คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วงศ์ยืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษคดียาเสพติด: ศาลอุทธรณ์แก้จากครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะใช้ถ้อยคำว่าให้ยกฟ้องข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ก็มีผลเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษเท่านั้น มิได้แก้กำหนดโทษ ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกสาธารณสมบัติ การก่อสร้างบนที่ดินสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีการรื้อถอนแล้วก็ยังถือเป็นความผิด
แม้ทางราชการมิได้ใช้ที่ดินพิพาทที่ได้รับการให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ทำการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตามความประสงค์ของผู้ให้ ก็ไม่ได้ทำให้จำเลยทั้งสองเกิดสิทธิที่จะบุกรุกเข้าไปในที่ดินพิพาทก่อสร้างอาคารหรือปลูกสร้างท่าจอดเรือลงในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้อาคารที่ก่อสร้างจะถูกรื้อไปแล้วก็ไม่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นสำเร็จแล้วกลายเป็นไม่ผิด การกระทำของบริษัทจำเลยที่ 2 ที่กระทำลงไปนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวด้วย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง และ ป.อ. มาตรา 360 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่สาธารณะและแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อสร้างอาคารและท่าจอดเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต กรรมการบริษัทต้องรับผิดร่วมด้วย
ที่ดินที่ราชการได้รับการให้ แม้ทางราชการมิได้ใช้ทำการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตามความประสงค์ของผู้ให้ก็ไม่ได้ทำให้จำเลยทั้งสองเกิดสิทธิที่จะบุกรุกเข้าไปก่อสร้างอาคารหรือปลูกสร้างท่าจอดเรือลงในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่ได้รับอนุญาตและแม้อาคารที่ก่อสร้างจะถูกรื้อไปแล้วก็ไม่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นสำเร็จแล้วกลายเป็นไม่ผิด การกระทำของบริษัทจำเลยที่ 2 ที่กระทำลงไปนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งขับไล่และการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของมรดกเหนือที่ดิน
คำคัดค้านและฟ้องแย้งของผู้คัดค้านระบุในช่องคู่ความว่า อ. และ ป. ผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้คัดค้าน และบรรยายว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านไม่ประสงค์ให้ผู้ร้องอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทต่อไป ขอให้บังคับผู้ร้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารพร้อมรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดิน การฟ้องแย้งของผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยได้แสดงชัดแจ้งซึ่ง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ เพราะเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ให้ดำเนินคดีไป อย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะ เป็นจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับจากมีโฉนด และการฟ้องขับไล่เมื่อไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
เดิมที่ดินพิพาทยังมิได้ออกโฉนดที่ดิน แม้ว่าบิดามารดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองก็ย่อมครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ จะครอบครองปรปักษ์ได้ต่อเมื่อเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินเท่านั้น ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดิน
ทางราชการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทเมื่อปี 2508 โดยม.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ หลังจากปี 2508 ช.และผู้ร้องก็อยู่ร่วมบ้านเดียวกันโดยอาศัยสิทธิของ ม. แม้เมื่อปี 2515 ผู้ร้องจะได้ปลูกบ้านขึ้นใหม่เลขที่ 17/1 แทนบ้านเดิมบนที่ดินพิพาทและอยู่ต่อมาโดย ม.มิได้ว่ากล่าว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องอาศัยสิทธิของ ม.ครั้นปี 2523 ม. ขายที่ดินโฉนดที่พิพาทให้แก่บริษัท ส. ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแม้จะปรากฏว่าในปี 2524 ม.ได้รื้อบ้านของตนออกจากที่ดินพิพาทไปปลูกบ้านขึ้นใหม่และมารดาผู้ร้องได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านที่ปลูกขึ้นใหม่ด้วย ส่วนผู้ร้องยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเป็นเวลาประมาณ 15 ปี ก็ฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทเพราะ ม. ขายที่ดินพิพาทให้แก่ อ. ผู้ซื้อแล้ว อ. ฝากให้ ม. ช่วยดูแล ม.จึงอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาอยู่อาศัย จึงต้องถือว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนบริษัท ส. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังเจ้าของตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ดังนี้ แม้ผู้ร้องจะอยู่ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาช้านานเท่าใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะเป็นจำเลย จึงย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
ตามคำคัดค้านและฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านระบุว่า ผู้ร้องไม่ได้เข้าทำประโยชน์ใด ๆ ในที่ดิน เพียงแต่พักอาศัยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของ ม. และบ้านดังกล่าวมีบริเวณเพียง 100 ตารางวา เห็นได้ว่า ผู้คัดค้านมิได้คัดค้านเฉพาะบริเวณบ้านที่ผู้ร้องอยู่อาศัย แต่คัดค้านที่ดินส่วนที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ว่าผู้ร้องมิได้ใช้ทำประโยชน์อะไร เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา โดยไม่มีสิทธิย่อมทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้ผู้ร้องชดใช้แก่ผู้คัดค้านเดือนละ 10,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8874/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาการยื่นคำให้การและการพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมายวันที่ 15 มีนาคม 2540 ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำให้การในวันจันทร์ที่14 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์ แต่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 19)พ.ศ. 2540 ให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์ จากวันที่ 12,13และ 14 เมษายน เป็นวันที่ 13,14 และ 15 เมษายน และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งให้กระทรวง ทบวง กรม ทราบถึงประกาศดังกล่าวโดยในส่วนของวันหยุดชดเชยให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2538 เรื่อง วันหยุดชดเชยของทางราชการว่าในกรณีวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์วันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนไปหยุดในวันทำงานถัดไปด้วย เมื่อวันที่ 13 เมษายน2540 ตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ วันที่ 14 และ15 ตรงกับวันจันทร์และวันอังคารเป็นเหตุให้ต้องเลื่อนไปหยุดชดเชยในวันที่ 16 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันทำงานถัดไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 17 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการได้ และข้อเท็จจริงว่าวันใดเป็นวันหยุดราชการหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป และศาลรู้ได้เองโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2รับผิดชำระหนี้แทนในฐานะผู้ค้ำประกันหากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 2จะขาดนัดยื่นคำให้การ มีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ ซึ่งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จะชอบก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2รับผิดแทนจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือไม่เพียงใด ต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 1 นำสืบให้ปรากฏก่อนเพราะจำเลยที่ 2อาจมีสิทธิเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนตน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 และสั่งให้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยผิดหลง พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 จะนำสืบจึงไม่ปรากฏไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาฎีกาของจำเลยที่ 2 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ก่อน แต่เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเพียงจำเลยที่ 1 เห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2: พิจารณาจากสัญญาซื้อขายโดยตรง ไม่ใช่ความเป็นตัวแทน
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อเห็นสมควรศาลก็มีอำนาจจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองไม่ว่าในชั้นไหน ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยเอง จึงย่อมมีอำนาจกระทำได้
เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้ระบุว่าโจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ทั้งตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทั้งสองนำมาฟ้องก็เป็นสัญญาระหว่างโจทก์ที่ 2 ผู้ซื้อฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 1 ผู้ขายอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์ที่ 2 จึงเป็นตัวการในสัญญา มิใช่ตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ดังนั้นโจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8292/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดในการดำเนินคดี และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ
พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 35 กำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจหน้าที่เป็นตัวแทนของนิติบุคคล ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจึงมีอำนาจดำเนินการใด ๆ แทนนิติบุคคลอาคารชุดได้ แม้ว่าในข้อบังคับของโจทก์จะกำหนดให้คณะกรรมการนิติบุคคลของโจทก์มีอำนาจดำเนินคดีแก่บุคคลภายนอก หากมีการละเมิดจากการกระทำของบุคคภายนอกในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง การเรียกร้องค่าเสียหาย และการเรียกเอาทรัพย์คืนนั้น ข้อบังคับของโจทก์ดังกล่าวก็หาลบล้างอำนาจของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุดไม่
ข้อตกลงในการประนีประนอมยอมความระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะขอถอนฟ้องคดีอาญาในศาลชั้นต้นทุกคดี ซึ่งโจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยการถอนฟ้องคดีอาญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงเชียงใหม่ในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ด้วย ส่วนจำเลยก็ฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท ต่อมาคดีที่ฟ้องศาลแขวงเชียงใหม่ได้มีการประนีประนอมยอมความกันตามข้อตกลงดังกล่าว โดยจำเลยจะต้องถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่โจทก์ถอนฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์ต่อศาลแขวงเชียงใหม่ ปรากฏว่าจำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีที่ศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องของจำเลย ฉะนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยในคดีอาญาที่ศาลแขวงเชียงใหม่แล้ว แต่จำเลยไม่ยอมถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทเป็นการไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญา: ความสมบูรณ์ของคำฟ้อง, ดุลพินิจศาลในการลดโทษ, และการรับสารภาพ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 เป็นดุลพินิจของศาลถ้าเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นดุลพินิจที่เห็นว่าจำเลยที่ 1 อายุ 19 ปีเศษ รู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงไม่ลดมาตราส่วนโทษให้โดยไม่จำต้องกล่าวถึงข้อกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายฟ้องถึงวันเวลาที่เกิดเหตุ และว่ามีคนร้ายลักเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำฟ้องโจทก์มิได้ระบุโดยชัดเจนว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดและสถานที่กระทำผิดอยู่ที่ใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องระบุถึงสถานที่เกิดเหตุในข้อต่อมาว่าเหตุทั้งหมดเกิดที่ใด และภายหลังเกิดเหตุลักทรัพย์เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไป ขณะที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง และจำเลยได้เป็นคนร้ายร่วมกันลักทรัพย์ดังกล่าวของผู้เสียหายไปโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ มิได้หลงต่อสู้ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีลักทรัพย์และการใช้ดุลพินิจลดโทษ
ป.อ.มาตรา 76 เป็นดุลพินิจของศาล ถ้าเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นดุลพินิจที่เห็นว่า จำเลยที่ 1 อายุ 19 ปีเศษ รู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้วจึงไม่ลดมาตราส่วนโทษให้โดยไม่จำต้องกล่าวถึงข้อกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายฟ้องถึงวันเวลาที่เกิดเหตุ และว่ามีคนร้ายลักเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำฟ้องโจทก์มิได้ระบุโดยชัดเจนว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดและสถานที่กระทำผิดอยู่ที่ใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องระบุถึงสถานที่เกิดเหตุในข้อต่อมาว่าเหตุทั้งหมดเกิดที่ใด และภายหลังเกิดเหตุลักทรัพย์เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไป ขณะที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง และจำเลยได้เป็นคนร้ายร่วมกันลักทรัพย์ดังกล่าวของผู้เสียหายไปโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ มิได้หลงต่อสู้ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ชอบแล้ว
of 37