พบผลลัพธ์ทั้งหมด 364 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะไม่มีผลทางภาษี เงินได้ของคู่สมรสที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่าย
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1495 เนื่องจาก จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วในขณะที่สมรสกับโจทก์มีผลเท่ากับโจทก์กับ จ. มิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรก จึงไม่อาจถือว่า เงินที่ จ. ได้รับมาในปีภาษี 2539 เป็นเงินได้ของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และ ความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะส่งผลต่อหน้าที่เสียภาษีเงินได้ของคู่สมรส
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับ จ. เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1495 เนื่องจาก จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วในขณะที่สมรสกับโจทก์ จึงมีผลเท่ากับโจทก์กับ จ. มิได้เป็นสามีภริยากันมาแต่แรก ไม่อาจถือเอาเงินได้ที่ จ. ได้รับมาเป็นเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี โจทก์ไม่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีโรงเรือนและที่ดินพร้อมดอกเบี้ย: กำหนดเวลาเริ่มนับดอกเบี้ยต้องเป็นวันคำพิพากษาถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่พิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินพร้อมเงินเพิ่มแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันพ้นกำหนด 3 เดือน นับจากวันฟังคำพิพากษานี้จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ซึ่งหมายถึงนับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางนั้น เมื่อได้ความว่าคดีนี้มิได้ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 39 วรรคสอง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงพิพากษาให้จำเลยคืนเงินภาษีภายใน 3 เดือน นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ถ้าไม่คืนให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9872/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการหักเป็นรายจ่าย การจ่ายเงินเพื่ออำนวยความสะดวกเจ้าหน้าที่ศาลพิจารณาว่าไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้
ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ต้องชำระเพิ่มเติมในปีภาษี 2533 และ 2534 เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงานประเมินเมื่อปี 2538 เห็นว่าโจทก์ชำระภาษีการค้าไม่ถูกต้องและจะต้องชำระภาษีการค้าเพิ่มเติม ภาระภาษีการค้ากรณีนี้ยังไม่สามารถกำหนดจ่ายได้จริงและแน่นอนจนกว่าหนี้ค่าภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นที่ยุติโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น รายจ่ายค่าภาษีการค้าที่พิพาทในคดีนี้จึงมิใช่รายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 และ 2534
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. นำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการขอคืน เงินค่าภาษีอากรนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้โจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวนนั้น การจ่ายเงินในลักษณะเช่นนี้อาจจะเป็นการจ่ายในลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเฉพาะตัว เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าเพื่อหากำไรอันเป็นรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์ และการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเช่นนี้เป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อการให้สินบนเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้น แม้ ส. จะรับเงินจำนวนดังกล่าว แต่ ส. ก็มิได้รับเงินไว้เองต้องนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ ส. อ้างว่าได้รับเงินไว้ โจทก์ไม่สามารถนำมาพิสูจน์ได้ เมื่อโจทก์ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รายจ่ายดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18)
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. นำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการขอคืน เงินค่าภาษีอากรนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้โจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวนนั้น การจ่ายเงินในลักษณะเช่นนี้อาจจะเป็นการจ่ายในลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาเฉพาะตัว เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าเพื่อหากำไรอันเป็นรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์ และการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเช่นนี้เป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อการให้สินบนเจ้าพนักงานด้วย ดังนั้น แม้ ส. จะรับเงินจำนวนดังกล่าว แต่ ส. ก็มิได้รับเงินไว้เองต้องนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ ส. อ้างว่าได้รับเงินไว้ โจทก์ไม่สามารถนำมาพิสูจน์ได้ เมื่อโจทก์ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน รายจ่ายดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9763/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยชอบตามกฎหมาย และการขยายเวลาอุทธรณ์
บ้านที่เจ้าพนักงานสรรพากรได้ส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้แก่โจทก์ทั้งสอง เป็นบ้านของโจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองก็มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในบ้านหลังนี้ ทั้งยังปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมาดูแลโต๊ะสนุกเกอร์ที่บ้านเลยที่ดังกล่าวเป็นประจำ การที่เจ้าพนักงานประเมินส่งหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทั้งสอง ณ บ้านเลขที่ดังกล่าวซึ่งเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ทั้งสองทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และมี พ. อายุ 29 ปี ซึ่งอยู่ในบ้านเลยที่ดังกล่าวรับไว้แทน โดยระบุความเกี่ยวพันว่าเป็นลูกจ้าง จึงเป็นการส่งโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แม้จะฟังว่าพ. ทำหนังสือแจ้งการประเมินสูญหายไปดังที่โจทก์ทั้งสองนำสืบ โจทก์ทั้งสองก็หาอาจนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อขอขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์ได้ไม่ คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการอุทธณณ์เป็นคำสั่งที่ชอบ ไม่มีเหตุที่โจทก์ทั้งสองจะฟ้องให้เพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9724/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน เหตุจากเหตุขัดข้องในการจัดหาเอกสารไม่เพียงพอต่อการอนุญาตตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
ตามข้อกำหนดคดีภาษี พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคสี่ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานไว้ว่า คู่ความซึ่งขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน โดยอ้างว่าได้ปรับปรุงซ่อมแซมที่ทำการของโจทก์ ได้เคลื่อนย้ายเอกสารต่าง ๆ และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เดินทางไปต่างประเทศไม่สามารถหาเอกสารยื่นต่อศาลได้ทันนั้น มิใช่เหตุขัดข้องในการยื่นบัญชีระบุพยาน กรณีไม่มีเหตุอันสมควรจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9691/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ และการเสียเงินเพิ่ม
หนังสือที่จำเลยมีถึงผู้อำนวยการเขตจตุจักรชี้แจงว่าจำเลยเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี โรงเรือนหรืออาคารที่ก่อสร้างขึ้นเป็นลักษณะชั่วคราว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ทั้งมีสิทธิที่จะขอคืนภาษีโรงเรือนและทีดินที่ชำระไปแล้ว และหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดินและรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้สินของจำเลยภายหลังถูกรัฐบาลบอกเลิกสัญญาสัมปทานก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนกรรมสิทธิ์อาคารสำนักงานชั่วคราวที่พิพาทให้แก่บริษัทแล้ว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้น มิใช่คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 และมาตรา 26 แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อคำแถลงไม่ชัดเจน
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์อ้างเพียงว่า พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 309 ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรของจำเลย เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูงสุดเท่านั้น โดยโจทก์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุน ประกอบกับท้ายคำแถลงดังกล่าวโจทก์มีคำขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำขอท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาในลักษณะของการแถลงการณ์ปิดคดี เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำฟ้องเท่านั้น คำแถลงของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯมาตรา 6 ประกอบด้วยมาตรา 264 ที่ศาลชั้นต้นจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นยกคำแถลงแล้วพิจารณาคดีต่อไปจึงชอบแล้ว และเมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรฉบับที่ 309 ฯ ตามการประเมินของเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม: การไม่ใช้สิทธิขออัตรา 7% ทำให้ต้องเสียภาษีอัตรา 9% และคำแถลงก่อนศาลตัดสินไม่กระทบต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ยื่นคำแถลงก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาอ้างเพียงว่า พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ของจำเลยที่ 1 เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราสูงสุดเท่านั้น โดยมิได้กล่าวโดยแจ้งชัดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใด เพราะเหตุใด ประกอบกับท้ายคำแถลงดังกล่าวโจทก์มีคำขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำขอท้ายฟ้อง แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวในลักษณะของแถลงการณ์ปิดคดีเพื่อให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำฟ้องเท่านั้น คำแถลงดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบด้วยมาตรา 264 ที่ศาลจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่ออกตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่ออกตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สูงเกินไป ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินมีการกำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้ 2 กรณี กรณีแรกผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่ผู้กู้ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญา แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ เพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น กรณีที่สอง ผู้กู้ตกลงว่าหากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ กรณีของโจทก์เป็นการเรียกดอกเบี้ยสูงขึ้นจากเดิมเพราะจำเลยผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา โดยโจทก์มิต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่การปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในกรณีนี้มีลักษณะเป็นทำนองเบี้ยปรับ เนื่องจากเป็นทำนองค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเมื่อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383