คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ระพิณ บุญสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิฎีกาจำกัด ผู้ร้องสอดไม่มีสิทธิครอบครอง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ให้การไว้ ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 249
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หาใช่ผู้ร้องสอดแล้ว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย คำสั่งที่ให้ขับไล่นี้ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตามมาตรา 142 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ฎีกาของผู้ขาดนัดยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อผู้ร้องสอด
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ให้การไว้ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หาใช่ผู้ร้องสอดแล้ว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและมีคำสั่ง ให้ขับไล่จำเลย คำสั่งที่ให้ขับไล่นี้ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ ตามมาตรา 142(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6543/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองฝิ่นดิบเกิน 100 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคสอง กำหนดให้มีการยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่หนึ่งร้อยกรัม ขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ดังนั้น การที่จำเลยมีฝิ่นหรือฝิ่นดิบของกลางซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1,010 กรัม จึงต้องถือว่าจำเลยมีฝิ่นหรือฝิ่นดิบของกลางไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6413/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงสถานะยาจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดให้โทษต่อความผิดตามกฎหมายจราจร
ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "วัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่าวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ฉะนั้นวัตถุสิ่งใดหรือวัตถุออกฤทธิ์ใดจะเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ต้องเป็นสิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539)ให้ยกเลิกประกาศฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวยาบางประเภทโดยเฉพาะเมทแอมเฟตามีนและแอมเฟตามีนเสียแล้วและตามบัญชีท้ายประกาศก็มิได้ระบุว่ายาทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ แต่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) และบัญชีท้ายประกาศ ข้อกำหนดดังกล่าวย่อมมีผลไปถึงกฎหมายฉบับอื่นที่ได้ระบุไว้เป็นการทั่ว ๆ ไปของคำว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไปด้วยในตัวการที่จำเลยขับรถยนต์ในขณะเสพเมทแอมเฟตามีน จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารและการกระทำชำเรา ถือเป็นความผิด 2 กรรม
การที่จำเลยได้พาหรือชักจูงผู้เสียหาย(อายุ 12 ปีเศษ)ไปจากบริเวณถนนหน้าบ้านอาของผู้เสียหายที่ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ ไปยังบ้านเพื่อนของจำเลยและได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้องด้วยทำนองคลองธรรม แล้วจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาส่งที่บ้านพัก กรณีถือได้ว่าจำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรได้พรากผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตอนหนึ่งแล้ว ครั้นจำเลยกระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายอายุไม่เกิน 13 ปีไม่ว่าผู้เสียหายยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยในตอนหลังก็เป็นความผิดสำเร็จในอีกขั้นตอนหนึ่ง อันถือเป็นคนละขั้นตอนหรือเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดในขั้นตอนแรก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม
การที่จำเลยกอดปล้ำถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหาย และในเวลาเดียวกันจำเลยก็ได้กระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่รวม 8 ครั้ง หลังจากนั้นตอนที่จำเลยพาผู้เสียหายมาไว้ที่หอพักจนกระทั่งจำเลยพาผู้เสียหายไปส่งที่บ้านพักก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำอนาจารหรือกอดจูบลูบคลำผู้เสียหายใด ๆ อีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคแรก ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่ออนาจาร และกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ถือเป็นความผิด 2 กรรม
การที่จำเลยได้พาหรือชักจูงผู้เสียหาย (อายุ 12 ปีเศษ)ไปจากบริเวณถนนหน้าบ้านอาของผู้เสียหายที่ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ ไปยังบ้านเพื่อนของจำเลยและได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้องด้วยทำนองคลองธรรมแล้วจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาส่งที่บ้านพัก กรณีถือได้ว่าจำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรได้พรากผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาหรือ ผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตอนหนึ่งแล้ว ครั้นจำเลยกระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าผู้เสียหายยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยในตอนหลังก็เป็นความผิดสำเร็จในอีกขั้นตอนหนึ่ง อันถือเป็นคนละขั้นตอน หรือเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดในขั้นตอนแรก การกระทำ ของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม การที่จำเลยกอดปล้ำถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็เพื่อกระทำชำเราผู้เสียหาย และในเวลาเดียวกันจำเลยก็ได้กระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่รวม 8 ครั้ง หลังจากนั้นตอนที่จำเลยพาผู้เสียหายมาไว้ที่หอพักจนกระทั่งจำเลยพาผู้เสียหายไปส่งที่บ้านพักก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำอนาจารหรือกอดจูบลูบคลำผู้เสียหายใด ๆ อีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคแรก ข้อนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6259/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเหมาที่ดิน: เนื้อที่ดินไม่เป็นสาระสำคัญ คู่สัญญาไม่รับผิดชอบต่อเนื้อที่ดินขาด/เกิน
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่าผู้จะขายตกลงจะขาย และผู้จะซื้อตกลงจะซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมอาคาร ดังต่อไปนี้ ที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 2571 เนื้อที่ประมาณ 1,550 ตารางวา (3 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา) คู่สัญญาได้ตกลงราคา ที่ดินหรือที่ดินพร้อมอาคาร ที่จะซื้อขายกันดังกล่าวเป็นเงิน 3,400,000 บาท และตามสัญญาจะซื้อจะขายมิได้ระบุ ไว้ว่าที่ดินมีราคาตารางวาละเท่าไร ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อขาย ไม่ได้ระบุราคากันไว้ว่า ไร่ละหรือตารางวาละเท่าใด และเนื้อที่ดินที่จะขายก็เป็นแต่กะประมาณ แต่ได้กำหนดราคาไว้3,400,000 บาท อันมีลักษณะเป็นการขายรวม ๆ กันไปเป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ โจทก์เองได้ทำการตรวจสอบเนื้อที่ดินหลายครั้ง จึงไม่สนใจที่จะถือเอาเรื่องเนื้อที่ดินเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทคงกล่าวถึงความรับผิดของผู้จะขายหรือจำเลยไว้แต่เฉพาะเรื่องปลอดจากการจำนอง การรอนสิทธิหรือภาระติดพัน อื่นใดซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการรับผิดในข้อที่ทรัพย์ ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนอันมิได้กล่าวไว้เลย เสมือนหนึ่ง คู่สัญญาต่างมุ่งประสงค์ไม่ให้ต้องรับผิดต่อกันเกี่ยวกับ เนื้อที่ดินที่ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนที่อาจเกิดขึ้นใน ภายภาคหน้า จึงถือได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินยกทั้งแปลง หรือขายเหมา ดังนั้น ไม่ว่าที่ดินที่ซื้อขายจะขาดตกบกพร่อง หรือล้ำจำนวนโจทก์จำเลยก็จะเรียกเงินค่าซื้อที่ดินคืนหรือค่าซื้อที่ดินที่ยังขาดอยู่จากกันมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6259/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินยกแปลง: ราคาเหมาจ่าย ไม่ผูกพันเนื้อที่ดิน
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า ผู้จะขายตกลงจะขาย และผู้จะซื้อตกลงจะซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมอาคาร ดังต่อไปนี้ ที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2571 เนื้อที่ประมาณ 1,550 ตารางวา (3 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา)คู่สัญญาได้ตกลงราคาที่ดินหรือที่ดินพร้อมอาคาร ที่จะซื้อขายกันดังกล่าวเป็นเงิน3,400,000 บาท และตามสัญญาจะซื้อจะขายมิได้ระบุไว้ว่าที่ดินมีราคาตารางวาละเท่าไร ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อขายไม่ได้ระบุราคากันไว้ว่า ไร่ละหรือตารางวาละเท่าใด และเนื้อที่ดินที่จะขายก็เป็นแต่กะประมาณ แต่ได้กำหนดราคาไว้ 3,400,000บาท อันมีลักษณะเป็นการขายรวม ๆ กันไป เป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ โจทก์เองได้ทำการตรวจสอบเนื้อที่ดินหลายครั้ง จึงไม่สนใจที่จะถือเอาเรื่องเนื้อที่ดินเป็นข้อสำคัญอีกต่อไป อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทคงกล่าวถึงความรับผิดของผู้จะขายหรือจำเลยไว้แต่เฉพาะเรื่องปลอดจากการจำนอง การรอนสิทธิหรือภาระติดพันอื่นใดซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการรับผิดในข้อที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนอันมิได้กล่าวไว้เลย เสมือนหนึ่งคู่สัญญาต่างมุ่งประสงค์ไม่ให้ต้องรับผิดต่อกันเกี่ยวกับเนื้อที่ดินที่ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า จึงถือได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินยกทั้งแปลงหรือขายเหมา ดังนั้น ไม่ว่าที่ดินที่ซื้อขายจะขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน โจทก์จำเลยก็จะเรียกเงินค่าซื้อที่ดินคืนหรือค่าซื้อที่ดินที่ยังขาดอยู่จากกันมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขโทษจำคุก และการกำหนดโทษตามความร้ายแรงของแต่ละกรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปี เพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกัน โดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก.ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริตวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรม เป็นกระทงความผิดไปได้ ตาม ป.อ.มาตรา 91
จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคาเป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาท ซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกจากดุลพินิจของศาลชั้นต้น และการพิจารณาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76, 78
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปีเพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 247 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกันโดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก. ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค.สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม 2539เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต วันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้าง ไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน 25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคา เป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาทซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลย เท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
of 22