คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ระพิณ บุญสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4235/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากทรัพย์และการกำหนดค่าทนายความ ศาลฎีกาวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยและข้อความไม่ชอบในการกำหนดค่าทนายความ
โจทก์นำรถยนต์ไปฝากไว้กับจำเลย จำเลยเรียกเก็บค่าฝากเป็นรายเดือน มีระเบียบว่าเจ้าของรถต้องฝากกุญแจไว้กับจำเลยเพื่อจำเลยเลื่อนรถได้ในกรณีที่มีรถอื่นเข้ามาจอด ซึ่งโจทก์ได้มอบกุญแจรถให้จำเลยทุกครั้งที่มาจอดพฤติการณ์ดังกล่าว เป็นการรับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ หาใช่เป็นเรื่องให้เช่า สถานที่จอดรถไม่ โจทก์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภรรยาให้ความยินยอมสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันร่วม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 3 ในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ดังกล่าวไว้ต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว กรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำไปจึงเป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วมในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการค้ำประกันทำให้เกิดหนี้ร่วม: ภรรยาต้องรับผิดชอบหนี้จากการค้ำประกันของสามี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 3 ในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไว้ต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ในการทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 2 ก่อขึ้นในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)หนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำไปจึงเป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วมในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3768/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาชิงทรัพย์และการใช้ยานพาหนะเพื่อหลบหนี ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 และ 340 ตรี
เมื่อจำเลยใช้ไม้ตีทำร้ายผู้เสียหายล้มลงและ ในทันทีทันใดนั้นจำเลยก็ได้ลักเอาอาวุธปืนสั้นของผู้เสียหายไปซึ่งการกระทำทั้งสองอย่างดังกล่าวยังต่อเนื่องติดพันกันตามพฤติการณ์แสดงว่าขณะจำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจำเลยมีเจตนาเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหายด้วยจึงเป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 แล้ว แม้เจตนาเดิมจำเลยจะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ที่ร้านทองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์แล้วจำเลยก็ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวเป็นยานพาหนะ ขับหลบหนีไป แสดงว่าจำเลยยังมีเจตนาที่จะใช้รถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับมาจอดไว้นั้นเป็นยานพาหนะในการหลบหนีเพื่อให้พ้นการจับกุมในความผิดฐานชิงทรัพย์นี้ด้วย การกระทำของจำเลย จึงเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อให้พ้นจากการจับกุมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานผิดกฎหมาย: จำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานจริง แม้ชักชวนไปทำงานต่างประเทศ
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อ ไปทำงานในต่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน จัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหา ลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทน หรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเสียก่อน นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คน หางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้วจำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหา ลูกจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อ เป็นเหตุหลอกลวง จ. ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ที่ใช้อยู่ในขณะ ที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจากพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มาตรา 34ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวง ผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวงต้องระวางโทษ แต่พระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 30 มิถุนายน 2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานผิดกฎหมาย: จำเลยไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานจริง และการกระทำไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานในขณะนั้น
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง และมาตรา 4 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นการจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ผู้นั้นต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานเสียก่อน
นอกจากไม่ปรากฏว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน หรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างแล้ว จำเลยก็ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่จำเลยกับพวกอ้างการจัดหางานเพื่อเป็นเหตุหลอกลวง จ.ให้ไปรับจ้างขายบริการทางเพศโดยหวังจะได้ประโยชน์ตามสัญญากู้เงิน ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยกระทำการดังกล่าวข้างต้นมิได้บัญญัติไว้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิด และกรณีแตกต่างจาก พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มมาตรา 91 ตรี ซึ่งบัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษ แต่ พ.ร.บ.(ฉบับที่ 2) ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 มิถุนายน2537) ด้วยเหตุนี้การกระทำของจำเลยแม้จะได้พูดจาชักชวน ส.หรือ จ.ให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงย่อมไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและการลดเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจปรับปรุงยอดหนี้ให้ถูกต้องได้
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมเสีย ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 14 ต่อปี หากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ตามสัญญานี้ตามที่โจทก์กำหนด แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าโดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามที่แจ้งไปทุกประการ โดยไม่จำต้องมีการผิดนัดในการชำระหนี้หรือไม่ ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ซึ่งไม่ เข้ากรณีเป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้แก่ จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยกับจำเลย ให้สูงกว่าตามที่ได้ตกลงไว้เดิมในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามสัญญากู้เงิน โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และ หากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์คิด ดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ซึ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็ตามแต่ตามสัญญาข้อนี้โจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียหายดังนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18ต่อปี นับแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรนั้นเอง ซึ่งถือ ได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หากโจทก์เรียกมา สูงเกินไป ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็น จำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันฟ้องของต้นเงิน ดังกล่าวจนกว่าจำเลยชำระเสร็จ และจากทางนำสืบโจทก์ได้ความว่า จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน 336,819.84 บาท ในจำนวนยอดเงินดังกล่าวมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณ อัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของยอดเงิน 2,400,000 บาท ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้รวมอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่าทางพิจารณาได้ความว่า ยอดเงินไม่ถูกต้องตรงตามที่โจทก์ขอมา ศาลชั้นต้น จึงมีอำนาจปรับปรุงให้ถูกต้องเสียใหม่ไม่เป็นการพิพากษา เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดและการปรับปรุงเบี้ยปรับ: สัญญาเงินกู้, ดอกเบี้ยสูงสุดธนาคารแห่งประเทศไทย, ดุลพินิจศาล
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 14 ต่อปี หากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ตามสัญญานี้ตามที่โจทก์กำหนด แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าโดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบเท่านั้น จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามที่แจ้งไปทุกประการ โดยไม่จำต้องมีการผิดนัดในการชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร ซึ่งไม่เข้ากรณีเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา379 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งให้แก่จำเลยทราบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยกับจำเลยให้สูงกว่าตามที่ได้ตกลงไว้เดิมในอัตราร้อยละ 14ต่อปี
ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามสัญญากู้เงิน โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน และหากจำเลยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ ซึ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ก็ตามแต่ตามสัญญาข้อนี้โจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียหาย ดังนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มาเป็นอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรนั้นเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า หากโจทก์เรียกมาสูงเกินไป ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันฟ้องของต้นเงินดังกล่าวจนกว่าจำเลยชำระเสร็จ และจากทางนำสืบโจทก์ได้ความว่า จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำนวน 336,819.84 บาท ในจำนวนยอดเงินดังกล่าวมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของยอดเงิน 2,400,000 บาทซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้รวมอยู่ด้วย เมื่อปรากฏว่าทางพิจารณาได้ความว่า ยอดเงินไม่ถูกต้องตรงตามที่โจทก์ขอมา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจปรับปรุงให้ถูกต้องเสียใหม่ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพิเศษในการบังคับคดี: สิทธิของผู้ที่อ้างเป็นหุ้นส่วนหรือตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ
ตามที่ปรากฏในสำนวนจำเลยไม่เคยกล่าวถึงการเป็น หุ้นส่วนกับผู้ร้องหรือการเป็นตัวแทนของผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ จึงไม่อาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันมีต่อตัวแทนก่อนที่จะรู้ว่าผู้ร้องเป็นตัวแทนนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 806 และในเรื่องหุ้นส่วนผู้ร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏ ชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ตามมาตรา 1049 เช่นกัน สิทธิของผู้ร้อง ที่อาจมีอยู่หรือได้มาก็โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่มีอยู่และ แสดงออกต่อบุคคลภายนอกหรือโจทก์เท่านั้นเสมือนหนึ่ง เป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยหรือเป็นบริวารของจำเลย ดังนั้น ในชั้นบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างอำนาจพิเศษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) มาใช้ยันแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทน-หุ้นส่วนที่มิได้เปิดเผยชื่อ: สิทธิในชั้นบังคับคดี
ตามที่ปรากฏในสำนวนจำเลยไม่เคยกล่าวถึงการเป็นหุ้นส่วนกับผู้ร้องหรือการเป็นตัวแทนของผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ จึงไม่อาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันมีต่อตัวแทนก่อนที่จะรู้ว่าผู้ร้องเป็นตัวแทนนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 และในเรื่องหุ้นส่วนผู้ร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ตามมาตรา 1049 เช่นกัน สิทธิของผู้ร้องที่อาจมีอยู่หรือได้มาก็โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่มีอยู่และแสดงออกต่อบุคคลภายนอกหรือโจทก์เท่านั้นเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยหรือเป็นบริวารของจำเลย ดังนั้น ในชั้นบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา(3) มาใช้ยันแก่โจทก์ได้
of 22