฎหมายมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) , 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) และการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยใช้อำนาจตามมาตรา 71(1) ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เป็นการปฏิบัติไปตามมาตรา 71(1)จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิก็ตาม
บทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสามระบุให้คำนวณเงินเพิ่มโดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 69 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 และการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ชอบด้วยกฎหมาย
การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) กฎหมายบัญญัติให้เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในมาตรา 71 วรรคสอง ว่า ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 เจ้าพนักงานประเมินจะใช้ดุลพินิจประเมินให้เสียภาษีตามบทบัญญัติในมาตราอื่นก็ได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้อำนาจตามมาตรา 71 (1) ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จึงเป็นการปฏิบัติไปตามมาตรา 71 (1) การกระทำของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคหนึ่งระบุว่า บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมินให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ และในวรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่มให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 69 บัญญัติว่า บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษี การรับหนังสือโดยผู้รับมอบอำนาจ และกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยผู้รับมอบอำนาจของนิติบุคคล ถือเป็นการได้รับแจ้งการประเมินตามกฎหมาย
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ย่อมหมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบอำนาจของโจทก์รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานสรรพากรแล้ว ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ไปเสียภาษีในวันดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8327/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากค่าวัสดุอุปกรณ์ได้รับการยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาฯ การประเมินภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรไม่ชอบ
สัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย คู่สัญญามีเจตนาแยกเป็นสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์และสัญญาจ้างทำของ ในส่วนสัญญาซื้อขายถือไม่ได้ว่าเกิดจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย เมื่อขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีสถานประกอบการถาวรตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น รายได้จากค่าวัสดุอุปกรณ์โจทก์จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฯ โจทก์จึงไม่ต้องนำรายได้ค่าวัสดุอุปกรณ์ในปี 2532 และปี 2533 มาเป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 และปี 2533 ตามลำดับ
รายได้ค่าวัสดุอุปกรณ์โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และจำเลยไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการจำหน่ายเงินกำไรส่วนอื่นออกไปจากประเทศไทย การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์เมื่อไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ประสงค์จะขอทุเลาภาษีซึ่งตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรโจทก์ที่ 1 กำหนดให้นำหลักทรัพย์ไปประกันอย่างใดอย่างหนึ่งคือ โฉนดที่ดินซึ่งมีราคาเป็น 2 เท่าของเงินภาษีที่ค้างชำระโดยจำนองแก่ทางราชการ หรือจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน การที่จำเลยที่ 2ซึ่งมิใช่ธนาคารทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ทั้งสองจึงไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ที่ 2ได้มีหนังสือสอบถามโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือตอบโจทก์ที่ 2ว่าไม่ตรงตามหลักเกณฑ์วางไว้ ขอให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องทั้งโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ตกลงยอมรับการค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 1 จะเคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งว่าได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ภาษีอากรได้ แต่ก็ได้ระบุต่อไปว่า จะต้องให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันให้ถูกต้องจึงมิใช่การยอมรับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 จัดทำส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้มุ่งประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โดยเข้าถือเอาสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เมื่อต่อมาหลังจากที่จำเลยที่ 2 เสนอหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสองแล้วเป็นเวลา 6 ปีแต่โจทก์ทั้งสองไม่รับ จำเลยที่ 2 ได้ขอหนังสือสัญญาค้ำประกันคืนจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์เมื่อหลักประกันไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ประสงค์จะขอทุเลาภาษีซึ่งตามหลักเกณฑ์ของโจทก์ที่ 1 (กรมสรรพากร) กำหนดให้นำหลักทรัพย์ไปประกันหนี้ภาษีอากรอย่างใดอย่างหนึ่งคือ โฉนดที่ดินซึ่งมีราคาเป็น 2 เท่าของเงินภาษีที่ค้างชำระ โดยจำนองแก่ทางราชการ หรือจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน การที่จำเลยที่ 2 เข้ามาทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ทั้งสองจึงไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ที่ 2 ได้มีหนังสือสอบถามโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือตอบโจทก์ที่ 2 ว่าการค้ำประกันดังกล่าวไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ ขอให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้อง ทั้งโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองเสียใหม่ให้ถูกต้อง หรือหากไม่จดทะเบียนจำนองก็ต้องจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ตกลงยอมรับการค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ประการใด แม้โจทก์ที่ 1 จะเคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งว่าได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ภาษีอากรได้แต่ก็ได้ระบุต่อไปว่า จะต้องให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันให้ถูกต้อง การแจ้งอนุมัติดังกล่าวจึงหาใช่การยอมรับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 จัดทำส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้มุ่งประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โดยเข้าถือเอาสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การนอกสถานที่: เหตุสุดวิสัย, คำสั่งศาลที่คลาดเคลื่อน, และการขยายเวลา
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง จำเลยจะต้องยื่นเอกสารและคำคู่ความต่าง ๆ โดยตรงต่อศาลภาษีอากรกลาง การที่จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่ จึงต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 10
จำเลยยื่นคำให้การพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การที่ศาลภาษีอากรกลางเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง ป.วิ.พ. จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยยื่นคำแถลงต่อศาลจังหวัดนราธิวาส และศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใด จึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบต่อศาลจังหวัดนราธิวาสจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีภากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7443/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การนอกสถานที่: เหตุสุดวิสัย-คำสั่งศาลที่ขัดแย้ง-ผลกระทบต่อการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง จำเลยจะต้องยื่นเอกสารและคำคู่ความต่าง ๆ โดยตรงต่อศาลภาษีอากรกลาง การที่จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่ จึงต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 10 การที่จำเลยยื่นคำให้การภายในกำหนดพร้อมคำแถลงโดยมิได้ทำเป็นคำร้องต่อศาลจังหวัดนราธิวาสโดยอ้างเพียงว่าจะครบกำหนดยื่นคำให้การ ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ทันที่ศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ศาลจังหวัดนราธิวาสรับคำให้การและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งโดยทางโทรสารให้ด้วย และไม่ได้ระบุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดจึงเดินทางไปยื่นคำให้การเองไม่ได้ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 10 จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำให้การที่ศาลจังหวัดนราธิวาสได้
แต่การที่จำเลยได้เคยขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การผ่านศาลจังหวัดนราธิวาสมาก่อนแล้วครั้งหนึ่งและศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาสั่งคำแถลงดังกล่าวให้ทั้งที่กรณีไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอย่างใดนั้นจึงไม่ชอบ การที่ศาลภาษีอากรกลางยอมรับและมีคำสั่งให้ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจว่าสามารถยื่นคำให้การต่อศาลจังหวัดนราธิวาสได้เช่นกัน การที่จำเลยยื่นคำให้การโดยมิชอบจึงสืบเนื่องมาจากการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม แต่เนื่องจากได้ล่วงเลยระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยแล้ว กรณีเป็นเหตุสุดวิสัยที่สมควรขยายระยะเวลาให้จำเลยดำเนินการยื่นคำให้การต่อศาลภาษีอากรกลางต่อไป
of 37