พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: หนี้ยังไม่แน่นอน แม้มีการอุทธรณ์ ไม่ถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิ
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินได้หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แม้ว่าการที่จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีไม่แน่นอน โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัย ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่ง ของเจ้าพนักงานประเมินได้ หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อหนี้ยังไม่แน่นอนจึงหาอาจถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้วได้ไม่ แม้การที่จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของกองมรดกและการนับปีที่ถือครอง
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายรับโอนที่ดินสามแปลงมาจากนาย อ. ตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่จำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้ตาย โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายแล้วจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายให้แก่ผู้อื่นในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาภายหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มานั้นออกไป เงินได้จากการขายที่ดินจึงไม่ใช่เงินที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากรฯ ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข)
สำหรับจำนวนปีที่ถือครองนั้นต้องนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์จนถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 48(4) วรรคท้ายเมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเมื่อวันที่15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่
สำหรับจำนวนปีที่ถือครองนั้นต้องนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์จนถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 48(4) วรรคท้ายเมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาเมื่อวันที่15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์มรดก: การจำแนกประเภททรัพย์สินและระยะเวลาการถือครอง
เงินได้จากการขายที่ดินทั้งห้าแปลงตามฟ้อง เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ของกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในชื่อกองมรดกของผู้ตายตามมาตรา 57 ทวิ วรรคสอง เมื่อกองมรดกมีเงินได้ตามมาตรา 40(8) จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ผู้จ่ายเงินได้จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5)(ก) โดยคำนวณตามมาตรา 48(4)(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา หรือหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5)(ข) โดยคำนวณตามมาตรา 48(4)(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นแล้วแต่กรณี แล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
สำหรับที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนรับโอนมาจาก อ. ตามคำพิพากษา โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 แล้วจดทะเบียนโอนขายให้แก่ บริษัท ค. ในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มาดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินมิใช่เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข) ส่วนจำนวนปีที่ถือครองตามมาตรา 48(4) วรรคท้าย ระบุว่าหมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ การที่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวตามมาตรา 50(5)(ข) ประกอบมาตรา 48(4)(ข) และนับจำนวนปีที่ถือครองเพียง 1 ปี จึงถูกต้องแล้ว
ส่วนที่ดินที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีอยู่แล้วก่อนตาย เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) ประกอบมาตรา 48(4)(ก) ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยนำเงินได้จากการขายที่ดินมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48(4)(ก) และคิดจำนวนปีที่ถือครองนับตั้งแต่ปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการคำนวณตรงตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่เกี่ยวกับภาษีในส่วนนี้จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนรับโอนมาจาก อ. ตามคำพิพากษา โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 แล้วจดทะเบียนโอนขายให้แก่ บริษัท ค. ในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มาดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินมิใช่เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข) ส่วนจำนวนปีที่ถือครองตามมาตรา 48(4) วรรคท้าย ระบุว่าหมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ การที่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวตามมาตรา 50(5)(ข) ประกอบมาตรา 48(4)(ข) และนับจำนวนปีที่ถือครองเพียง 1 ปี จึงถูกต้องแล้ว
ส่วนที่ดินที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีอยู่แล้วก่อนตาย เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) ประกอบมาตรา 48(4)(ก) ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยนำเงินได้จากการขายที่ดินมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48(4)(ก) และคิดจำนวนปีที่ถือครองนับตั้งแต่ปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการคำนวณตรงตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่เกี่ยวกับภาษีในส่วนนี้จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7259/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้เป็นเพียงผู้รับจ้างส่งของ ก็ถือว่ามีความผิดสำเร็จ
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาเพียงอย่างเดียว แต่ฎีกาของจำเลยพอแปลได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีน 8,200 เม็ด แบ่งบรรจุในถุงพลาสติกมีฝาเปิดปิดใส่อยู่ในผ้าอนามัยไว้บริเวณสายรัดเสื้อชั้นในด้านข้างจำนวนข้างละ 1 ชิ้น และเป้ากางเกงชั้นในอีก 1 ชิ้น เป็นการยึดถือเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ แม้จำเลยจะรับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีน
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน8,200 เม็ด น้ำหนัก 712.93 กรัม ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 158.615 กรัม ถือได้ว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว และแม้จำเลยจะเป็นผู้รับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งที่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยถูกจับที่จังหวัดเชียงรายเสียก่อน ก็ไม่เป็นการพยายามกระทำความผิดเพราะการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายย่อมเป็นความผิดสำเร็จตลอดเวลาที่จำเลยครอบครอง
จำเลยซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีน 8,200 เม็ด แบ่งบรรจุในถุงพลาสติกมีฝาเปิดปิดใส่อยู่ในผ้าอนามัยไว้บริเวณสายรัดเสื้อชั้นในด้านข้างจำนวนข้างละ 1 ชิ้น และเป้ากางเกงชั้นในอีก 1 ชิ้น เป็นการยึดถือเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ แม้จำเลยจะรับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีน
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีน8,200 เม็ด น้ำหนัก 712.93 กรัม ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 158.615 กรัม ถือได้ว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว และแม้จำเลยจะเป็นผู้รับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งที่กรุงเทพมหานคร แต่จำเลยถูกจับที่จังหวัดเชียงรายเสียก่อน ก็ไม่เป็นการพยายามกระทำความผิดเพราะการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายย่อมเป็นความผิดสำเร็จตลอดเวลาที่จำเลยครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7259/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย แม้เป็นเพียงผู้รับจ้างขนส่ง ถือเป็นความผิดสำเร็จตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด
โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง , 102 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 จำคุกจำเลย 25 ปี แม้จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาเพียงอย่างเดียว และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่ฎีกาของจำเลยแปลว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
การที่จำเลยซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในตัวจำเลยย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยเจตนายึดถือ เมทแอมเฟตามีนดังกล่าว แม้จำเลยจะรับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้ว
พ.ร.บ. บัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือ มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไปให้ถือว่า ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย บทบัญญัติดังกล่าวเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด เมื่อเมทแอมเฟ-ตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 8,200 เม็ด น้ำหนัก 712.93 กรัม ที่จำเลยมีไว้ในครอบครอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 158.615 กรัม ถือได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดสำเร็จตลอดเวลาที่มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง แม้จำเลยจะเป็นผู้รับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งที่จุดหมายปลายทาง แต่จำเลยถูกจับเสียก่อน ก็ต้องถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้วหาใช่เป็นเพียงการพยายามกระทำความผิดไม่
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุก 25 ปี เป็นการลงโทษขั้นต่ำตามกฎหมายแล้ว
การที่จำเลยซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในตัวจำเลยย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยเจตนายึดถือ เมทแอมเฟตามีนดังกล่าว แม้จำเลยจะรับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้แก่ผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ก็ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้ว
พ.ร.บ. บัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือ มีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไปให้ถือว่า ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย บทบัญญัติดังกล่าวเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด เมื่อเมทแอมเฟ-ตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 8,200 เม็ด น้ำหนัก 712.93 กรัม ที่จำเลยมีไว้ในครอบครอง คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 158.615 กรัม ถือได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดสำเร็จตลอดเวลาที่มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง แม้จำเลยจะเป็นผู้รับจ้างนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปส่งที่จุดหมายปลายทาง แต่จำเลยถูกจับเสียก่อน ก็ต้องถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้วหาใช่เป็นเพียงการพยายามกระทำความผิดไม่
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คงจำคุก 25 ปี เป็นการลงโทษขั้นต่ำตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7151/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนอง: แม้เลขโฉนดผิดพลาด แต่หากจำเลยไม่โต้แย้งถือว่าเป็นการบอกกล่าวที่ชอบแล้ว
การบอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 กฎหมายมิได้บัญญัติบังคับว่าหนังสือบอกกล่าวจะต้องมีรายการอะไรบ้าง เพียงแต่บัญญัติไว้กว้าง ๆ ว่า เมื่อจะบังคับจำนองผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าว หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง เพียงมีข้อความให้ผู้จำนองเข้าใจได้ว่าถูกบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว ย่อมมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำนองที่ดินโฉนดรวม 8 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ และโจทก์ฟ้องหนี้เงินกู้รายนี้กับขอให้บังคับจำนองที่ดินรวม 8 โฉนด พร้อมแนบสำเนาหนังสือจำนอง และสำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองท้ายฟ้องด้วย สำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองท้ายฟ้องนั้นตรงกับสำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองเอกสารหมาย จ.11 ระบุเลขโฉนดที่ดินจำนองผิดไป คงบอกถูกเพียงฉบับเดียวคือ โฉนดเลขที่ 27641 เท่านั้น แต่อ้างถึงสัญญากู้ที่จำเลยกู้ไปถูกต้อง ชั้นให้การต่อสู้คดีจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การให้เป็นประเด็นแต่ประการใดเลยว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบเพราะเหตุที่ว่ามิได้บอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินที่จำนองไว้อีก 7 แปลง คงสู้แต่เหตุอื่นคือ ผู้ลงนามในหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง ไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ เพราะไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากโจทก์ให้มีอำนาจทำหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมายแทนโจทก์ ถือว่าโจทก์ยังมิได้มีการบังคับจำนอง แสดงว่าจำเลยเข้าใจได้ดีว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่จำนองไว้ หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ถือว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินแปลงอื่นอีก 7 แปลง ที่จำนองไว้ รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 27641 โจทก์ย่อมบังคับจำนองเอากับที่ดินที่จำนองไว้อีก 7 แปลงได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำนองที่ดินโฉนดรวม 8 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ และโจทก์ฟ้องหนี้เงินกู้รายนี้กับขอให้บังคับจำนองที่ดินรวม 8 โฉนด พร้อมแนบสำเนาหนังสือจำนอง และสำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองท้ายฟ้องด้วย สำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองท้ายฟ้องนั้นตรงกับสำเนาหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองเอกสารหมาย จ.11 ระบุเลขโฉนดที่ดินจำนองผิดไป คงบอกถูกเพียงฉบับเดียวคือ โฉนดเลขที่ 27641 เท่านั้น แต่อ้างถึงสัญญากู้ที่จำเลยกู้ไปถูกต้อง ชั้นให้การต่อสู้คดีจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การให้เป็นประเด็นแต่ประการใดเลยว่า โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบเพราะเหตุที่ว่ามิได้บอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินที่จำนองไว้อีก 7 แปลง คงสู้แต่เหตุอื่นคือ ผู้ลงนามในหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง ไม่มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ เพราะไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากโจทก์ให้มีอำนาจทำหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมายแทนโจทก์ ถือว่าโจทก์ยังมิได้มีการบังคับจำนอง แสดงว่าจำเลยเข้าใจได้ดีว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่จำนองไว้ หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ถือว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองที่ดินแปลงอื่นอีก 7 แปลง ที่จำนองไว้ รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 27641 โจทก์ย่อมบังคับจำนองเอากับที่ดินที่จำนองไว้อีก 7 แปลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาณการภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดเกิน 25% และการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาหักลดหย่อน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้แก้ไขการประเมิน
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 67 ทวิ (1) หรือยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) โดยประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20ของจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวินี้ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้เป็นการเฉพาะแล้วอีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ เป็นเรื่องของการประมาณการหากไม่ได้ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานจะทราบและสามารถประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อผู้ต้องเสียภาษียื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากรฯ เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่จำต้องหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการตามแบบไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินเพิ่มตามที่ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 ด้วย ดังนั้นเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ภาษี, การแยกพิจารณาภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม, หลักการประมาณการกำไรสุทธิเกินร้อยละ 25
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้แสดงหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับรายได้โจทก์และบัญชีรายได้ของโจทก์ว่าโจทก์ มีบัญชีรายได้เป็นเงิน 16,834,480.41 บาท ซึ่งตรงกับงบดุลในปี 2535 แต่เจ้าพนักงานของจำเลยได้คำนวณรายได้ ของโจทก์รวมทั้งสิ้น 16,982,605.43 บาท และแจ้งว่าโจทก์บันทึกรายได้ต่างจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน 148,125.02 บาท ซึ่งยอดตามที่เจ้าพนักงานจำเลยคำนวณมานั้น เจ้าพนักงานได้บวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปด้วย การที่โจทก์ อุทธรณ์ว่า โจทก์มีรายได้จำนวนตามฟ้อง เพราะเวลาที่โจทก์ขายน้ำมันจะมีส่วนลดให้แก่ลูกค้า ยอดที่จำเลยคำนวณ ไม่ตรงกันเพราะคิดเฉลี่ยจากราคาเต็มไม่คิดส่วนลดให้ และราคาเฉลี่ยที่เจ้าพนักงานสรรพากรประเมินอาจไม่ตรงกับราคาน้ำมันในแต่ละวัน เป็นการคำนวณไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนอาจผิดหรือถูกก็ได้นั้น เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ (1) หรือยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตาม มาตรา 67 ตรี ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือ ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและสามารถประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องการยื่นรายการตามแบบไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินเพิ่มตามที่ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมิน จึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า ภาษีที่ชำระตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 68 ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 (ครึ่งปี) ที่เจ้าพนักงานประเมินจำนวน 23,425.27 บาท จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าภาษีที่โจทก์ต้องชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นตามปกติและที่ได้ยื่นเพิ่มเติมรวมทั้ง จะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เนื่องจากบันทึกยอดขายขาดไป ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีจำนวนดังกล่าว จึงซ้ำซ้อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 67 ตรี บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยไม่มีเหตุอันสมควรเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสีย ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี เมื่อโจทก์มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะนำมาหักได้ตามกฎหมายในรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ซึ่งแบบ ภ.ง.ด. 51 ของจำเลยก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แล้วจึงนำมาถือเป็นภาษีเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติม โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปมาหักได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต้องแยกคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของภาษีทั้งสองประเภทมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและมีวิธีการคำนวณแตกต่างกัน เมื่อทุนทรัพย์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีที่พิพาท 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์เสียภาษีครบถ้วนถูกต้องแล้วโดยมียอดขายจำนวน 367,496.49 บาท และยอดซื้อจำนวน 339,058.97 บาท เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ (1) หรือยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตาม มาตรา 67 ตรี ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือ ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและสามารถประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวน ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องการยื่นรายการตามแบบไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินเพิ่มตามที่ตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมิน จึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า ภาษีที่ชำระตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 68 ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 (ครึ่งปี) ที่เจ้าพนักงานประเมินจำนวน 23,425.27 บาท จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าภาษีที่โจทก์ต้องชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เมื่อโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ตามแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และ 69 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นตามปกติและที่ได้ยื่นเพิ่มเติมรวมทั้ง จะต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 เนื่องจากบันทึกยอดขายขาดไป ตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีจำนวนดังกล่าว จึงซ้ำซ้อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 67 ตรี บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีโดยไม่มีเหตุอันสมควรเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสีย ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี เมื่อโจทก์มีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจะนำมาหักได้ตามกฎหมายในรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ซึ่งแบบ ภ.ง.ด. 51 ของจำเลยก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แล้วจึงนำมาถือเป็นภาษีเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติม โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปมาหักได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ มิได้อุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต้องแยกคำนวณจากทุนทรัพย์ที่พิพาทเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของภาษีทั้งสองประเภทมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและมีวิธีการคำนวณแตกต่างกัน เมื่อทุนทรัพย์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีที่พิพาท 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์เสียภาษีครบถ้วนถูกต้องแล้วโดยมียอดขายจำนวน 367,496.49 บาท และยอดซื้อจำนวน 339,058.97 บาท เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้าน ไม่ใช่แค่ค่าเช่าปีก่อน และต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
การประเมินค่ารายปีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯนอกจากจะนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักแล้ว ยังต้องคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ รวมทั้งยังต้องดูหลักเกณฑ์อื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ด้วย การนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเพียงข้อเดียวมากำหนดค่ารายปีในเมื่อค่ารายปีของโรงเรือนอาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ถูกต้อง สำหรับการกำหนดค่ารายปีคดีนี้ ศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดโดยการประเมินให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ดรรชนีราคาผู้บริโภคของทางราชการเพื่อความเป็นธรรมแล้วกำหนดเป็นค่าเช่าต่อหนึ่งตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งค่าเช่าดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ค่าเช่าภายในของอาคารที่โจทก์มีห้องชุดให้เช่า จึงถือได้ว่ามีความเหมาะสมแล้ว