คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วงศ์ยืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระภิกษุมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ แม้ได้รับการยกทรัพย์สินให้ขณะเจ้าของยังมีชีวิต ไม่ใช่การเรียกร้องมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้ จาก ล. จำเลยต่อสู้คดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและบิดาจำเลยคดีมีประเด็นเฉพาะบ้านพิพาท ซึ่งคู่ความตีราคาไว้ 200,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล. มีชีวิตอยู่โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระภิกษุมีอำนาจฟ้องขับไล่: การยกทรัพย์ให้ไม่ถือเป็นการเรียกร้องมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้จาก ล. จำเลยต่อสู้คดีว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและบิดาจำเลย คดีมีประเด็นเฉพาะบ้านพิพาท ซึ่งคู่ความตีราคาไว้ 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ป.พ.พ.มาตรา 1622 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 นั้น หมายถึงกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ และพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วย ได้ฟ้องทายาทคนอื่น ๆ ขอแบ่งมรดก แต่โจทก์ได้รับการยกให้ซึ่งบ้านและที่ดินจาก ล. ในขณะที่ ล.มีชีวิตอยู่ โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินดังกล่าว การฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลพิพากษายืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยให้การว่าไม่เคยแบ่งขายที่ดินและรับเงินค่าที่ดินจากโจทก์ ทั้งไม่เคยมอบการครอบครองที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริง จำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์ตกโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบอ้างว่าจำเลยขายที่ดินให้โจทก์ แต่การซื้อขายที่ดินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่มีหลักฐานการรับเงิน จำวันที่ที่ตกลงซื้อขายไม่ได้ จำนวนเงินที่ตกลงซื้อขาย 50,000 บาท เป็นเงินจำนวนมากพอสมควร เมื่อพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของโจทก์และจำเลยตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้วข้ออ้างของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองตามฟ้องให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าในศาล: ข้อตกลงให้รังวัดที่ดินเพื่อวินิจฉัยสิทธิ และผลผูกพันตามข้อตกลง
การท้ากันในศาลก็คือการแถลงร่วมกันของคู่ความตกลงกันให้ศาลตัดสินชี้ขาดตามข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่คู่ความมีความเห็นตรงกันข้ามในเหตุการณ์ภายหน้าอันไม่แน่นอนและจะแน่นอนได้ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งถ้าเหตุการณ์นั้นตรงกับความเห็นของฝ่ายใด ศาลจะต้องตัดสินให้ในฝ่ายนั้นชนะ
คู่ความมีข้อตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ให้นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินพิพาทใหม่ หากปรากฏว่าหลักหมุด จ. 1078 ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลยทั้งห้า โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มาในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุด ค. 4463 กับหลักหมุด คก. 5 หรือหลักหมุด ค. 4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ. 1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกันโดยโจทก์จะถอนฟ้อง ปัญหาว่าหลักหมุด จ. 1070 อยู่ในที่ดินของโจทก์หรือจำเลยทั้งห้าเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันในประเด็นข้อพิพาทข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นเรื่องที่คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติแต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น ไม่ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าในศาล: ผลผูกพันตามข้อตกลงรังวัดที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการพิจารณา
การท้ากันในศาล คือ การแถลงร่วมกันของคู่ความตกลงกันให้ ศาลตัดสินชี้ขาดตามข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่คู่ความมีความเห็นตรงกันข้ามในเหตุการณ์ภายหน้าอันไม่แน่นอนและจะแน่นอนได้ต่อเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งถ้าเหตุการณ์นั้นตรงกับความเห็นของฝ่ายใด ศาลจะต้องตัดสินให้ฝ่ายนั้นชนะ
ศาลชั้นต้นกะประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งห้ามีสิทธิในบริเวณที่ดินพิพาทดีกว่ากัน คู่ความไม่ประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานไปตามปกติ แต่จะยอมรับข้อเท็จจริงกันตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตมาแล้วหากปรากฏว่าหลักหมุด จ.1078ล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนของจำเลย โจทก์จะเป็นฝ่ายแก้ไขโฉนดให้มา ในแนวตรงที่วัดระหว่างหลักหมุดค.4463กับหลักหมุดคก.5หรือหลักหมุด ค.4483 แต่ถ้าหากหลักหมุด จ.1078 ไม่ได้ล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย จำเลยจะรื้อถอนรั้วที่ล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แล้วคู่ความจะเลิกคดีกัน โดยโจทก์จะถอนฟ้องและจำเลยไม่คัดค้าน ซึ่งตามคำฟ้อง คำให้การและ ฟ้องแย้งและคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ปัญหาว่าหลักหมุด จ.1070 อยู่ใน ที่ดินของโจทก์หรือจำเลยเป็นข้อเท็จจริงที่จะทำให้คดีแพ้ชนะกันใน ประเด็นข้อพิพาท ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำท้าตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 มีผลใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการมาตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5141/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: พฤติการณ์ไม่เหมาะสมจากการเบียดบังทรัพย์
ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยตนเองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1723เมื่อโจทก์ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกจึงไม่อาจจัดการมรดกได้โดยตนเอง ทั้งเหตุที่ต้องโทษจำคุกก็เนื่องมาจากการเบียดบังทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนในฐานะผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์ ดังนี้ ถือได้ว่ามีพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5141/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: คำพิพากษาถึงที่สุด, ความไว้วางใจจากทายาท, และผลประโยชน์ทัดทาน
ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1723 โจทก์ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก จึงไม่อาจจัดการมรดกได้โดยตนเอง ทั้งเหตุที่ต้องโทษจำคุกก็เนื่องมาจากการเบียดบังทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนในฐานะผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์ถือได้ว่ามีพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ที่ห้ามผู้ที่ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์กับกองทรัพย์มรดกที่ตนเองเป็นผู้จัดการมรดกมิใช่หมายความว่า กฎหมายเปิดโอกาสให้ตั้งผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้ร้องสอดที่ 1 อ้างว่ารู้ถึงทรัพย์มรดกทั้งหมดมากยิ่งกว่าทายาทคนอื่น ๆก็ไม่มีใครเบิกความสนับสนุน และผู้ร้องสอดที่ 2 คัดค้าน การที่ผู้ร้องสอดที่ 1ขอเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากนี้ผู้ร้องสอดที่ 1 ถูกดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเรื่องยักยอกทรัพย์มรดก แม้ศาลพิพากษายกฟ้องก็ตาม แต่ผู้ร้องสอดที่ 1ไม่ได้รับความไว้วางใจจากทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆตามปกติและเหตุอันควรในปัจจุบันแล้ว ผู้ร้องสอดที่ 1 ยังไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5141/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นอุปสรรค แม้จัดการมรดกแทนบุคคลอื่น
ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1723 เมื่อโจทก์ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกจึงไม่อาจจัดการมรดกได้โดยตนเอง ทั้งเหตุที่ต้องโทษจำคุกก็เนื่องมาจากการเบียดบังทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนในฐานะผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์ ดังนี้ ถือได้ว่ามีพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพกพาอาวุธร้ายแรงเข้าศาลฯ ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาลและไม่เคารพกฎหมาย ศาลฎีกายืนโทษจำคุก
อาคารที่ทำการศาลยุติธรรมเป็นสถานที่อำนวยความยุติธรรม ให้แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี บุคคลผู้มีอรรถคดีต้องมีความมั่นใจ และมีความอบอุ่นในความปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง การที่ ผู้ถูกกล่าวหาพกพาอาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงดังกล่าวเข้าไปใน บริเวณที่ทำการศาล แสดงถึงความไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษ จำคุกผู้ถูกกล่าวหา 2 เดือนและไม่รอการลงโทษเหมาะสมแก่ พฤติการณ์แห่งรูปคดีและเป็นคุณแก่จำเลยมากแล้ว ไม่มีเหตุ ที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อนฟ้องคดี: กรณีจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้ และโจทก์มีคำขอให้คืนเงินมัดจำ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ผู้จะซื้อกับจำเลยผู้จะขายระบุให้ผู้ขายเป็นฝ่ายตกลงกับผู้เช่านาเอง หมายถึงว่าให้จำเลยจัดการให้ผู้เช่านาออกจากที่ดินพิพาทให้เรียบร้อยก่อนวันโอนกรรมสิทธิ์
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ บัญญัติให้การจัดการให้ผู้เช่านาออกจากที่เช่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนในกฎหมายดังกล่าวให้ถูกต้องก่อน โดยผู้ให้เช่านาต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อผู้เช่านาพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่านาและส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวต่อประธาน คชก. ตำบล และภายในเจ็ดวันนับแต่เมื่อได้รับสำเนาหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้ประธาน คชก. ตำบล หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคชก. ตำบล แจ้งให้ผู้เช่านาที่ถูกบอกเลิกการเช่านาทราบเพื่อคัดค้านการบอกเลิกการเช่านาต่อ คชก. ตำบล ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง การที่จำเลยและ ช. ไปลงบันทึกประจำวัน ช. เลิกทำนาในที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย สัญญาเช่านายังไม่เลิกกันเท่ากับจำเลยยังมิได้จัดการตกลงให้ผู้เช่านาออกจากที่ดินที่พิพาท
การที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่จดทะเบียนการซื้อขายให้เนื่องจากมีผู้เช่านาที่ดินพิพาท ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาต่อจำเลย แต่เมื่อจำเลยขอยกเลิกการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วโจทก์มิได้คัดค้าน และโจทก์มาฟ้องคดีอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดให้ผู้เช่านาออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งในสัญญามิได้ระบุว่าจำเลยต้องดำเนินการให้เสร็จเมื่อใด ทั้งโจทก์มิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยปฏิบัติในเวลาอันสมควร แต่กลับฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาโดยโอนที่ดินแก่โจทก์ทันทีจนจำเลยไม่อาจปฏิบัติได้จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาเช่นกัน
พฤติการณ์ที่จำเลยนัดโจทก์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินโดยที่ยังมิได้ดำเนินการให้ผู้เช่านาออกไปจากที่ดินพิพาทและเมื่อโจทก์ไม่รับโอนจึงขอยกเลิกการจดทะเบียนซื้อขายกับการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินโดยปลอดภาระผูกพันใด ๆ ทั้ง ๆ ที่ยังมิได้ให้เวลาจำเลยดำเนินการให้ผู้เช่านาออกไปจากที่ดินพิพาทก่อน โจทก์ย่อมรู้อยู่ว่าไม่สามารถทำได้แต่โจทก์มีคำขอว่าถ้าไม่สามารถโอนที่ดินได้ก็ให้คืนเงินมัดจำ เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายโดยมิได้มีฝ่ายใดผิดสัญญา โจทก์และจำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
of 37