คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วงศ์ยืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องพิจารณาเป็นรายจำเลย การวินิจฉัยอุทธรณ์ต้องครบถ้วน
การพิจารณาว่าคดีใดอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเรียกร้องของโจทก์และจำเลยเป็นรายบุคคลไป โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท ตามฟ้องคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ก่อนว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และต้องรับผิดในจำนวนเงิน 94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายทราบวันนัดแล้วไม่แจ้งจำเลย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษา
ทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะไม่ทราบวันนัดก็ตาม เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 บัญญัติว่า ทนายความซึ่งคู่ความได้แต่งตั้งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร
ตามใบแต่งทนายความของจำเลย ระบุว่าให้ทนายจำเลยมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้วการที่ทนายจำเลยไม่ดูแลและเอาใจใส่คดีของจำเลยเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความและการแจ้งนัด: จำเลยทราบคำพิพากษาผ่านทนายความ แม้ตัวจำเลยไม่ทราบ
ทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะไม่ทราบวันนัดก็ตาม เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 บัญญัติว่า ทนายความซึ่งคู่ความได้แต่งตั้งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร
ตามใบแต่งทนายความของจำเลย ระบุว่าให้ทนายจำเลยมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้วการที่ทนายจำเลยไม่ดูแลและเอาใจใส่คดีของจำเลยเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ เกินกำหนดเวลา และเหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยศาลชั้นต้นส่ง คำบังคับให้จำเลยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2540 โดยวิธีปิดคำบังคับ คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ดังนั้น คำบังคับจึงเริ่มมีผลใช้ได้ในวันที่ 5 มกราคม 2541 หากจำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 กล่าวคือ วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่จะยื่นได้คือวันที่ 20 มกราคม 2541 จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อเกินกำหนด ระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว ทั้งในคำขอมิได้กล่าวอ้างถึงเหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้ไม่อาจยื่นคำขอได้ภายในกำหนด กลับกล่าวอ้างถึงเหตุที่จำเลยไม่ทราบว่าจะมาศาลวันไหน ไม่ทราบว่าจะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาใหม่ในวันที่ศาลนัดพิจารณา เนื่องจากทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัว เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่อาจแสดงว่าจำเลย มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเท่านั้น มิใช่เหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่ง ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเสียโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับการบังคับคดีชั่วคราวเพื่อรอผลคดีโมฆะการจำนอง ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิขอได้
จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมที่จะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินอันเป็นทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แต่ปรากฏว่าก่อนที่ จะมีการขายทอดตลาดได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดอีกคดีหนึ่ง ให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าวแก่ผู้ร้อง และผู้ร้องยังได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลพิพากษาว่าการจดทะเบียน จำนองที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะซึ่งคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา หากคดีดังกล่าวศาลพิพากษา ให้ผู้ร้องชนะคดี ย่อมทำให้ผู้ร้องยากที่จะบังคับคดีได้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280(2) แล้ว การงด การบังคับคดีไว้ชั่วคราวคงทำให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ล่าช้าไปเท่านั้น แต่โจทก์ก็สามารถ บังคับเอาดอกเบี้ยได้อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่งดการบังคับคดีไว้อาจ ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายได้ จึงสมควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีระงับการจ่ายเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง ไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคำพิพากษา ในคดีที่ผู้ร้องฟ้องโจทก์และจำเลยที่ให้การจดทะเบียนจำนองเป็นโมฆะเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับเงินคืนสู่สถานะเดิม แม้จะมีการอ้างเหตุผิดสัญญา
แม้จะฟังว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้มาที่สำนักงานที่ดินในตอนเช้าของวันกำหนดนัดโอน แต่เมื่อโจทก์ให้คนไปตามจำเลยทั้งสามก็มา จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินตามนัด และการที่ได้เลื่อนจะนัดโอนที่ดินใน ตอนบ่ายและจำเลยทั้งสามไม่มาตามนัดก็ได้ความว่า ต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่สำนักงานที่ดิน หาไม่พบ แม้จำเลยจะมาตอนบ่าย เจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่สามารถจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ดี จำเลยทั้งสาม จึงมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์
เมื่อโจทก์ได้ฟ้องเรียกเงินมัดจำ 50,000 บาท และเงิน 240,000 บาท อันเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามได้รับไว้แล้วเป็นค่าที่ดินคืน แม้โจทก์จะเรียกค่าเสียหายอื่นรวมมาด้วย โดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาก็ดี เมื่อปรากฏว่าเป็นเพียงกรณีเลิกสัญญากันและโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินส่วนหนึ่งในจำนวนที่เรียกร้องทั้งหมดจากจำเลยทั้งสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามคืนเงินจำนวน 290,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมได้จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาสื้อซื้อขายที่ดิน: ศาลพิพากษาคืนเงินมัดจำและราคาที่ดิน พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินพิพาทที่สำนักงานที่ดินตามนัดในตอนเช้า แต่เมื่อโจทก์ให้คนไปตาม จำเลยทั้งสามก็ไปสำนักงานที่ดินพร้อม ๆ กัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ไปโอนที่ดินตามนัด เหตุที่โอนที่ดินไม่ได้เนื่องจากหาต้นฉบับน.ส.3ที่สำนักงานที่ดินไม่พบ และแจ้งเหตุขัดข้องให้คู่กรณีทราบแล้ว แม้จำเลยจะมาตอนบ่ายเจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่พิพาทได้อยู่ดี จำเลยทั้งสามจึงมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ ราคาที่ดินที่โจทก์จ่ายไปแล้วบางส่วนและค่าเสียหาย เมื่อปรากฏว่ามีการเลิกสัญญากันแล้ว และโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินส่วนหนึ่งในจำนวนที่เรียกร้องทั้งหมดจากจำเลยทั้งสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้คืนเงินในส่วนที่มีสิทธิดังกล่าวได้ เพื่อให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและไม่เป็นพิพากษาเกินคำขอ และจำเลยทั้งสามต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่รับเงินแต่ละจำนวนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: การพิสูจน์ความสัมพันธ์โดยชอบด้วยกฎหมายและการรับรองบุตร
บทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 หมายถึงชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1539 ซึ่งเป็นกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีตามมาตรา 1536 และ 1537 หรือมาตรา 1538 โจทก์เป็นบุตรของร.และอ.ซึ่งมีตัวตนแน่นอนส.และสค. ไม่ใช่บิดามารดาผู้ให้กำเนิดโจทก์โดยแท้จริง การที่ ส.ไปแจ้งการเกิดลงในสูติบัตรของโจทก์ว่า บิดาโจทก์เป็นคนไทย มารดาเป็นคนกัมพูชาเมื่อมีบุตรขึ้นมาก็แจ้งเกิดไม่ได้ ส. จึงรับสมอ้างไปแจ้งเกิดแทน โดยระบุว่าเป็นบิดาดังนี้ เป็นคนละเรื่องกับกรณีการแจ้งเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 เมื่อโจทก์ไม่ใช่บุตรที่แท้จริงของ ส. จึงไม่ใช่บุตรนอกกฎหมายตามความเป็นจริงที่บิดาได้รับรองแล้ว ทั้งไม่ใช่ ผู้สืบสันดานและไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 และ 1629(1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของส. ผู้ตาย และไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มทุนทรัพย์เพื่อฎีกาโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีว่า ที่ดินพิพาทราคาไร่ละ 4,000 บาท ที่ดิน49 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา เป็นเงิน 198,000 บาท และโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นโดยถือทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่โจทก์ตั้งทุนทรัพย์ไว้ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีการะบุทุนทรัพย์ จำนวน 250,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ขึ้นเองโดยพลการ เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลัง ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองทราบดีว่าราคาทรัพย์พิพาทที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมีเพียงใด แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ผู้มีอำนาจ หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้รับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียให้ถูกต้องขณะยื่นฎีกา กรณีจึงเป็นไปในลักษณะโจทก์จงใจหรือละเลยไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายกำหนด ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะดำเนินกระบวนพิจารณานี้ใหม่อีก
โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของโจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย และการเพิ่มทุนทรัพย์โดยพลการ ทำให้ไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีว่า ที่ดินพิพาทราคาไร่ละ 4,000 บาท ที่ดิน 49 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา เป็นเงิน 198,000 บาท และโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาล ในศาลชั้นต้นโดยถือทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่โจทก์ ตั้งทุนทรัพย์ไว้ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีการะบุทุนทรัพย์จำนวน 250,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่มจำนวน ทุนทรัพย์ขึ้นเองโดยพลการ เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลัง ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองทราบดีว่าราคาทรัพย์พิพาทที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมีเพียงใด แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจ หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ รับรอง หรืออนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียให้ถูกต้องขณะยื่นฎีกา กรณีจึงเป็นไปในลักษณะโจทก์จงใจหรือละเลยไม่ดำเนินการ พิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายกำหนด ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะดำเนินกระบวนพิจารณานี้ใหม่อีก โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้อง ของ โจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือ ให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้น ไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย
of 37