พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา: จำเลยต้องปฏิบัติตามลำดับชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้จะมีเจ้าของรวม
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดิน ส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000 บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตาม ลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะ อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญา จะซื้อจะขายนี้แล้ว และกรณีเช่นว่านี้โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดี แก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสองจำเลยไม่อาจเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำพังตนเองโดยปราศจาก ความยินยอมของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้เจ้าของรวมอีกคนยินยอม
เมื่อศาลฎีกาในคดีหลักมีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า อ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้จะมีเจ้าของรวมอื่น ยินยอมการทำสัญญา
เมื่อศาลฎีกาในคดีหลักมีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า อ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนที่ดินให้ครบถ้วน แม้มีเจ้าของรวมอื่น ย่อมถูกบังคับคดีได้
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000 บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะ อ.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว และกรณีเช่นว่านี้โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบด้วยป.พ.พ.มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง จำเลยไม่อาจเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำพังตนเองโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6707/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติดผสม (เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน) ถือเป็นกรรมเดียว แม้มีส่วนผสมหลายชนิด
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 780 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้จำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปทั้งหมดเจ้าพนักงานตำรวจจับได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดเป็นของกลาง ผลการตรวจพิสูจน์ของกลางทั้ง 780 เม็ดพบว่ามีปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 10.783 กรัม และมีปริมาณอีเฟดรีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 0.618 กรัม โดยของกลางแต่ละเม็ดมีส่วนผสมของเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน ดังนี้ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้งหมดแต่ละเม็ดถูกผสมด้วยอีเฟดรีนบางส่วนก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เมทแอมเฟตามีนที่มีอีเฟดรีนผสมอยู่จึงเป็นวัตถุอันเดียว การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไปเป็นการกระทำคราวเดียวกัน จึงเป็นการกระทำผิด เพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6707/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนผสมอีเฟดรีนเป็นกรรมเดียว
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 780 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้จำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปทั้งหมด เจ้าพนักงานตำรวจจับได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดเป็นของกลาง ผลการตรวจพิสูจน์ของกลางทั้ง 780เม็ด พบว่ามีปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 10.783 กรัมและมีปริมาณอีเฟดรีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 0.618 กรัม โดยของกลางแต่ละเม็ดมีส่วนผสมของเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน ดังนี้ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้งหมดแต่ละเม็ดถูกผสมด้วยอีเฟดรีนบางส่วนก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เมทแอมเฟตามีนที่มีอีเฟดรีนผสมอยู่จึงเป็นวัตถุอันเดียว การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไปเป็นการกระทำคราวเดียวกัน จึงเป็นการกระทำผิดเพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 5 ปีหลังหมดกำหนด 2 ปี โดยการอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 นั้น กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจเองนั้นจึงจะต้องกระทำภายใน 2 ปี แต่หากเป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว เจ้าพนักงานประเมินสามารถประเมินได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลา 2 ปี ตามมาตรา 88/6 วรรคหนึ่ง (1) (ก)สิ้นสุดลง
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวว่า อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร สามารถอนุมัติการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 88/6 (1) แห่ง ป.รัษฎากรได้หรือไม่ เพียงใด แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายเลื่อนคดีไปนัดฟังคำพิพากษา หลังจากมีคำสั่งเช่นนี้แล้วก็ไม่ปรากฏเลยว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางไว้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 16 วรรคท้าย คงเพิกเฉยเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว และการหยิบยกประเด็นข้อนี้มากล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ปิดคดี ไม่ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว
ในชั้นชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวว่า อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร สามารถอนุมัติการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 88/6 (1) แห่ง ป.รัษฎากรได้หรือไม่ เพียงใด แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายเลื่อนคดีไปนัดฟังคำพิพากษา หลังจากมีคำสั่งเช่นนี้แล้วก็ไม่ปรากฏเลยว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางไว้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 16 วรรคท้าย คงเพิกเฉยเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว และการหยิบยกประเด็นข้อนี้มากล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ปิดคดี ไม่ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี โดยอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากร ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่เจ้าพนักงานจะประเมินภาษีโดยใช้อำนาจเองนั้นต้องกระทำภายใน 2 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88/6(1)(ก)แต่หากเป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือ ผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว เจ้าพนักงานประเมินสามารถประเมินได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลา 2 ปีตามมาตราดังกล่าวสิ้นสุดลง เมื่อคดีนี้เป็นการใช้อำนาจโดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบอำนาจหน้าที่ให้สั่งและปฏิบัติราชการแทน กรณีจึงสามารถประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีตามมาตรา 88/6 วรรคหนึ่ง (1)(ก) ได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีคือวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 83 วรรคสองคดีนี้ต้องเริ่มนับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีมกราคม 2536 เมื่อเจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมตามหนังสือแจ้งการประเมินและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 จึงยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 88/6 วรรคท้าย และเมื่อการประเมินให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีมกราคม 2536ยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปีแล้ว การประเมินให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมสำหรับทุกเดือนภาษีของปี 2536ก็ย่อมยังอยู่ภายในระยะเวลา 5 ปีดังกล่าวด้วย การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว ในชั้นชี้สองสถาน ศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงประเด็นเดียวแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เลื่อนคดีไปนัดฟังคำพิพากษาซึ่งหลังจากมีคำสั่งเช่นนี้แล้วก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรพ.ศ. 2539 ข้อ 16 วรรคท้าย คงเพิกเฉยเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อพิพาทอื่นแล้วการหยิบยกประเด็นอื่นมากล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ปิดคดี ไม่ถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลภาษีอากรกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: การโต้แย้งสิทธิขอคืนภาษีอากรและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลย ต่อมาจำเลยได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนพบว่า โจทก์ได้รับค่าภาษีอากรเกินไปจำนวน5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่งคืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมิน แต่กรณีเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 (3)แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบค.10 โดยจำเลยได้ทำการพิจารณาคำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งเงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรแล้ว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: กรณีพิพาทคืนภาษี แม้ไม่ใช่การประเมิน ก็มีอำนาจฟ้องได้หากมีการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยตามแบบ ค.10 ที่จำเลยกำหนดไว้ แต่ต่อมาจำเลยพบว่าโจทก์ได้รับค่าภาษีอากร เกินไปจำนวน 5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่ง คืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมินก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบ ค.10 ให้ผิดไปตามแบบที่จำเลยกำหนด โดยจำเลยได้ทำการพิจารณา คำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่ง เงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของ โจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยได้