พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คำพิพากษาถึงที่สุด: ศาลยกฟ้องคดีที่ฟ้องซ้ำกับคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา และฟ้องที่ขัดกับคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานและนัดฟังคำพิพากษาเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จ ไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาและมีคำสั่งดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182(4) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 500/2535 ของศาลชั้นต้น โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้อย่างชัดแจ้งว่าบ้านเลขที่ 300/2ซึ่งเป็นของ ว. อยู่ก่อนนั้นได้พังลง โจทก์ได้ปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี 2535 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง จึงไม่ใช่มูลคดีเดียวกัน แต่เป็นมูลคดีที่ปรากฏขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องรับวินิจฉัย ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์ คดีก่อนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่าโจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่ง ว.ได้ปลูกสร้างลงบนที่ดินที่ได้ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินแล้วโจทก์ได้ตัดฟันต้นไม้ของ ว.อันเป็นการกระทำละเมิดต่อว.ว.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าว. ไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่อาศัยในบ้านและที่ดินของ ว. ขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารกับเรียกค่าเสียหาย โจทก์ให้การว่า หลังจากที่ ว. ได้ยกบ้านและที่ดินให้ ส.แล้วส. ได้ขายบ้านและที่ดินนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ส่วนต้นไม้ไม่ใช่ของ ว. และโจทก์มิได้ตัดฟันศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาทโดยวินิจฉัยว่า ว.ไม่ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้ส. และส. ไม่ได้ขายให้แก่โจทก์บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของว. โจทก์ฎีกา แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์การที่โจทก์มาฟ้อง ท.ในฐานะทายาทของว.เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว. ในคดีนี้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว. อยู่ก่อนได้พังลง โจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่แต่ใช้เลขที่บ้านเดิมและร่วมออกเงินเพื่อถมดินในที่ดินดังกล่าวกับผู้มีชื่ออีก 3 คน ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้าน เลขที่ 300/2 พร้อมรั้วเป็นของโจทก์ หากที่ดินพิพาทไม่ใช่ ที่ราชพัสดุ ก็ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าดินที่ถมและ ค่ารั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ดังนี้ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ จะถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้ มีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่ ซึ่งในคดีก่อนไม่มี ประเด็นให้ต้องวินิจฉัยดังกล่าว จึงมิใช่การที่คู่ความเดียวกัน รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุ อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดในคดีแพ่งที่ว่าที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นของ ว. ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 โจทก์จำต้องยอมรับผลแห่งคำพิพากษานั้น โจทก์จะมา อ้างในคำฟ้องคดีนี้ว่าความจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ จึงมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ ไว้ในคดีก่อนหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อ ว. โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทของ ว. เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์ เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท และมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วรอบที่ดินเป็นของโจทก์ ในคดีนี้อีก ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกา ก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อ อีก 3 คน ถมดินในที่ดินแปลงพิพาทและโจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือน ขึ้นใหม่ในที่ดินพิพาทขอให้พิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้าน ที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นใหม่ และให้จำเลยทั้งสามชำระค่าดิน ที่ถมและรั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคำขอบังคับทำนองเดียวกับ คำขอให้ชดใช้เงินค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสิ่งปลูกสร้าง ที่โจทก์ได้ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ว. ในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน ส่วนจำเลยในทั้งสองคดี ปรากฏว่าในคดีก่อน โจทก์ฟ้อง ว. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว. ผู้มรณะในฐานะทายาท ส่วนในคดีนี้โจทก์ ก็ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ว. และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินและบ้านพิพาท ของ ว. ถือได้ว่าจำเลยในทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกันเมื่อโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านพิพาทและการถมดิน ในที่ดินพิพาทไว้ในคดีก่อน ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้น และโจทก์ยื่นคำฟ้องในคดีนี้ในเรื่องเดียวกัน ต่อศาลเดียวกันอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุคคลธรรมดาในนามสมญาทางการค้า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องได้หากระบุชื่อเจ้าของสมญาในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้อง น.บุติคโดยย. เป็นจำเลย ขอให้บังคับชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้บัตรเครดิตธนาคาร โจทก์พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีว่า จำเลยเป็นลูกค้าของธนาคารโจทก์ เปิดบัญชีเดินสะพัดไว้กับโจทก์และในส่วนที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตธนาคารระบุว่า จำเลยยื่นคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ย.ใช้ชื่อในการประกอบธุรกิจว่าน.บูติคในหนังสือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงระบุว่า น.บูติคโดย ย. เป็นผู้กู้ ส่วนในใบสมัครและข้อตกลงการเป็นผู้ถือบัตรเครดิตก็ระบุว่า น.บูติคโดยย. ย่อมเห็นได้ว่า น.บูติคเป็นนามสมญาในทางการค้าของย. ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์ที่ระบุว่า น.บูติค ในช่องคู่ความ และที่ระบุว่าโจทก์ขอยื่นฟ้อง น.บูติคโดยย. จำเลยจึงหมายความถึงฟ้อง ย.ในนามเจ้าของสมญาน.บูติคโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีใช้ชื่อสมญานามทางการค้า: การฟ้อง น.บูติค โดย ย. ถือเป็นการฟ้อง ย. เจ้าของสมญานาม
โจทก์ฟ้อง น.บูติค โดย ย.เป็นจำเลย ขอให้บังคับชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้บัตรเครดิตธนาคารโจทก์พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีว่า จำเลยเป็นลูกค้าของธนาคารโจทก์ เปิดบัญชีเดินสะพัดไว้กับโจทก์ และในส่วนที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตธนาคารระบุว่า จำเลยยื่นคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ย.ใช้ชื่อในการประกอบธุรกิจว่า น.บูติค ในหนังสือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงระบุว่า น.บูติค โดย ย.เป็นผู้กู้ ส่วนในใบสมัครและข้อตกลงการเป็นผู้ถือบัตรเครดิตก็ระบุว่า น.บูติค โดย ย. ย่อมเห็นได้ว่า น.บูติคเป็นนามสมญาในทางการค้าของ ย. ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ที่ระบุว่า น.บูติค ในช่องคู่ความ และที่ระบุว่าโจทก์ขอยื่นฟ้อง น.บูติค โดย ย.จำเลย จึงหมายความถึงฟ้อง ย.ในนามเจ้าของสมญาน.บูติค โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง1 ข้อ 2 (ก)
โจทก์อุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง1 ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการและการยอมรับของจำเลยเพื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน
เมื่อเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่โจทก์อ้างส่งต่อศาล จำเลยไม่คัดค้าน อีกทั้งจำเลยยังได้เบิกความยอมรับถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ดังนี้ศาลย่อมรับฟังลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารดังกล่าวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันที่พิพาทได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารสำเนาบัตรข้าราชการและลายมือชื่อเพื่อเปรียบเทียบ
เมื่อเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่โจทก์อ้างส่งต่อศาล จำเลยไม่คัดค้าน อีกทั้งจำเลยยังได้เบิกความยอมรับถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารดังกล่าวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันที่พิพาทได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 93 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4510/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อม – หน้าที่ชดใช้ค่าทดแทน
ฎีกาโจทก์มิได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่แรกแต่โจทก์ได้บรรยายมาในฎีกาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าอย่างไร คู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าอย่างไร นอกจากนี้ฎีกาโจทก์ยังได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบหรือผิดพลาดในข้อใดอย่างไรและเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ส่วนคำขอท้ายฎีกาโจทก์ก็ขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ฎีกาโจทก์จะไม่ได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่ศาลชั้นต้นว่าเป็นอย่างไร ฎีกาโจทก์ก็ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แล้ว
โจทก์ฟ้องตั้งรูปว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นทางภาระจำยอม โดยมิได้มิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมและข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็นศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางจำเป็นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านปลูกอยู่ในที่ดินทางด้านทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ที่ดินของโจทก์ถูกล้อมโดยที่ดินแปลงอื่นไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ โดยที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ล้อมที่ดินของโจทก์ และติดทางสาธารณประโยชน์ หากโจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลยออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ก็จะเป็นทางตรง มีระยะสั้น และสะดวกกว่าไปใช้ทางอื่น ถือได้ว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องตั้งรูปว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นทางภาระจำยอม โดยมิได้มิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภาระจำยอมและข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็นศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางจำเป็นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านปลูกอยู่ในที่ดินทางด้านทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ที่ดินของโจทก์ถูกล้อมโดยที่ดินแปลงอื่นไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ โดยที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ล้อมที่ดินของโจทก์ และติดทางสาธารณประโยชน์ หากโจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลยออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ก็จะเป็นทางตรง มีระยะสั้น และสะดวกกว่าไปใช้ทางอื่น ถือได้ว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349
เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4510/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ และการกำหนดค่าทดแทน
ฎีกาโจทก์มิได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่แรก แต่โจทก์ได้บรรยายมาในฎีกาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าอย่างไร คู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าอย่างไร นอกจากนี้ฎีกาโจทก์ยังได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้แย้งคำพิพากษา ว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบหรือผิดพลาดในข้อใดอย่างไร และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ส่วนคำขอท้ายฎีกาโจทก์ก็ขอให้ศาลฎีกา แก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์ฎีกาจะไม่ได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่ศาลชั้นต้นว่าเป็นอย่างไร ฎีกาโจทก์ก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ฟ้องตั้งรูปว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและทางจำเป็น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นทางภารจำยอมโดยมิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทางพิพาท ไม่ใช่ทางภารจำยอมและข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางจำเป็นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านปลูกอยู่ในที่ดินทางด้านทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือที่ดินของโจทก์ถูกล้อมโดยที่ดินแปลงอื่นไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ โดยที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ล้อมที่ดินของโจทก์ และติดทางสาธารณประโยชน์ หากโจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลยออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ก็จะเป็นทางตรง มีระยะสั้น และสะดวกกว่า ไปใช้ทางอื่น ถือได้ว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้แบบพิมพ์คำร้องอุทธรณ์คำสั่งต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ศาลสั่งผิดพลาด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคท้ายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้การยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือ เอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงานคู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น และมาตรา 156 วรรคท้าย บัญญัติโดยชัดแจ้งให้การอุทธรณ์คำสั่งต้องทำเป็นคำร้อง ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง (แบบ 7)เท่านั้น หาใช่ต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งทั่วไปโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ไม่ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยก คำขอของจำเลยที่ขอฎีกาอย่างคนอนาถาโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง(แบบ 7) ตามที่ศาลจัดไว้ตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่ง จึงเป็นการใช้แบบพิมพ์ถูกต้องแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยจัดทำอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32)ย่อมเป็นการสั่งโดยผิดหลงและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังกล่าว ทั้งต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับฎีกาและให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลย เสียด้วย ก็เป็นการสั่งและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รูปแบบคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง: การใช้แบบพิมพ์ที่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 และ 156
ป.วิ.พ.มาตรา 67 วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้การยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบพิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงานคู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้กระดาษแบบพิมพ์นั้น..." และมาตรา 156วรรคท้าย บัญญัติโดยชัดแจ้งให้การอุทธรณ์คำสั่งต้องทำเป็นคำร้อง ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง(แบบ 7) เท่านั้นหาใช่ต้องทำตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งทั่วไปโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ไม่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอของจำเลยที่ขอฎีกาอย่างคนอนาถาโดยใช้แบบพิมพ์คำร้อง (แบบ 7) ตามที่ศาลจัดไว้ตามรูปแบบอุทธรณ์คำสั่งจึงเป็นการใช้แบบพิมพ์ถูกต้องแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 จัดทำอุทธรณ์คำสั่งโดยใช้แบบพิมพ์อุทธรณ์ (แบบ 32) ย่อมเป็นการสั่งโดยผิดหลงและไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา และให้ยกคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 เสียด้วยก็เป็นการสั่งและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นทั้งหมดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4235/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากทรัพย์ vs. เช่าสถานที่จอดรถ และสิทธิในการเรียกร้องค่าทนายความ
โจทก์นำรถยนต์ไปฝากไว้กับจำเลย จำเลยเรียกเก็บค่าฝากเป็นรายเดือน มีระเบียบว่าเจ้าของรถต้องฝากกุญแจไว้กับจำเลยเพื่อจำเลยเลื่อนรถได้ในกรณีที่มีรถอื่นเข้ามาจอด ซึ่งโจทก์ได้มอบกุญแจรถให้จำเลยทุกครั้งที่มาจอดพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการรับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ หาใช่เป็นเรื่องให้เช่าสถานที่จอดรถไม่
โจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์
โจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์