คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วงศ์ยืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4493/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่ดูแลทรัพย์ส่วนกลาง หากละเลยจนเกิดความเสียหายต้องรับผิดชอบ
พระราชบัญญัติอาคารชุดฯ ต้องการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องชุดอันเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลสามารถใช้สิทธิในห้องชุดได้ตามสิทธิของตนแต่ทรัพย์ส่วนกลางถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของห้องชุดซึ่งมีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดล้วนกำหนดให้เป็นหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดเมื่อสาเหตุที่น้ำท่วมห้องชุดของโจทก์เพราะน้ำฝนเอ่อล้นจากท่อรับน้ำภายในอาคารชุดเนื่องจากท่อรวมรับน้ำอุดตัน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลให้ท่อระบายน้ำดังกล่าวระบายน้ำได้ตลอดเวลา แม้โจทก์มิได้นำสืบว่าเหตุใดท่อน้ำจึงอุดตันและจำเลยที่ 1 ได้กระทำอย่างไรกับสิ่งอุดตันนั้นหรือบริเวณที่อุดตันนั้นไม่อาจตรวจพบได้โดยง่าย ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้วเพราะจำเลยที่ 1 ได้เก็บเงินค่าดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง แล้วว่าจ้างบริษัทเอกชนที่มีอาชีพในการบริหารอาคารชุดมาทำหน้าที่แทน เมื่อบริษัทดังกล่าวละเว้นหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อปล่อยให้ท่อระบายน้ำอุดตันจนน้ำท่วมห้องชุดของโจทก์เช่นนี้ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์ต้องเป็นการยึดทรัพย์เท่านั้น ไม่ใช่การอายัด การอายัดทรัพย์เป็นขั้นตอนการบังคับคดีตามกฎหมาย
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินแปลงพิพาท แต่เนื่องจากยังหาตำแหน่งของที่ดินไม่พบจึงมิได้ทำการยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแต่ทำการอายัดที่ดินแปลงพิพาท ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ร้องไว้ แต่การร้องขัดทรัพย์จึงร้องได้เฉพาะกรณีที่มีการยึดทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมถึงการอายัดทรัพย์ด้วย ผู้ร้องจะอ้างว่า การอายัดทรัพย์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตามป.วิ.พ.มาตรา 55 หาได้ไม่เพราะ ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 เรื่อง การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้ตามลำดับเป็นขั้นตอนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีโฉนด แต่เกิดจากความสำคัญผิดและละเลยเจ้าหน้าที่
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน ส.ค.1 ป. เจ้าของที่ดินได้ขอออกโฉนดระหว่างเดินสำรวจเพื่อออกโฉนด ป. ได้ยกที่ดินพิพาทให้ ย. เมื่อ ป. ตาย เจ้าพนักงานที่ดินจึงออกโฉนดแล้วส่งมอบให้ ค. ลูกของ ป. แต่ ย. ไม่ทราบถึงการดำเนินการขอออกโฉนด จึงนำ ส.ค.1 ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซ้ำซ้อนขึ้นอีก ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทจากย. โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเข้าครอบครองที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาจาก ย. ผู้โอนเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณะและเขตอุทยานฯ โดยสุจริตและมีคำสั่งอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ไม่แน่ชัดว่า จำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยสุจริต เข้าใจว่าตนเองมีสิทธิที่จะทำได้ จึงขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐ
คำสั่งอนุญาตให้จำเลยสร้างบังกะโลได้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ยังมีข้อโต้เถียงกันจนต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ เมื่อจำเลยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำได้ตามที่ได้รับอนุญาตจากรองอธิบดีกรมป่าไม้ จึงน่าเชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติ
ในการพิจารณาคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิด ข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้นแล้ว นำมาฟังลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณะ - เจตนา - ความสุจริต - การอนุญาตที่ไม่ชอบ - การนำสืบพยาน
พยานหลักฐานของโจทก์ยังฟังได้ไม่แน่ชัดว่าจำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ เมื่อจำเลยเข้าครอบครอง ที่ดินพิพาทโดยสุจริต เข้าใจว่าตนเองมีสิทธิจะทำได้ จำเลยจึงขาดเจตนา ในการกระทำความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐ
พ. รองอธิบดีกรมป่าไม้ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้ทำขึ้นสำเนาเอกสารที่ พ. ซึ่งเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ในภายหลังได้ส่งมาตามหมายเรียกของศาล โดยมีนักวิชาการป่าไม้ 6 กองอุทยานแห่งชาติรับรองสำเนาถูกต้องจึงอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคสอง แม้ พ. มิได้มาเบิกความก็ตาม
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า พ. ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมป่าไม้ขณะนั้นมีอำนาจโดยชอบในการที่จะอนุญาตให้สร้างบังกะโลบนเกาะเสม็ดได้จำเลยจึงเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเองมีสิทธิจะทำได้ตามที่ได้รับอนุญาตจำเลยจึงไม่มีเจตนากระทำผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติตามฟ้อง
ข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะในการพิจารณา คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การปฏิเสธที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัด
คำฟ้องของโจทก์บรรยายรายละเอียดไว้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าไปจากโจทก์หลายครั้ง รวม 60 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 673,301 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า "คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับใบสั่งซื้อตั้งแต่รายการที่ 1 ถึงรายการที่ 60 ไม่ปรากฏคำสั่งซื้อของจำเลยทั้งสองและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ลงนามรับสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะได้ขายสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยทั้งหมดหรือรายการใดรายการหนึ่งหรือไม่ ไม่ขอรับรอง" คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าเลยทั้งสองยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ส่วนคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า "โจทก์จะได้ขายสินค้าตามฟ้องให้แก่จำเลยทั้งหมดหรือรายการใดรายการหนึ่งหรือไม่ ไม่ขอรับรอง" แปลได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 อาจซื้อสินค้าไปจากโจทก์จริงดังฟ้องก็ได้ ส่วนคำให้การที่มีมาก่อนหน้านั้นที่ว่า "ไม่ปรากฏคำสั่งซื้อขายของจำเลยทั้งสอง และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ลงนามรับสินค้าจากโจทก์" เป็นฟ้องขยายความให้การที่ว่าไม่ขอรับรองเท่านั้น ไม่ได้เป็นการยืนยันปฏิเสธ คำให้การของจำเลยทั้งสองจึงเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปรวม 60 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น 673,301 บาท
หนี้แต่ละรายการถึงกำหนดชำระไม่พร้อมกัน ในทางพิจารณาโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าหนี้ตามใบส่งของ / ใบเสร็จรับเงินแต่ละรายการนั้น คำนวณเป็นดอกเบี้ยผิดนัดจนถึงวันฟ้องได้รายละเท่าใด และไม่ใช่หน้าที่ของศาลจะคำนวณให้ ที่ศาลชั้นต้นคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดของหนี้แต่ละรายให้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่เกินกำหนดระยะเวลา และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น และหากเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 213มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องยื่นก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัยศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจตามมาตรา 213 ป.วิ.อ.
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยเจตนาและประสงค์ทรมาน: พฤติการณ์โหดร้ายทารุณ
จำเลยไปหาผู้ตายเพราะความเจ็บใจซึ่งเกิดมานานแล้ว เมื่อจำเลยเห็นผู้ตายก็ยิงผู้ตายทันที ในวันเกิดเหตุจำเลยเป็นฝ่ายลงมือก่อเหตุจะไปเผาบ้านที่ผู้ตายพักอาศัยอยู่โดยเตรียมน้ำมันเบนซิน ไฟแช็ก ตลอดจนเตรียมยากำจัดหนูเพื่อจะฆ่าตัวตายพร้อมกับผู้ตาย บังเอิญเมื่อมาที่ห้องนอนผู้ตายพบอาวุธปืนจึงคิดจะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและฆ่าตัวตายตาม มูลเหตุที่จูงใจให้กระทำผิดเกิดจากความเจ็บแค้นใจซึ่งมีอยู่เดิม กรณีมิใช่บันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ภายหลังจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายไม่ถึงแก่ความตายทันที จำเลยใช้น้ำมันเบนซินราดผู้ตายแล้วจุดไฟเผา ซึ่งผู้ตายได้รับความเจ็บปวดและทรมานก่อนถึงแก่ความตาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้ตายได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย จึงเป็นการฆ่าโดยทรมานและโดยทารุณโหดร้าย
of 37