พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องในความผิดร่วมกันมีและจำหน่ายยาเสพติด เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้
จำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนของกลางน้ำหนัก 4.129 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่สิบตำรวจเอก ค.กับสายลับที่ไปล่อซื้อ นอกจากนี้แล้วจำเลยที่ 1 ยังมีกัญชาแห้งจำนวน 1 ถุง น้ำหนัก 580 กรัมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่พยานหลักฐานของโจทก์ เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานมีเฮโรอีน ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนจริงหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองดังนี้ ศาลฎีกายังมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความดีฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 แม้ความผิดฐานนี้ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการอุทธรณ์คดีอาญา: ต้องผ่านศาลอุทธรณ์ก่อน จึงจะฎีกาได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคหนึ่ง บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ดังเช่นคดีแพ่ง ดังนั้น การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีอาญาของศาลชั้นต้น จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการอุทธรณ์คดีอาญา: ไม่อาจใช้บทบัญญัติคดีแพ่งโดยอนุโลมได้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีอาญาของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 จะนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ.ภาค 4 ลักษณะ 1 ไม่อาจใช้ ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลม
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีอาญาของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.ภาค 4 ลักษณะ 1 จะนำ ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรื้อถอนอาคารรุกล้ำที่ดิน: คำฟ้องชัดเจน แม้รายละเอียดสิทธิและหน้าที่ยังไม่ครบถ้วนก็ไม่ถือว่าฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดธ.ปรับปรุงที่ดินและก่อสร้างศูนย์การค้าโดยยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ทำการจัดหาผลประโยชน์ต่อมาจำเลยทำการก่อสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำที่ดินแปลงดังกล่าว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนไปนั้น เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วส่วนที่โจทก์จะได้มีการตรวจสอบเขตที่ดินให้แน่นอนก่อนฟ้องหรือไม่ และที่โจทก์ไม่บรรยายฟ้องถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ. ตามสัญญาก่อสร้างศูนย์การค้านั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องที่บรรยายไว้โดยแจ้งชัดแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้คำบรรยายฟ้องที่แจ้งชัดกลายเป็นคำบรรยายฟ้องที่ไม่แจ้งชัดไปได้คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญา, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, การชดใช้ค่าจ้างเพิ่ม, และอายุความคดีแพ่ง
เงินค่าปรับในกรณีที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ ล่วงหน้าเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ศาลมีอำนาจ ใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง สัญญาจ้างก่อสร้างระบุว่า เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคารนั้นเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลย จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 380 วรรคสอง โจทก์ประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้องสร้างต่อจากจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยได้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการเอาเปรียบจำเลย โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลย สิทธิเรียกร้องนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญา, หลักประกันสัญญา, และการเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้าในการก่อสร้าง
แม้ตามสัญญาข้อ 19 คู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จ จำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์ดำเนินการปรับเป็นรายวัน วันละ 1,939.50 บาท ก็ตาม แต่เงินค่าปรับในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้าดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคาร ได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ได้
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำสัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียนหลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าวครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง 2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้องก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัท พ.ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2537 จึงไม่ขาดอายุความ
เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคาร ได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ได้
จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้างให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำสัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียนหลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าวครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการหาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง 2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้องก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัท พ.ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้างทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน2537 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญา, หลักประกันสัญญา, การชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และอายุความฟ้องคดี
แม้ตามสัญญาข้อ 19 คู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์ดำเนินการปรับเป็น รายวัน วันละ 1,939.50 บาท ก็ตาม แต่เงินค่าปรับ ในกรณีที่จำเลยทั้งสองส่งมอบงานล่าช้าดังกล่าวเป็น เบี้ยปรับอย่างหนึ่ง เพราะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนด ไว้ล่วงหน้าเมื่อไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ศาลจึงมี อำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้เหมาะสมได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคารซึ่งจำเลยทั้งสองใช้เป็นหลักประกันสัญญาจ้างที่โจทก์รับชำระไว้จากธนาคารได้มีการระบุไว้ในสัญญาจ้าง ข้อ 3 ว่า ให้ใช้เงินนี้เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานรับจ้างของจำเลยทั้งสองตามสัญญาเงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญาซึ่งจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ได้ จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายเข้ารับเหมาก่อสร้างจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องสำรวจสถานที่ก่อสร้าง ให้เรียบร้อยและหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคย่อมต้องทำ สัญญาโดยกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ก่อน ทั้งในการรื้ออาคารเรียน หลังเดิมโจทก์ก็ได้รื้อถอนจนเสร็จและมีหนังสือบอกกล่าวแจ้ง ให้จำเลยทั้งสองทราบแล้วแต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่ เข้าไปทำงาน โจทก์ต้องบอกกล่าวซ้ำไปอีกครั้ง จำเลยทั้งสองจึงได้เข้าทำงานหลังจากบอกกล่าว ครั้งแรกโดยล่าช้าไปถึง 2 เดือนเศษ สำหรับวัสดุก่อสร้าง ขึ้นราคาก็เป็นความผิดของจำเลยทั้งสองที่ไม่ได้เตรียมการ หาวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างไว้ล่วงหน้าและให้ได้ มาตรฐานตามที่ทางราชการกำหนดซึ่งจำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าในแบบแปลนการก่อสร้างก่อนแล้ว สำหรับปัญหาเรื่องนำเสาเข็มเข้าไปยังที่ก่อสร้างไม่ได้และไม่มีคนงานก่อสร้างนั้น ล้วนแล้วเป็นผลจากการกระทำของจำเลยทั้งสองทั้งสิ้น และยังมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ขยายระยะเวลาแก่จำเลยทั้งสองในการก่อสร้างถึง 3 ครั้ง รวม 477 วันซึ่งเป็นระยะเวลานานพอที่จำเลยทั้งสองควรจะก่อสร้างได้เสร็จ แต่จำเลยทั้งสองก็ยังไม่เร่ง ก่อสร้างให้แล้วเสร็จทันกำหนดตามสัญญา โดยโจทก์ไม่มีส่วนในการที่ทำให้งานก่อสร้างต้องชะงักล่าช้าไปการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองในราคาที่แพงขึ้นเกือบถึง2 เท่าตัว ในปริมาณงานเท่ากัน แล้วมาเรียกเอาส่วนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากจำเลยทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ จัดให้มีการประกวดราคาค่าก่อสร้างในงานส่วนที่ต้อง ก่อสร้างต่อจากจำเลยทั้งสองถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เมื่อบริษัทพ. ชนะการประกวดราคาในราคาซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมในเวลาขณะนั้นแล้ว กรณี ถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อม มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้ค่าจ้างก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเพราะการจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างอาคารต่อจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาจ้าง ทำของ ขอเรียกค่าปรับรายวันและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น จากการที่โจทก์จ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจาก จำเลยทั้งสอง อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่กฎหมายไม่ได้กำหนด อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจ้างและโจทก์บอกเลิกสัญญาเมื่อ ปี 2534 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2537 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสามารถในการต่อสู้คดี: คนวิกลจริต vs. โรคจิตเภท
จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14 จะต้องปรากฏว่า เป็นผู้วิกลจริต หรือมีสติวิปลาสในทำนองเป็นคนบ้า
โรคจิตพวกจิตเภทอันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นแต่เพียงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ทำให้ความคิดและบุคคลิกภาพผิดปกติไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคนวิกลจริต หรือโรคทางจิตชนิดที่มีความผิดปกติของความรู้สึกหรือพฤติกรรมอย่างแรงถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ แต่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยมีอาชีพค้าขาย ซึ่งปกติของคนมีอาชีพค้าขายจะต้องเป็นผู้เฉลียวฉลาด รู้จักการแสวงหากำไรประกอบกับตามคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ปรากฏว่าจำเลยสามารถลงลายมือชื่อได้ถูกต้อง และตามคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ลงวันที่วันเดียวกันจำเลยสามารถลงลายมือชื่อและนามสกุลได้เรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังมีลักษณะเหมือนคนปกตินอกจากนี้ตามสำเนาทะเบียนบ้านท้ายฎีกาก็ปรากฏอีกว่าจำเลยสามารถเป็นเจ้าบ้านและเปลี่ยนชื่อเป็น ท. โดยเมื่อปี 2533 และ 2538 ก่อนจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีบุตรชายได้ตามปกติถึง 2 คน จำเลยจึงมิใช่คนวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
โรคจิตพวกจิตเภทอันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นแต่เพียงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ทำให้ความคิดและบุคคลิกภาพผิดปกติไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคนวิกลจริต หรือโรคทางจิตชนิดที่มีความผิดปกติของความรู้สึกหรือพฤติกรรมอย่างแรงถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ แต่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยมีอาชีพค้าขาย ซึ่งปกติของคนมีอาชีพค้าขายจะต้องเป็นผู้เฉลียวฉลาด รู้จักการแสวงหากำไรประกอบกับตามคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ปรากฏว่าจำเลยสามารถลงลายมือชื่อได้ถูกต้อง และตามคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ลงวันที่วันเดียวกันจำเลยสามารถลงลายมือชื่อและนามสกุลได้เรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังมีลักษณะเหมือนคนปกตินอกจากนี้ตามสำเนาทะเบียนบ้านท้ายฎีกาก็ปรากฏอีกว่าจำเลยสามารถเป็นเจ้าบ้านและเปลี่ยนชื่อเป็น ท. โดยเมื่อปี 2533 และ 2538 ก่อนจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีบุตรชายได้ตามปกติถึง 2 คน จำเลยจึงมิใช่คนวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีของจำเลยที่อ้างว่าวิกลจริต ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และหลักฐานเพื่อยืนยันความสามารถในการต่อสู้คดี
จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 จะต้องปรากฏว่า เป็นผู้วิกลจริต หรือมีสติวิปลาสในทำนองเป็นคนบ้า โรคจิตพวกจิตเภท อันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นแต่เพียงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ทำให้ความคิดและบุคคลิกภาพผิดปกติ ไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคนวิกลจริต หรือโรคทางจิต ชนิดที่มีความผิดปกติของความรู้สึกหรือพฤติกรรมอย่างแรง ถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ แต่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลย มีอาชีพค้าขาย ซึ่งปกติของคนมีอาชีพค้าขายจะต้องเป็น ผู้เฉลียวฉลาด รู้จักการแสวงหากำไรประกอบกับตามคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ปรากฏว่าจำเลยสามารถ ลงลายมือชื่อได้ถูกต้อง และตามคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ลงวันที่วันเดียวกันจำเลยสามารถลงลายมือชื่อและนามสกุล ได้เรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังมีลักษณะเหมือนคนปกติ นอกจากนี้ตามสำเนาทะเบียนบ้านท้ายฎีกาก็ปรากฏอีกว่าจำเลย สามารถเป็นเจ้าบ้านและเปลี่ยนชื่อเป็น ท. โดยเมื่อปี 2533 และ 2538 ก่อนจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีบุตรชายได้ตามปกติ ถึง 2 คน จำเลยจึงมิใช่คนวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว