คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ วงศ์ยืน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมหลังเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี และการใช้สิทธิโดยสุจริตของผู้ประกอบการ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับบริการได้ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น การที่โจทก์ต้องเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มจากจำเลยเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 ให้ยกเลิกมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2534 ให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นรวมแล้วเป็นอัตราร้อยละ 10 เป็นผลให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากเดิมรวมแล้วร้อยละ 3 กรรมการของโจทก์ในฐานะนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยได้มีหนังสือหารือกรมสรรพากรว่ากรณีเช่นโจทก์จะได้รับสิทธิไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งกรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบข้อหารือของกรรมการของโจทก์มาแล้วว่า กรณีของโจทก์ไม่ได้รับประโยชน์ที่จะเสียภาษีในอัตราเดิม ดังนี้ เมื่อต่อมาสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 5 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นอีกดังกล่าว แม้จะระบุในหนังสือแจ้งด้วยว่าหากโจทก์จะโต้แย้งให้ยื่นคำคัดค้านภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และข้อเท็จจริงรับกันว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำคัดค้านซึ่งถึงแม้โจทก์จะยื่นคำคัดค้าน ผลก็ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะอธิบดีกรมสรรพากรได้วินิจฉัยตอบข้อหารือแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเติมอีกร้อยละ 3 สำหรับเงินค่าจ้างที่โจทก์ได้รับจากจำเลยตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2541 แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงได้นำเงินไปชำระแก่กรมสรรพากรเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้น จึงมีเหตุผลอันสมควรและเป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลย ก็เป็นการใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาประเมินของราชการ ศาลยืนตามประเมินเจ้าพนักงาน
โจทก์ขายห้องชุดพิพาทจำนวน 223 ห้อง ไปในราคาต่ำกว่าราคาที่โจทก์ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่มีเหตุอันควร ทั้งโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าราคาตลาดของห้องชุดดังกล่าวในวันที่มีการโอนมีราคาเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาราคาประเมินของทางราชการที่ใช้คำนวณเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ผู้ซื้อจากโจทก์ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทเป็นราคาตลาดในวันที่โอนจึงเหมาะสมและชอบด้วยประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ทวิ (4)แล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้องจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้รับการยอมรับ
โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ต่อมาวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยอ้างเหตุว่าเกิดอุทกภัยขึ้นในภูมิลำเนาของโจทก์อย่างรุนแรง โจทก์ปิดกิจการที่ทำอยู่ชั่วคราว แก่โจทก์ไม่สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โจทก์จึงนำคดีเดียวกันมาฟ้องใหม่พ้นคดีนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องโดยอ้างเหตุสุดวิสัยข้างต้น ตามคำร้องดังกล่าวของอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่โจทก์จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันพ้นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฟ้องคดีภาษีอากรเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเวลา
โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ต่อมาวันที่ 20พฤศจิกายน 2543 โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยอ้างเหตุว่าเกิดอุทกภัยขึ้นในภูมิลำเนาของโจทก์อย่างรุนแรงโจทก์ปิดกิจการที่ทำอยู่ชั่วคราว แต่โจทก์ไม่สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โจทก์นำคดีเดียวกันมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องโดยอ้างเหตุสุดวิสัยข้างต้น ตามคำร้องดังกล่าวเหตุอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่โจทก์จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันเป็นคดีนี้
หมายเหตุ ในคดีภาษีอากร ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องให้แก่คู่ความได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534(ประชุมใหญ่) ระหว่าง นายสนิท วัฒนากรในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจรูญวัฒนากร โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีอากรหลังเครื่องจักรเสียหายและได้รับการยกเว้นภาษีใหม่ โจทก์มีอำนาจเก็บภาษีจากเดิมได้
จำเลยนำเครื่องจักรเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมมีความรับผิดในอันที่จะต้องเสียภาษีสำหรับของที่นำเข้าในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่จำเลยอาจได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหากได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรภายใต้เงื่อนไขกฎหมายและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด เมื่อปรากฏว่าจำเลยนำเข้าเครื่องจักรโดยได้รับยกเว้นอากรและภาษีการค้าตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แต่เครื่องจักรดังกล่าวถูกเพลิงไหม้ขณะอยู่ในอารักขาของโจทก์ที่ 1 และสำนักงานส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 1 แจ้งว่าได้ยกเลิกหนังสือที่อนุมัติให้ยกเว้นอากรสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้แล้ว โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าอธิบดีกรมศุลกากรยกเว้นภาษีอากรในส่วนของสินค้าที่ถูกเพลิงไหม้ให้แก่จำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่และความรับผิดที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 1 มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรจากผู้นำเข้า ส่วนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ที่จะยกเว้นภาษีอากรให้แก่ผู้นำเข้าตามเงื่อนไขของกฎหมายและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่จะจัดเก็บภาษีอากรและไม่มีหน้าที่สั่งให้โจทก์ที่ 1 เก็บภาษีอากร การที่สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 1ล่วงไปสั่งให้โจทก์ที่ 1 จัดเก็บภาษีอากรจากจำเลยย่อมไม่ชอบ ต่อมาสำนักงานส่งเสริมการลงทุนมีหนังสือถึงโจทก์ที่ 1 ว่า "สำนักงานจึงขอยกเลิกการแจ้งให้กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีอากรสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้ดังกล่าว" จึงเป็นเรื่องสำนักงานส่งเสริมการลงทุนเห็นว่าตัวเองไม่มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าวจึงทำหนังสือขอยกเลิกเรื่องการแจ้งให้โจทก์ที่ 1 เรียกเก็บภาษีสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้เท่านั้น หาใช่เป็นเรื่องแจ้งยกเลิกการเรียกเก็บภาษีอากรสำหรับเครื่องจักรที่ถูกเพลิงไหม้ดังที่จำเลยเข้าใจไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายซื้อแผ่นทองแดงชดเชยความสูญเสียในการผลิตลวดทองแดง ไม่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี
โจทก์อ้างว่าได้จ่ายค่าซื้อแผ่นทองแดงมาชดเชยในการผลิตลวดทองแดงให้ลูกค้าในปี 2533 จำนวน 13,244,463.88 บาท และในปี 2534 จำนวน 20,144,606.20บาท ทั้งที่โจทก์เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตและในสัญญาว่าจ้างผลิตเส้นลวดทองแดงก็ไม่มีข้อความระบุว่าโจทก์จะต้องผลิตเส้นลวดทองแดงให้มีน้ำหนักเท่ากับแผ่นทองแดงที่ผู้ว่าจ้างนำมามอบให้โจทก์เพื่อใช้ในการผลิตและโจทก์จะต้องรับผิดชอบในน้ำหนักที่ขาดหายไป รายจ่ายค่าซื้อแผ่นทองแดงของโจทก์จึงไม่ใช่รายจ่ายที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในความสูญเสียในการผลิตทองแดงตามสัญญา แต่หากเป็นรายจ่ายที่โจทก์สมัครใจจ่ายไปเองทั้งที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ว่าจ้างแต่ประการใด ย่อมเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13)เมื่อรายจ่ายของโจทก์ดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินภาษีคืนพร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายซื้อทองแดงชดเชยการผลิตไม่เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี หากสัญญาไม่มีข้อผูกพัน
โจทก์รับจ้างผลิตลวดทองแดงโดยลูกค้าโจทก์นำทองแดงมาให้โจทก์ทำการผลิต แต่ไม่มีข้อตกลงในสัญญาว่าโจทก์จะต้องผลิตลวดทองแดงให้ได้น้ำหนักเท่ากับทองแดงที่ลูกค้านำมาให้โจทก์ เมื่อปรากฏว่าทองแดงมีการสูญเสียน้ำหนักเนื่องจากกระบวนการผลิต น้ำหนักทองแดงที่สูญเสียไปจึงไม่อยู่ในส่วนที่โจทก์จะต้องรับผิดตามสัญญา การที่โจทก์ไปซื้อทองแดงมาชดเชยเพื่อทำให้การผลิตลวดทองแดงได้น้ำหนักตามจำนวนที่ลูกค้าโจทก์นำมาให้โจทก์ รายจ่ายค่าซื้อทองแดงมาชดเชยการผลิตดังกล่าวย่อมเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ได้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายซื้อทองทดแทนการสูญเสียในผลิต ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี หากไม่มีข้อตกลงในสัญญา
โจทก์รับจ้างผลิตลวดทองแดงโดยลูกค้าโจทก์นำทองแดงมาให้โจทก์ทำการผลิตแต่ไม่มีข้อตกลงในสัญญาว่า โจทก์จะต้องผลิตลวดทองแดงให้ได้น้ำหนักเท่ากับทองแดงที่ลูกค้านำมาให้โจทก์ เมื่อปรากฏว่าทองแดงมีการสูญเสียน้ำหนักเนื่องจากกระบวนการผลิต น้ำหนักทองแดงที่สูญเสียไปจึงไม่อยู่ในส่วนที่โจทก์จะต้องรับผิดตามสัญญาการที่โจทก์ไปซื้อทองแดงมาชดเชยเพื่อทำให้การผลิตลวดทองแดงได้น้ำหนักตามจำนวนที่ลูกค้าโจทก์นำมาให้โจทก์ รายจ่ายค่าซื้อทองแดงมาชดเชยการผลิตดังกล่าวย่อมเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ได้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้อุปถัมภ์ตามสัญญาค้ำประกันภาษีอากร: วงเงินแยกหรือไม่รวมเงินเพิ่ม
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ท. จำกัด ต่อกรมสรรพากรเป็นเงินไม่เกิน 2,097,425 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่ม?" ตามข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากรส่วนหนึ่งไม่เกินจำนวน 2,097,425 บาท กับเงินเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง หาใช่ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีรวมกับเงินเพิ่มไม่เกินจำนวน 2,097,425 บาท ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องเกิดจากบทบัญญัติที่ศาลจะใช้บังคับในคดี
การที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ต้องเป็นกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ การที่จะพิจารณาว่าศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 ดังนั้น การที่จำเลยให้การว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง แต่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 276 ที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 บัญญัติยกเว้นมิให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 6 จึงมิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540มาตรา 6 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
of 37