พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มทุนทรัพย์เพื่อฎีกาโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีว่า ที่ดินพิพาทราคาไร่ละ 4,000 บาท ที่ดิน49 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา เป็นเงิน 198,000 บาท และโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นโดยถือทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่โจทก์ตั้งทุนทรัพย์ไว้ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีการะบุทุนทรัพย์ จำนวน 250,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ขึ้นเองโดยพลการ เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลัง ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองทราบดีว่าราคาทรัพย์พิพาทที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมีเพียงใด แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ผู้มีอำนาจ หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้รับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียให้ถูกต้องขณะยื่นฎีกา กรณีจึงเป็นไปในลักษณะโจทก์จงใจหรือละเลยไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายกำหนด ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะดำเนินกระบวนพิจารณานี้ใหม่อีก
โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของโจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย
โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของโจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย และการเพิ่มทุนทรัพย์โดยพลการ ทำให้ไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีว่า ที่ดินพิพาทราคาไร่ละ 4,000 บาท ที่ดิน 49 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา เป็นเงิน 198,000 บาท และโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาล ในศาลชั้นต้นโดยถือทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่โจทก์ ตั้งทุนทรัพย์ไว้ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีการะบุทุนทรัพย์จำนวน 250,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่มจำนวน ทุนทรัพย์ขึ้นเองโดยพลการ เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลัง ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองทราบดีว่าราคาทรัพย์พิพาทที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมีเพียงใด แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจ หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ รับรอง หรืออนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียให้ถูกต้องขณะยื่นฎีกา กรณีจึงเป็นไปในลักษณะโจทก์จงใจหรือละเลยไม่ดำเนินการ พิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายกำหนด ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะดำเนินกระบวนพิจารณานี้ใหม่อีก โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้อง ของ โจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือ ให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้น ไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้รับเหมา, การบอกเลิกสัญญา, และความรับผิด
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่จำเลยไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ใด ด้วยเหตุนี้ แม้พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจะได้ความไม่แจ้งชัดก็ดีหรือบางรายการโจทก์เรียกร้องค่าเครื่องมือเครื่องใช้ หรือค่าก่อสร้างไม่ได้ อันเนื่องมาจากโจทก์ต้องเป็นผู้จัดหาเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ทำงานให้สำเร็จในแต่ละอย่าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 588 หรือเพราะมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญา เป็นต้นว่าค่าปรับปรุงซ่อมแซมถนนก็ดี แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารสรุปผลงานของพนักงานจำเลยก่อนวันโจทก์หยุดงานในวันที่ 23 ตุลาคม 2535 เป็นเวลา 18 วัน ซึ่งก็ปรากฏว่างานที่จ้างได้ดำเนินการไปถึงงวดที่ 6 โดยงานวางท่อในงวดที่ 3 และที่ 5 สำเร็จ 45 เปอร์เซนต์ และ 2 เปอร์เซ็นต์ งานบ่อพักในงวดที่ 6 สำเร็จ 35 เปอร์เซ็นต์ จึงสมควรกำหนดค่างานก่อสร้างตลอดจนค่าวัสดุส่วนที่โจทก์ได้ทำขึ้นแล้ว นอกเหนือจากงานในงวดที่ 1 และที่ 2 และที่ 4 ให้โจทก์อีก เท่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปจากจำเลยก่อนงวดการจ่ายเงินในงวดต่าง ๆ ดังกล่าวตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาได้ส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งประธานศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนแล้วเห็นเป็นกรณีสืบเนื่องจากข้อพิพาทว่าผู้ใดผิดสัญญาจ้าง ไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเห็นสมควรจะได้วินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่
ผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังความในมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) อันเป็นคนละส่วนกันกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งกฎหมายบัญญัติ ไว้เฉพาะแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) บัญญัติวางเงื่อนไขไว้เช่นนี้ โจทก์ก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามนั้น จึงจะก่อให้เกิดอำนาจแก่โจทก์ในข้อที่จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวได้ ทั้งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และด้วยเหตุดังกล่าวตามคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หรือตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี ความไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อเรียกให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว
จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาได้ส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งประธานศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนแล้วเห็นเป็นกรณีสืบเนื่องจากข้อพิพาทว่าผู้ใดผิดสัญญาจ้าง ไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเห็นสมควรจะได้วินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่
ผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังความในมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) อันเป็นคนละส่วนกันกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งกฎหมายบัญญัติ ไว้เฉพาะแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) บัญญัติวางเงื่อนไขไว้เช่นนี้ โจทก์ก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามนั้น จึงจะก่อให้เกิดอำนาจแก่โจทก์ในข้อที่จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวได้ ทั้งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และด้วยเหตุดังกล่าวตามคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หรือตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี ความไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อเรียกให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว
จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าด้วยเจตนาพยาบาทและเพื่อปกปิดความผิด ศาลพิพากษายืนโทษฐานพยายามฆ่า
จำเลยเป็นหญิงชาวพม่า ทำหน้าที่แม่บ้าน ใช้มีดแทง ผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้าง 1 ครั้ง บริเวณหน้าอก ผู้เสียหายจับมือจำเลยไว้ จำเลยบอกว่าจะไม่ทำร้ายผู้เสียหายอีก ผู้เสียหายหมดสติไป แต่จำเลยตบหน้าผู้เสียหายจนรู้สึกตัว และใช้มีดแทงผู้เสียหายที่ลิ่นปี่ อีก 2 ครั้ง ผู้เสียหาย แย่งมีดกับจำเลย และนอนหงายทับมีดไว้ จำเลยจิกผมดึงผู้เสียหาย ให้ยกขึ้น และใช้มีดแทงผู้เสียหายอีก 2 ครั้ง ผู้เสียหาย ล้มฟุบ จำเลยจะเดินขึ้นไปชั้นบน เห็นผู้เสียหายผงกศีรษะขึ้น จำเลยจึงเดินกลับมาใช้มีดแทงหลังผู้เสียหายอีก 2 ครั้งผู้เสียหายแกล้งเป็นตาย จำเลยจึงขึ้นไปชั้นบน ส่วนผู้เสียหาย คลานออกจากบ้าน มีคนช่วยพาผู้เสียหายขึ้นรถยนต์กระบะ ไม่มีหลังคาไปส่งโรงพยาบาล จำเลยตามออกมาบอกคนที่มุงดูว่า ผู้เสียหายเป็นน้องสาวจำเลยถูกคนอื่นทำร้าย มีชาวบ้าน จะช่วยผู้เสียหาย แต่จำเลยบอกว่าไม่ต้องช่วย จำเลยดูแลได้ ระหว่างทางจำเลยได้บีบคอผู้เสียหายอย่างแรง 2 ครั้ง ผู้เสียหายร้องเสียงดังให้คนช่วย คนขับรถมองกระจกหลังแต่จำเลยโบกมือทำท่าว่าไม่มีอะไร และเคาะกระจกด้านหลังบอกให้ คนขับรถรีบขับไปโรงพยาบาล การที่จำเลยแทงผู้เสียหายเป็นระยะ อย่างผู้มีจิตใจพยาบาท และขอนั่งไปกับผู้เสียหายเพียงลำพัง ทั้ง ๆ ที่เพิ่งทำร้ายผู้เสียหายมา ส่อแสดงว่าจำเลยมีเจตนา ที่จะกระทำต่อผู้เสียหายอีก แม้จะไม่มีร่องรอยของการบีบคอ ผู้เสียหายก็ตาม เชื่อได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า ผู้เสียหายครั้งหลังเพื่อปกป้องความผิดของตน ส่วนการกระทำ ผิดครั้งแรก แม้จำเลยอ้างว่าเกิดจากผู้เสียหายใช้จำเลย ทำงานและว่ากล่าวจำเลย ถือเป็นเหตุการณ์ตามปกติระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้าง ไม่เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงไม่เป็นบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7628/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องความผิดหลายฐาน: แจ้งข้อหาความผิดหลักเพียงพอต่อการดำเนินคดีความผิดอื่นที่เกี่ยวพัน
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134ที่บังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบเจตนารมณ์ก็เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของตนโดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่กระทำผิด และในกรณีที่การกระทำนั้นผิดกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกันก็ตามพนักงานสอบสวนก็หาจำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตราหรือทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไม่ แต่ เมื่อได้แจ้งข้อหา อันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิด อันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิด ทุกข้อหาได้ ฉะนั้น การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลย ว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือยังมิได้ผ่านศุลกากร เข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่ามีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่ง อันมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างออกไปและอยู่ในกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิด ฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ฐานมีไม้สักแปรรูป ไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาตได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7488/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดเพื่อต่อสู้คดีกับตัวแทน: ความไม่ชอบและการขาดประโยชน์
คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดก อ้างว่าที่ดินพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 โดยการครอบครองปรปักษ์ ยังเป็นกรรมสิทธิ์และเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้ การที่ผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้ามาโดยอ้างว่าเป็นทายาทของ ส. ขอแบ่งมรดกเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) เช่นนี้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดชอบต่อทายาทของเจ้ามรดกทุกคนเสมือนเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 809 ถึง 812, 819, 823และ 831 ประกอบด้วยมาตรา 1720 ฉะนั้น ผู้ร้องสอดจะใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อเป็นการต่อสู้คดีกับตัวแทนของตนเอง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 58วรรคหนึ่ง ในขณะที่ตัวแทนหรือโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกกำลังฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากบุคคลภายนอกหรือจำเลยทั้งสองอยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ อีกทั้งหากศาลฟังว่าที่ดินพิพาทมิได้เป็นทรัพย์มรดก คำร้องของผู้ร้องสอด ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะได้รับการวินิจฉัยพฤติการณ์จึงยังไม่เป็นการจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่อาจมีอยู่ในชั้นนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้องสอดเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7488/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดแบ่งมรดกไม่ชอบ หากผู้จัดการมรดกฟ้องคดีเรียกทรัพย์มรดกอยู่
คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.เจ้ามรดกอ้างว่าที่ดินพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 โดยการครอบครองปรปักษ์ ยังเป็นกรรมสิทธิ์และเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1ดังนี้ การที่ผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้ามาโดยอ้างว่าเป็นทายาทของ ส. ขอแบ่งมรดกเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เช่นนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดชอบต่อทายาทของเจ้ามรดกทุกคนเสมือนเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 809 ถึง 812,819,823และ 831 ประกอบด้วยมาตรา 1720 ฉะนั้น ผู้ร้องสอดจะใช้สิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อเป็นการ ต่อสู้คดีกับตัวแทนของตนเอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ในขณะที่ตัวแทนหรือโจทก์ในฐานะ ผู้จัดการมรดกกำลังฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากบุคคลภายนอก หรือจำเลยทั้งสองอยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ อีกทั้งหากศาลฟังว่าที่ดินพิพาทมิได้เป็นทรัพย์มรดก คำร้องของผู้ร้องสอดก็ไม่มีประโยชน์ที่จะได้รับการวินิจฉัยพฤติการณ์จึงยังไม่เป็นการจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่อาจมีอยู่ในชั้นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้องสอดเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7464/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาใช้เอกสารปลอม - จำเลยต้องรู้ว่าเอกสารเป็นปลอมจึงมีความผิด
ผู้กระทำจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมต่อเมื่อได้รู้ข้อเท็จจริงว่าเอกสารนั้นปลอม เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้รู้ว่าเอกสารดังกล่าวปลอม การที่จำเลยใช้เอกสารนั้นย่อมขาดเจตนาในการกระทำผิด จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7464/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาใช้เอกสารปลอม - จำเลยต้องรู้ว่าเอกสารเป็นเท็จจึงมีความผิด
ผู้กระทำจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมต่อเมื่อได้รู้ข้อเท็จจริงว่าเอกสารนั้นปลอม เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้รู้ว่าเอกสารดังกล่าวปลอม การที่จำเลยใช้เอกสารนั้นย่อมขาดเจตนาในการกระทำผิด จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7464/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาใช้เอกสารปลอม - จำเลยต้องรู้ว่าเอกสารเป็นปลอม จึงมีผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ผู้กระทำจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมต่อเมื่อได้รู้ข้อเท็จจริงว่าเอกสารนั้นปลอม เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้รู้ว่าเอกสารดังกล่าวปลอม การที่จำเลยใช้เอกสารนั้นย่อมขาดเจตนาในการกระทำผิด จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม