พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาขัดกำหนดระยะเวลาและขาดเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกามีอำนาจยกเรื่องขึ้นพิจารณา
จำเลยมิได้ยื่นฎีกาหรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาภายในกำหนดที่ศาลอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกาแต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาเป็นครั้งที่ 2เมื่อภายหลังจากระยะเวลายื่นฎีกาหรือระยะเวลาได้หมดสิ้นไปแล้วอีกทั้งจำเลยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัยใด ๆไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาต่อมา และท้ายที่สุดได้มีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้ จึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),242(1),246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนดและคำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ยื่นฎีกาหรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาภายในกำหนดที่ศาลอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อภายหลังจากระยะเวลาการยื่นฎีกาหรือระยะเวลาได้หมดสิ้นไปแล้วอีกทั้งจำเลยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัยใด ๆ ไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาต่อมา และท้ายที่สุดได้มีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้ จึงไม่ชอบตามป.วิ.พ.มาตรา 247 และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5),242 (1), 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปลัดอำเภอทำการแทนนายอำเภอในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และประเด็นการนอกฟ้อง
ปัญหาตามฎีกาโจทก์ที่ว่า ว. ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหรือไม่ เป็นข้อที่ โจทก์ไม่เคยกล่าวไว้ในฟ้องเลย ฉะนั้น ฎีกาโจทก์ ในข้อนี้จึงเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นแม้ศาลชั้นต้น จะได้สั่งรับฎีกาโจทก์เรื่องนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ด้วยผลของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 มาตรา 79 และมาตรา 80 ช. ปลัดอำเภอตรี ซึ่งเป็นกรมการอำเภอ หากมียศสูงกว่าผู้อื่นในขณะที่นายอำเภอทำการไม่ได้ในหน้าที่ชั่วคราวช. ก็ต้องเป็นผู้แทนของนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งของนายอำเภอที่ตนเป็นผู้แทนหรือต้องกระทำการแทนนั้นทุกอย่าง รวมทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมรายนี้ด้วย ส่วนข้อที่ว่าให้มีดวงตราประจำตำแหน่งนายอำเภอนั้น ตามมาตรา 78 บัญญัติไว้ในทำนองว่าในเวลาผู้ใดทำการแทนหรือรั้งตำแหน่งนั้นก็ให้ใช้ได้ ซึ่งไม่เป็นข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องใช้ตราดังกล่าวประทับทุกครั้งเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น แม้ศาลอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการแต่งงานตามประเพณีไม่อาจตัดสถานะผู้เยาว์
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกา หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้น กล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย เด็กหญิง ย. อายุยังไม่เกิน 15 ปี แม้จะได้แต่งงานตามประเพณีกับ จ. แล้ว ก็ยังไม่พ้นจากภาวะการเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 20เพราะการแต่งงานหรือการสมรสของผู้เสียหายมิได้อยู่ในเงื่อนไขตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 เนื่องจากผู้เสียหายมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์อีกทั้งความไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสหรือมีการจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1457 การที่บิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับ จ. จึงเป็นเพียงมอบการดูแลผู้เสียหายซึ่งยังเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ให้ จ. ดูแลแทน ดังนั้น การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากบริเวณโรงภาพยนตร์กลางแปลงไปยังห้องพักจำเลยเพื่อประสงค์จะกอดจูบลูบคลำโดยตั้งใจจะร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในทำนองชู้สาว ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากการดูแลของ จ.เพื่อการอนาจารเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์และการไม่ถือว่าการสมรสตามประเพณีเป็นการสิ้นสุดภาวะผู้เยาว์
ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามป.พ.พ. มาตรา 20, 1448, 1457ป.วิ.อ. มาตรา 15, 221ป.วิ.พ. มาตรา 225, 249
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
เด็กหญิง ย.อายุยังไม่เกิน 15 ปี แม้จะได้แต่งงานตามประเพณีกับ จ.แล้ว ก็ยังไม่พ้นจากภาวะการเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 20เพราะการแต่งงานหรือการสมรสของผู้เสียหายมิได้อยู่ในเงื่อนไขตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1448 เนื่องจากผู้เสียหายมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ อีกทั้งความไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรส หรือมีการจดทะเบียนสมรสตามป.พ.พ.มาตรา 1457 การที่บิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับ จ. จึงเป็นเพียงมอบการดูแลผู้เสียหายซึ่งยังเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ให้ จ.ดูแลแทน ดังนั้น การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากบริเวณโรงภาพยนตร์กลางแปลงไปยังห้องพักจำเลยเพื่อประสงค์จะกอดจูบลูบคลำโดยตั้งใจจะร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในทำนองชู้สาว ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากการดูแลของ จ.เพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสามแล้ว
ความเข้าใจผิดของจำเลยเกี่ยวกับอายุของผู้เสียหายจะเป็นความเข้าใจผิดจริงดังที่จำเลยยกขึ้นฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นกล่าวอ้างและนำสืบพยานในศาลชั้นต้น จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยในข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
เด็กหญิง ย.อายุยังไม่เกิน 15 ปี แม้จะได้แต่งงานตามประเพณีกับ จ.แล้ว ก็ยังไม่พ้นจากภาวะการเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 20เพราะการแต่งงานหรือการสมรสของผู้เสียหายมิได้อยู่ในเงื่อนไขตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1448 เนื่องจากผู้เสียหายมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ อีกทั้งความไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรส หรือมีการจดทะเบียนสมรสตามป.พ.พ.มาตรา 1457 การที่บิดามารดาผู้เสียหายอนุญาตให้ผู้เสียหายแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับ จ. จึงเป็นเพียงมอบการดูแลผู้เสียหายซึ่งยังเป็นเด็กหรือผู้เยาว์ให้ จ.ดูแลแทน ดังนั้น การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากบริเวณโรงภาพยนตร์กลางแปลงไปยังห้องพักจำเลยเพื่อประสงค์จะกอดจูบลูบคลำโดยตั้งใจจะร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในทำนองชู้สาว ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากการดูแลของ จ.เพื่อการอนาจารเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสามแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเกินส่วน ศาลลดได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยปกติ และการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นซ้ำซ้อนเป็นโมฆะ
ตามสัญญากู้และตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุดอกเบี้ยผิดนัดไว้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยธรรมดาที่ไม่ผิดนัด เพราะฉะนั้น ข้อสัญญาระหว่างโจทก์เจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ จึงมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้ แต่การลดนั้นจะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าที่ตามปกติสัญญากำหนดไว้ในกรณีไม่ผิดนัด มิใช่ลดลงมาต่ำเกินกว่าอัตราดังกล่าว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยครบรอบระยะเวลา 1 ปีของเงินต้นตามสัญญากู้จำนวน 1,000,000 บาท นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 เป็นต้นไป ขอให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละรอบระยะเวลา 1 ปี ดังกล่าวทบเข้ากับเงินต้นที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยดังกล่าวทุก ๆ 1 ปี เรื่อยไปในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์นั้นโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่30 สิงหาคม 2539) เข้ากับต้นเงิน รวมเป็นหนี้ทั้งหมดที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันที่ 9 มีนาคม2539 มาคำนวณคิดเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระอีก ศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์เสีย
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยครบรอบระยะเวลา 1 ปีของเงินต้นตามสัญญากู้จำนวน 1,000,000 บาท นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 เป็นต้นไป ขอให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละรอบระยะเวลา 1 ปี ดังกล่าวทบเข้ากับเงินต้นที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยดังกล่าวทุก ๆ 1 ปี เรื่อยไปในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์นั้นโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่30 สิงหาคม 2539) เข้ากับต้นเงิน รวมเป็นหนี้ทั้งหมดที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันที่ 9 มีนาคม2539 มาคำนวณคิดเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระอีก ศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับตามสัญญา, การลดดอกเบี้ยผิดนัด, และดอกเบี้ยทบต้นที่คำนวณซ้ำซ้อน
ตามสัญญากู้และตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุดอกเบี้ยผิดนัดไว้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยธรรมดาที่ไม่ผิดนัด เพราะฉะนั้นข้อสัญญาระหว่างโจทก์เจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้จึงมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาล เห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้ แต่การลดนั้น จะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าที่ตามปกติสัญญากำหนดไว้ในกรณีไม่ผิดนัด มิใช่ลดลงมาต่ำเกินกว่าอัตราดังกล่าว คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยค้างชำระดอกเบี้ย ครบรอบระยะเวลา 1 ปีของเงินต้นตามสัญญากู้จำนวน 1,000,000 บาท นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 เป็นต้นไปขอให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละรอบระยะเวลา 1 ปีดังกล่าวทบเข้ากับเงินต้นที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยดังกล่าวทุก ๆ 1 ปี เรื่อยไปในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์นั้นโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่ 30 สิงหาคม 2539) เข้ากับต้นเงิน รวมเป็นหนี้ทั้งหมดที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 มาคำนวณคิดเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระอีกศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับเงินค่างานของผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการห้ามฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยว่ากันในศาลล่าง
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่โจทก์ฎีกาว่า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312วรรคแรก หมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้อง การใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก..." การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกาของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก
เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวด โดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างานในงวดที่ 5 ดังกล่าว
แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็นหรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการไต่สวนเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37
เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวด โดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างานในงวดที่ 5 ดังกล่าว
แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็นหรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการไต่สวนเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดเงินค่างาน: ศาลมีอำนาจงดการไต่สวนหากไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์มิได้กล่าวถึงเรื่องตามที่ โจทก์ฎีกาว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 261 วรรคแรก ได้บัญญัติไว้แต่เฉพาะจำเลยที่อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมายยึดหรืออายัดหรือคำสั่งห้ามหรือสั่งอื่นใดเช่นว่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ร้อง ส่วนคำว่าบุคคลภายนอก ตามมาตรา 312 วรรคแรกหมายถึงบุคคลที่ได้รับหมายอายัด หรือ ส. ซึ่งมิใช่ผู้ร้องการใช้ดุลพินิจและมีคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถูกต้อง และในชั้นอุทธรณ์โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องอุทธรณ์ ไว้แต่เพียงว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 บัญญัติว่า"จำเลยหรือบุคคลภายนอก" การยื่นคำร้องคัดค้านของผู้ร้องจึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 โดยอนุโลม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงคนละอย่างกับฎีกา ของโจทก์ดังกล่าว ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก เมื่อค่างานในงวดที่ 5 เกิดขึ้นจากสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่จำเลยมีต่อ ส. และสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยได้โอนให้ผู้ร้องโดยชอบไปแล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นเวลา 7 เดือนเศษ อีกทั้งผู้ร้องได้รับเงินค่างวดการจ้างงานไปก่อนแล้วถึง 4 งวดโดยเงินทุกงวดก็ต้องถือเป็นเงินอันเกิดจากสิทธิเรียกร้องซึ่งเป็นของผู้ร้องโดยแท้เช่นเดียวกัน ผู้ร้องจึงยังคงมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างงานในงวดที่ 5 อย่างเช่นในงวดก่อน ๆ เหมือนเดิม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขออายัดเงินค่างาน ในงวดที่ 5 ดังกล่าว แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา หรือตามมาตรา 312 บัญญัติให้ศาลอาจทำการไต่สวนก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลในอันที่จะ ฟังว่าคดีใดไม่สมควรสืบพยานเพราะไม่เกี่ยวแก่ประเด็น หรือเป็นการประวิงให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นหรืองดการ ไต่สวนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง โดยให้ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา และพิพากษาคดีไปตามนั้นตามมาตรา 37
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีครอบครองที่ดิน: ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความเดิม
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 148, 173 วรรคสอง (1), 182 (4), 225
วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานและนัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาและมีคำสั่งดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา182 (4)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 500/2535 ของศาลชั้นต้น โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้อย่างชัดแจ้งว่าบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว.อยู่ก่อนนั้นได้พังลง โจทก์ได้ปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี 2535อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง จึงไม่ใช่มูลคดีเดียวกัน แต่เป็นมูลคดีที่ปรากฏขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องรับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่ง ว.ได้ปลูกสร้างลงบนที่ดินที่ได้ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินแล้ว โจทก์ได้ตัดฟันต้นไม้ของ ว.อันเป็นการกระทำละเมิดต่อ ว.ว.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ว.ไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่อาศัยในบ้านและที่ดินของ ว.ขอให้ขับไล่โจทก์และบริวาร กับเรียกค่าเสียหาย โจทก์ให้การว่า หลังจากที่ ว.ได้ยกบ้านและที่ดินให้ ส. แล้ว ส.ได้ขายบ้านและที่ดินนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ส่วนต้นไม้ไม่ใช่ของ ว.และโจทก์มิได้ตัดฟันศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาทโดยวินิจฉัยว่า ว.ไม่ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้ ส. และ ส.ไม่ได้ขายให้แก่โจทก์บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของ ว. โจทก์ฎีกา แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้อง ท.ในฐานะทายาทของ ว.เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ในคดีนี้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว.อยู่ก่อนได้พังลง โจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่แต่ใช้เลขที่บ้านเดิมและร่วมออกเงินเพื่อถมดินในที่ดินดังกล่าวกับผู้มีชื่ออีก3 คน ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วเป็นของโจทก์ หากที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ราชพัสดุ ก็ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าดินที่ถมและค่ารั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ดังนี้แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จะถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้มีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่ ซึ่งในคดีก่อนไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยดังกล่าว จึงมิใช่การที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดในคดีแพ่งที่ว่าที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นของ ว. ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ตามป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จำต้องยอมรับผลแห่งคำพิพากษานั้น โจทก์จะมาอ้างในคำฟ้องคดีนี้ว่าความจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ จึงมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ในคดีก่อนหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อ ว.โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทของ ว.เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท และมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วรอบที่ดินเป็นของโจทก์ในคดีนี้อีก ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่ออีก3 คน ถมดินในที่ดินแปลงพิพาทและโจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่ในที่ดินพิพาทขอให้พิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นใหม่ และให้จำเลยทั้งสามชำระค่าดินที่ถมและรั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคำขอบังคับทำนองเดียวกับคำขอให้ชดใช้เงินค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ได้ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ว.ในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน ส่วนจำเลยในทั้งสองคดีปรากฏว่าในคดีก่อน โจทก์ฟ้อง ว.ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว.ผู้มรณะในฐานะทายาท ส่วนในคดีนี้โจทก์ก็ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ว.และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินและบ้านพิพาทของ ว.ถือได้ว่าจำเลยในทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านพิพาทและการถมดินในที่ดินพิพาทไว้ในคดีก่อน ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น และโจทก์ยื่นคำฟ้องในคดีนี้ในเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกันอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานและนัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาและมีคำสั่งดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา182 (4)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 500/2535 ของศาลชั้นต้น โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้อย่างชัดแจ้งว่าบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว.อยู่ก่อนนั้นได้พังลง โจทก์ได้ปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี 2535อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง จึงไม่ใช่มูลคดีเดียวกัน แต่เป็นมูลคดีที่ปรากฏขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องรับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่ง ว.ได้ปลูกสร้างลงบนที่ดินที่ได้ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินแล้ว โจทก์ได้ตัดฟันต้นไม้ของ ว.อันเป็นการกระทำละเมิดต่อ ว.ว.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ว.ไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่อาศัยในบ้านและที่ดินของ ว.ขอให้ขับไล่โจทก์และบริวาร กับเรียกค่าเสียหาย โจทก์ให้การว่า หลังจากที่ ว.ได้ยกบ้านและที่ดินให้ ส. แล้ว ส.ได้ขายบ้านและที่ดินนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ส่วนต้นไม้ไม่ใช่ของ ว.และโจทก์มิได้ตัดฟันศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาทโดยวินิจฉัยว่า ว.ไม่ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้ ส. และ ส.ไม่ได้ขายให้แก่โจทก์บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของ ว. โจทก์ฎีกา แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้อง ท.ในฐานะทายาทของ ว.เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ในคดีนี้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว.อยู่ก่อนได้พังลง โจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่แต่ใช้เลขที่บ้านเดิมและร่วมออกเงินเพื่อถมดินในที่ดินดังกล่าวกับผู้มีชื่ออีก3 คน ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วเป็นของโจทก์ หากที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ราชพัสดุ ก็ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าดินที่ถมและค่ารั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ดังนี้แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จะถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้มีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่ ซึ่งในคดีก่อนไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยดังกล่าว จึงมิใช่การที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดในคดีแพ่งที่ว่าที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นของ ว. ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ตามป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จำต้องยอมรับผลแห่งคำพิพากษานั้น โจทก์จะมาอ้างในคำฟ้องคดีนี้ว่าความจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ จึงมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ในคดีก่อนหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อ ว.โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทของ ว.เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท และมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วรอบที่ดินเป็นของโจทก์ในคดีนี้อีก ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่ออีก3 คน ถมดินในที่ดินแปลงพิพาทและโจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่ในที่ดินพิพาทขอให้พิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นใหม่ และให้จำเลยทั้งสามชำระค่าดินที่ถมและรั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคำขอบังคับทำนองเดียวกับคำขอให้ชดใช้เงินค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ได้ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ว.ในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน ส่วนจำเลยในทั้งสองคดีปรากฏว่าในคดีก่อน โจทก์ฟ้อง ว.ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว.ผู้มรณะในฐานะทายาท ส่วนในคดีนี้โจทก์ก็ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ว.และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินและบ้านพิพาทของ ว.ถือได้ว่าจำเลยในทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านพิพาทและการถมดินในที่ดินพิพาทไว้ในคดีก่อน ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น และโจทก์ยื่นคำฟ้องในคดีนี้ในเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกันอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)