พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าโทรศัพท์ต่อค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แม้มีการโอนสิทธิการเช่า
แบบคำขอบริการโทรศัพท์ที่จำเลยยื่นต่อ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อขอติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านของจำเลยในนามจำเลย ได้ระบุเงื่อนไขที่ผู้เช่าโทรศัพท์จะพึงปฏิบัติไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้เช่าโทรศัพท์จะรับผิดชอบในการที่จะชำระค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ทุกประเภทต่อ องค์การโทรศัพท์ฯตามระเบียบและข้อบังคับของ องค์การโทรศัพท์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต ข้อ 11 ว่า ค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบนั้น ให้รวมถึงค่าใช้บริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลนอกเขตโทรศัพท์นครหลวง และค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศซึ่ง องค์การโทรศัพท์ฯ จะได้เรียกเก็บตามอัตราการใช้โทรศัพท์ทางไกลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และจะได้ออกบิลเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ดังกล่าวพร้อมกับค่าเช่าโทรศัพท์ประจำเดือน จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์จึงต้องรับผิดชำระค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศที่มีผู้พูด จาก เครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าตามเงื่อนไขดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้พูดเองหรือไม่ก็ตาม แม้ระเบียบปฏิบัติงานของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะได้กำหนดในเรื่องการโอนโทรศัพท์ว่า ผู้ขอรับโอนต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้นก่อนการโอน หากมีหนี้สินผูกพัน ผู้ขอรับโอนจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยก็ตาม เมื่อจำเลยได้โอนขายโทรศัพท์ที่ขอติดตั้งในนามจำเลยให้แก่ ท. ผู้ขอรับโอนเป็นการภายในโดยโจทก์หรือ องค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ทราบหรือได้รู้เห็นยินยอมในการโอนและไม่ได้ความว่าขณะโอน ท. ได้ยอมรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันกับโทรศัพท์หมายเลขนั้นที่เกิดขึ้นก่อนมีการโอนอยู่หนี้สินนั้นหาได้โอนไปยัง ท. ด้วยไม่ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บเงินค่าใช้บริการของโจทก์ที่กำหนดว่าโจทก์จะส่งใบแจ้งหนี้การใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้ผู้ใช้บริการทราบเดือนละ 1 ครั้ง โดยทางไปรษณีย์ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ระบุในใบแจ้งหนี้ ไม่ใช่หมายความว่า โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ องค์การโทรศัพท์ฯ ช่วยเรียกเก็บเงินค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ใช้บริการ โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้และหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่บ้านตั้งแต่เดือนมกราคม 2526 โดยกำหนดให้ชำระค่าบริการภายในวันที่ 18 มีนาคม 2526 หากไม่ชำระภายในกำหนดจะระงับการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้จนกว่าจะได้นำเงินมาชำระให้ครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถตรวจสอบทราบตั้งแต่เดือนเมษายน2526 แล้วว่า ผู้ใช้บริการไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ได้ปล่อยให้มีการใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศจนถึงเดือนกรกฎาคม 2526ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ตน จำเลยจึงควรต้องรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวแก่โจทก์เฉพาะในเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2526 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าโทรศัพท์ต่อค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แม้จะโอนสิทธิการเช่าไปแล้ว และความประมาทเลินเล่อของโจทก์
แบบคำขอบริการโทรศัพท์ที่จำเลยยื่นต่อ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อขอติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านของจำเลยในนามจำเลย ได้ระบุเงื่อนไขที่ผู้เช่าโทรศัพท์จะพึงปฏิบัติไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้เช่าโทรศัพท์จะรับผิดชอบในการที่จะชำระค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ทุกประเภทต่อ องค์การโทรศัพท์ฯตามระเบียบและข้อบังคับของ องค์การโทรศัพท์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต ข้อ 11 ว่า ค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบนั้น ให้รวมถึงค่าใช้บริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลนอกเขตโทรศัพท์นครหลวง และค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศซึ่ง องค์การโทรศัพท์ฯ จะได้เรียกเก็บตามอัตราการใช้โทรศัพท์ทางไกลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และจะได้ออกบิลเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ดังกล่าวพร้อมกับค่าเช่าโทรศัพท์ประจำเดือน จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์จึงต้องรับผิดชำระค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศที่มีผู้พูด จาก เครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าตามเงื่อนไขดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้พูดเองหรือไม่ก็ตาม
แม้ระเบียบปฏิบัติงานของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะได้กำหนดในเรื่องการโอนโทรศัพท์ว่า ผู้ขอรับโอนต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้นก่อนการโอน หากมีหนี้สินผูกพัน ผู้ขอรับโอนจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยก็ตาม เมื่อจำเลยได้โอนขายโทรศัพท์ที่ขอติดตั้งในนามจำเลยให้แก่ ท. ผู้ขอรับโอนเป็นการภายในโดยโจทก์หรือ องค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ทราบหรือได้รู้เห็นยินยอมในการโอนและไม่ได้ความว่าขณะโอน ท. ได้ยอมรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันกับโทรศัพท์หมายเลขนั้นที่เกิดขึ้นก่อนมีการโอนอยู่หนี้สินนั้นหาได้โอนไปยัง ท. ด้วยไม่
ข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บเงินค่าใช้บริการของโจทก์ที่กำหนดว่าโจทก์จะส่งใบแจ้งหนี้การใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้ผู้ใช้บริการทราบเดือนละ 1 ครั้ง โดยทางไปรษณีย์ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ระบุในใบแจ้งหนี้ ไม่ใช่หมายความว่า โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ องค์การโทรศัพท์ฯ ช่วยเรียกเก็บเงินค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ใช้บริการ โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้และหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่บ้านตั้งแต่เดือนมกราคม 2526 โดยกำหนดให้ชำระค่าบริการภายในวันที่ 18 มีนาคม 2526 หากไม่ชำระภายในกำหนดจะระงับการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้จนกว่าจะได้นำเงินมาชำระให้ครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถตรวจสอบทราบตั้งแต่เดือนเมษายน2526 แล้วว่า ผู้ใช้บริการไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ได้ปล่อยให้มีการใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศจนถึงเดือนกรกฎาคม 2526ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ตน จำเลยจึงควรต้องรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวแก่โจทก์เฉพาะในเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2526 เท่านั้น
แม้ระเบียบปฏิบัติงานของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะได้กำหนดในเรื่องการโอนโทรศัพท์ว่า ผู้ขอรับโอนต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้นก่อนการโอน หากมีหนี้สินผูกพัน ผู้ขอรับโอนจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยก็ตาม เมื่อจำเลยได้โอนขายโทรศัพท์ที่ขอติดตั้งในนามจำเลยให้แก่ ท. ผู้ขอรับโอนเป็นการภายในโดยโจทก์หรือ องค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ทราบหรือได้รู้เห็นยินยอมในการโอนและไม่ได้ความว่าขณะโอน ท. ได้ยอมรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันกับโทรศัพท์หมายเลขนั้นที่เกิดขึ้นก่อนมีการโอนอยู่หนี้สินนั้นหาได้โอนไปยัง ท. ด้วยไม่
ข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บเงินค่าใช้บริการของโจทก์ที่กำหนดว่าโจทก์จะส่งใบแจ้งหนี้การใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้ผู้ใช้บริการทราบเดือนละ 1 ครั้ง โดยทางไปรษณีย์ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ระบุในใบแจ้งหนี้ ไม่ใช่หมายความว่า โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ องค์การโทรศัพท์ฯ ช่วยเรียกเก็บเงินค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ใช้บริการ โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้และหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่บ้านตั้งแต่เดือนมกราคม 2526 โดยกำหนดให้ชำระค่าบริการภายในวันที่ 18 มีนาคม 2526 หากไม่ชำระภายในกำหนดจะระงับการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้จนกว่าจะได้นำเงินมาชำระให้ครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถตรวจสอบทราบตั้งแต่เดือนเมษายน2526 แล้วว่า ผู้ใช้บริการไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ได้ปล่อยให้มีการใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศจนถึงเดือนกรกฎาคม 2526ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ตน จำเลยจึงควรต้องรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวแก่โจทก์เฉพาะในเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2526 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์และผู้ขนส่งในการสูญหายของสิ่งของฝากส่ง และขอบเขตความรับผิดตามกฎหมาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสนบาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบินจำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งถุงไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกันโจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500 แฟรงก์ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้ แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 30
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดไปรษณีย์, วงเงินประกันภัย, ผู้ขนส่งหลายทอด: ความรับผิดชอบค่าเสียหายสิ่งของสูญหาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสน บาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบิน จำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งถุง ไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกัน โจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500 แฟรงก์ ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 30 การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามป.พ.พ. ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะ กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของบริษัทขนส่งและไปรษณีย์ กรณีสิ่งของสูญหาย และการรับประกันภัย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสนบาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบินจำเลยที่ 2เป็นผู้ส่งถุงไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกันโจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500แฟรงก์ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้ แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ. 2477 มาตรา 30
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าโทรศัพท์ต้องรับผิดค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่ผู้เช่าบ้านใช้ แม้ไม่ได้เป็นผู้ใช้งานเอง
โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและบริการพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศได้มีระเบียบระบุไว้ในสมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์และสมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์นั้นจำเลยได้รับแจกจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทุกปีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ทราบระเบียบหรือแจ้งความในสมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์ว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ติดตั้งที่บ้านจำเลยสามารถใช้พูดไปต่างประเทศได้โดยโจทก์เป็นผู้เรียกเก็บเงินโดยตรงจำเลยอนุญาตให้ผู้เช่าบ้านใช้โทรศัพท์ที่ติดตั้งที่บ้านจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือของโจทก์ทราบว่าให้ใช้เฉพาะภายในประเทศไม่ให้ใช้พูดไปต่างประเทศถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ผู้เช่าบ้านใช้เครื่องโทรศัพท์พูดไปต่างประเทศได้ด้วยเมื่อมีการใช้โทรศัพท์จากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าพูดไปต่างประเทศจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้และจำเลยได้ทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าใช้บริการพูดโทรศัพท์ไปต่างประเทศที่ผู้เช่าบ้านของจำเลยใช้พูดจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าโทรศัพท์ต้องรับผิดค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่ผู้เช่าห้องใช้ แม้เจ้าของบ้านจะไม่ทราบ
โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและบริการพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ได้มีระเบียบระบุไว้ในสมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์ และสมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์นั้นจำเลยได้รับแจกจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทุกปี จึงถือได้ว่าจำเลยได้ทราบระเบียบหรือแจ้งความในสมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์ว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ติดตั้งที่บ้านจำเลยสามารถใช้พูดไปต่างประเทศได้ โดยโจทก์เป็นผู้เรียกเก็บเงินโดยตรง จำเลยอนุญาตให้ผู้เช่าบ้านใช้โทรศัพท์ที่ติดตั้งที่บ้านจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือของโจทก์ทราบว่าให้ใช้เฉพาะภายในประเทศ ไม่ให้ใช้พูดไปต่างประเทศถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ผู้เช่าบ้านใช้เครื่องโทรศัพท์พูดไปต่างประเทศได้ด้วยเมื่อมีการใช้โทรศัพท์จากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าพูดไปต่างประเทศจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้และจำเลยได้ทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าใช้บริการพูดโทรศัพท์ไปต่างประเทศที่ผู้เช่าบ้านของจำเลยใช้พูดจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้