คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วงศ์ยืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6904/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: พนักงานเจ้าหน้าที่แก้ไขค่ารายปีได้เมื่อมีเหตุผลตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 มิได้บังคับให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว มาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเพียงแต่ให้นำมาเป็นหลักในการคำนวณเท่านั้นและสำหรับค่ารายปีนั้นมาตรา 8 ให้ความหมายว่า คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ จึงแสดงว่าค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6904/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ได้เมื่อมีเหตุอันสมควร และการประเมินโดยพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 มิได้บัญญัติบังคับให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว มาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเพียงแต่ให้นำมาเป็นหลักในการคำนวณเท่านั้น เนื่องจากค่ารายปีย่อมอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง
ค่ารายปีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 8 ให้ความหมายว่า คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แสดงว่า ค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน ซึ่งโจทก์ยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีในปี 2540 ถึงปี 2542 โจทก์แจ้งรายการทรัพย์สินไม่ครบตามความเป็นจริง ครั้นเทศบาลตำบลจำเลยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปสำรวจทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อประเมินภาษีในปี 2543 จำนวน 26 รายการ โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 8 รายการ แสดงว่าค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์ที่ใช้ในการประเมินเพื่อ เสียภาษีในปี 2540 ถึงปี 2542 ไม่ถูกต้องและต่ำกว่าความเป็นจริง กรณีจึงถือได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดค่ารายปีของปี 2543 เสียใหม่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้นำหลักเรื่องการแบ่งทำเลทรัพย์สินซึ่งมีการกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนแตกต่างกันในแต่ละทำเลมาใช้กับกรณีของโจทก์ โดยเห็นว่าทรัพย์สินของโจทก์อยู่ในทำเลที่ 2 กำหนดราคา ค่าเช่าทรัพย์สินที่เป็นอาคารในอัตรา 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการผลิต เช่น บ่อน้ำพื้นที่รวมและลานจอดรถพื้นที่รวมอัตรา 2 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สำหรับพื้นที่ต่อเนื่องของโจทก์ก็กำหนดอัตรา 0.50 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งลดจำนวนเดือนในการคิดค่ารายปีเหลือแค่ 7 เดือนครึ่งแล้ว ประเมินภาษีของโจทก์เป็นเงินเพียง 486,368 บาท นับว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีเพื่อประเมินภาษีของโจทก์ โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง โดยรอบคอบและเหมาะสมถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการผลิตเพื่อส่งออก
จำเลยได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิและประโยชน์แก่จำเลยโดยให้จำเลยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าว แต่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องนำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวนั้นไปใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก และไม่ปรากฏข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าในกรณีอื่น นอกเหนือจากข้อที่ให้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศไปทำการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกไว้ จึงต้องถือว่าจำเลยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าวเพียงกรณีเดียวเป็นเด็ดขาดกล่าวคือ จำเลยต้องนำไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเท่านั้น
พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 54 วรรคสองใช้ถ้อยคำว่า คณะกรรมการจะสั่งให้สำนักงานเตือนผู้ได้รับการส่งเสริมก่อนก็ได้ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข แสดงว่านอกจากในกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยจงใจ ซึ่งคณะกรรมการต้องเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แล้ว แม้เป็นกรณีผู้ได้รับการส่งเสริมมิได้จงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข กฎหมายก็ยังให้อำนาจคณะกรรมการสามารถสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ เมื่อจำเลยนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้อง 2 ครั้งหากจำเลยไม่ใช่ผู้ได้รับการส่งเสริมโดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าตามฟ้องตั้งแต่ขณะนำเข้าเพราะวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ต้องนำเข้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ตามปกติแล้วผู้นำเข้าจะต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า เมื่อจำเลยเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้าในกรณีเช่นนี้ไปแล้ว แม้ต่อมาสินค้าดังกล่าวจะสูญหาย ถูกทำลาย หรือเกิดเหตุเพลิงไหม้เสียหายจำเลยก็หาอาจร้องขอคืนอากรขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับสินค้าที่เสียหายไปได้ไม่
จำเลยเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับสิทธิและประโยชน์โดยไม่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้า แต่จำเลยไม่ได้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกเนื่องจากเกิดเพลิงไหม้ จึงไม่อาจนำไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกรณีก็ต้องถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามเงื่อนไขบัตรส่งเสริมการลงทุน การไม่นำวัตถุดิบไปใช้ผลิตเพื่อส่งออกทำให้ต้องเสียอากรและภาษี
จำเลยเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ได้รับสิทธิและประโยชน์โดยไม่ต้องชำระอากรขาเข้าและภาษีการค้าในขณะนำเข้าตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฯ แต่จำเลยไม่ได้นำวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าดังกล่าวไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก เนื่องจากเกิดเพลิงไหม้จึงไม่อาจนำไปผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดและมีหน้าที่ต้องเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีสัญญาปลื้องทุกข์: ผู้ไม่อ้างสิทธิในที่ดินฟ้องบังคับโอน
จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาท ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีที่ ล. มารดาโจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้ ท. จดทะเบียนโอนที่ดิน การที่จำเลยกับ ล. ทำหนังสือสัญญากันระบุว่า ล. จะจดทะเบียนแบ่งแยกโอนที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน ในคดีที่ ล. พิพาทกับ ท. ให้แก่จำเลยเมื่อคดีถึงที่สุด กับให้เงินสดอีก 100,000 บาท เพื่อปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5733/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินปันผลที่ได้รับยกเว้นภาษี การเปลี่ยนแปลงสถานะผู้ถือหุ้น และผลกระทบต่อการคำนวณรายได้
ขณะที่บริษัทสรรพสินค้าชิดลม จำกัด ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นประกาศจ่ายเงินปันผลให้โจทก์จำนวน 175,219,000 บาท ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าโจทก์มีรายได้ในเงินปันผลจำนวนดังกล่าวนั้น บริษัทสรรพสินค้าชิดลม จำกัด ยังมิได้เข้าถือหุ้นในบริษัทโจทก์ หรือเคยถือหุ้นในบริษัทโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมาก่อน เงินปันผลจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (10) (ข) การที่ ต่อมาบริษัทสรรพสินค้าชิดลม จำกัด เข้ามาถือหุ้นในบริษัทโจทก์ไม่ว่าจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีที่โจทก์ได้รับ เงินปันผลนั้นมาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่ทำให้เงินปันผลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวนนั้น ต้องกลับมาเป็นเงินปันผลที่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (10) วรรคหนึ่ง ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5733/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินปันผลยกเว้นภาษี: การถือหุ้นของผู้จ่ายปันผลหลังรับเงินปันผล ไม่ทำให้ต้องนำรายได้มาคำนวณภาษี
วันที่ 23 ธันวาคม 2536 บริษัทโจทก์ซื้อหุ้นของบริษัท ส. จำนวน 18,700,000 หุ้น ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดในบริษัท ส. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 บริษัท ส. ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ประกาศจ่ายเงินปันผลให้โจทก์จำนวน 175,219,000บาท และโจทก์ไม่ได้โอนหุ้นดังกล่าวไปก่อน 3 เดือน นับแต่ได้เงินปันผลต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2538 บริษัท ซ. และบริษัท อ. ซึ่งถือหุ้นของโจทก์จำนวน 34,879,982 หุ้น ได้ขายหุ้นดังกล่าวให้แก่บริษัท ส. ดังนั้น เมื่อขณะที่บริษัท ส. ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ประกาศจ่ายเงินปันผลให้โจทก์จำนวนดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่ถือว่าโจทก์มีรายได้ในเงินปันผลนั้น บริษัท ส. ยังมิได้เข้าถือหุ้นในบริษัทโจทก์ เงินปันผลจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(10)(ข) การที่บริษัท ส. เข้ามาถือหุ้นในบริษัทโจทก์ไม่ว่าจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีที่โจทก์ได้รับเงินปันผลนั้นมาหรือไม่ก็ตาม ไม่ทำให้เงินปันผลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวน ต้องกลับมาเป็นเงินปันผลที่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้กึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 65 ทวิ(10) วรรคหนึ่ง ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องค่าเสียหายจากการถอดถอนสมาชิกภาพ ต้องฟ้องรวมกับการเพิกถอนมติในคดีเดิม
โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ประการใดอันเกิดขึ้นหรือเกี่ยวกับการกระทำโดยมิชอบในการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกภาพนั้น โจทก์ย่อมต้องใช้สิทธิเรียกร้องมาในคราวเดียวกันทั้งหมด การที่โจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆอันเกิดแก่การที่โจทก์ต้องขาดจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1รวมไปกับฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1ในคดีก่อน แต่กลับมาเรียกร้องในคดีนี้โดยอาศัยเหตุแห่งการถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ละเมิด: การฟ้องร้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน และการกระทำที่มิได้เจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เนื่องมาจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 กรรมการได้มีมติถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 ประการใดอันเกิดขึ้นหรือเกี่ยวกับการกระทำโดยมิชอบในการถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกภาพนั้น โจทก์ย่อมต้องใช้สิทธิเรียกร้องมาในคราวเดียวกันทั้งหมด การที่โจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ อันเกิดแก่การที่โจทก์ต้องขาดจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 รวมไปกับการฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่กลับมาเรียกร้องในคดีนี้โดยอาศัยเหตุแห่งการถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพคราวเดียวกันซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหานี้แม้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้และไม่ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เมื่อเห็นสมควรเพราะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
สหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ประชุมคณะกรรมการดำเนินการและมีมติถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ อ้างว่าโจทก์กระทำการไม่ซื่อตรงหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนมติดังกล่าว และหลังจากศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนมติกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้จดแจ้งโจทก์กลับเข้าเป็นสมาชิกตามเดิม และโจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ถอดถอนสมาชิกภาพของโจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ประสงค์ให้โจทก์พ้นจากการเป็นกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการแกล้งหรือจงใจใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จงใจกลั่นแกล้งโจทก์อย่างไร และการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 มาประชุมและลงมติให้ถอดถอนโจทก์ออกจากสมาชิกภาพของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำหน้าที่ในการประชุมตามปกติ ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ แม้ภายหลังศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่า พฤติการณ์ของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์แสดงตนเป็นปฏิปักษ์หรือไม่ซื่อตรงต่อจำเลยที่ 1 หรือทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย ก็เป็นเรื่องของดุลยพินิจและความเห็นที่แตกต่างกัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคสอง, 77 และ 812

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดินถือเป็นขาย, การงดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา
ป. รัษฎากร มาตรา 39 บัญญัติคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึง ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใด และไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับผู้อื่นก็มีผลเท่ากับโจทก์ขายที่ดิน จึงต้องถือราคาขายที่ดินเป็นเงินได้ของโจทก์ หาใช่ถือเอาเฉพาะเงินที่โจทก์ได้รับมาเป็นรายได้ไม่ ที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายตามราคาตลาดในวันที่โอนที่ดินโดยอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว
โจทก์มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษี ทั้งโจทก์ให้ความร่วมมือแก่เจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบ ประกอบกับโจทก์มีวัตถุประสงค์เพื่ออุดหนุนและบำรุงการศึกษาบาลีของภิกษุสามเณร ที่ศาลภาษีอากรกลางงดเบี้ยปรับแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
ป. รัษฎากร มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้เกี่ยวกับภาษีอากรประเมินให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ" และมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรา 22 และมาตรา 26 และเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ให้ถือเป็นเงินภาษี และเบี้ยปรับดังกล่าวอาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเงินเพิ่มเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายมิได้เกิดจากข้อสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ และเฉพาะเบี้ยปรับเท่านั้นที่จะงดหรือลดลงได้ส่วนเงินเพิ่มไม่อาจกระทำเช่นนั้นได้ เงินเพิ่มจึงมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดลงได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางงดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบ
of 37