คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ระพิณ บุญสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ และการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญากู้รวม 3 ฉบับ จำนวนเงินฉบับละ 50,000 บาท 40,000 บาท และ 110,000 บาทตามลำดับ รวมแล้วเป็นเงินต้น 200,000 บาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์เพียง 100,000 บาท และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ครบตามสัญญาเพราะโจทก์หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า 6,000 บาท เป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่าได้รับเงินจริงจากโจทก์เพียง 94,000 บาท จึงนำสืบไม่ได้
คำฟ้องของโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญากู้แต่ละฉบับในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 และที่ 3จะนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เพราะเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาแต่เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกาตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้รับเงินจากโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ศาลฎีกาก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมายเสียใหม่ได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร, การนำสืบหลักฐาน, สัญญาเงินกู้, ความรับผิดของผู้กู้ร่วม, การฟังข้อเท็จจริงตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญากู้รวม 3 ฉบับ จำนวนเงินฉบับละ 50,000 บาท40,000 บาท และ 110,000 บาท ตามลำดับ รวมแล้วเป็นเงินต้น200,000 บาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพียง 100,000 บาท และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ครบตามสัญญาเพราะโจทก์หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า 6,000 บาทเป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 3นำสืบว่าได้รับเงินจริงจากโจทก์เพียง 94,000 บาทจึงนำสืบไม่ได้ คำฟ้องของโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญากู้แต่ละฉบับในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เพราะเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จะต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกาตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้รับเงินจากโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่ ศาลฎีกาก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมายเสียใหม่โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามทนายจำเลยก่อนการพิจารณาคดีในศาลแขวงเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามถือว่ากระบวนการพิจารณาคดีมิชอบ
วิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20เป็นการดำเนินการในชั้นสอบสวนและการพิจารณาคดีในชั้นศาลการที่ศาลถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใดตามความในมาตรา 20 ดังกล่าว ถือเป็นการพิจารณา และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองบัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ดังนั้น ก่อนเริ่มพิจารณาหรือก่อนเริ่มการพิจารณาสอบถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใด ศาลจะต้องสอบถามเรื่องทนายจำเลยเสียก่อนเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 หากศาลมิได้สอบถามเรื่องทนายจำเลย แต่ก้าวล่วงไปถึงการพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการสอบถามจำเลย: ทนายก่อนหรือคำให้การก่อน
วิธีการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 เป็นการดำเนินการในชั้นสอบสวนและการพิจารณาคดีในชั้นศาล การที่ศาลถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใดตามความในมาตรา 20 ดังกล่าว ถือเป็นการพิจารณา และตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173วรรคสอง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่..." ดังนั้นก่อนเริ่มพิจารณาหรือก่อนเริ่มการพิจารณาสอบถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใด ศาลจะต้องสอบถามเรื่องทนายความจำเลยเสียก่อนเท่านั้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 หากศาลมิได้สอบถามเรื่องทนายจำเลย แต่ก้าวล่วงไปถึงการพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยเลยจึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2935/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเสพและมีครองยาเสพติด: แยกกระทงความผิดได้ และการใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1(เฮโรอีน)และประเภท 5(กัญชา) ไว้ในครอบครอง (ตามมาตรา 67 และ 76)เป็นความผิดคนละบทมาตรากับความผิดฐานเสพยาเสพติดดังกล่าว (ตามมาตรา 91 และ 92) อีกทั้งเจตนาของการกระทำก็คนละอย่าง ต่างหากจากกันโดยมีไว้ในครอบครองตอนหนึ่งและการเสพอีก ตอนหนึ่งย่อมเป็นความผิดต่างกระทงอย่างชัดแจ้ง ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ มิได้กล่าวเลยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538) คงอ้างถึงแต่เฉพาะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 51(พ.ศ. 2531)กับการมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนของจำเลยจำนวน0.08 กรัม โดยไม่ได้กล่าวถึงการคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินปริมาณ 0.500 กรัม ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ด้วย ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งโจทก์ ก็มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวแต่อย่างใดกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยเพื่อใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณจำเลยคงมีความผิดเฉพาะตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคหนึ่ง จำเลยได้กระทำความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครองซึ่งเฮโรอีนและกัญชาอันเป็นยาเสพติดชนิดร้ายแรง กับวัตถุออกฤทธิ์ กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรรอการลงโทษจำคุก ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่น: การพิจารณาประเด็นสิทธิการครอบครองและการไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนี้กับพวกรวม2 คน รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจนกว่าจะรื้อถอนบ้านพิพาทศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทที่เจ้าของบ้านพิพาทคนก่อนได้ปลูกสร้างขึ้นไว้โดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 และมาตรา 1310 กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีความประมาทเลินเล่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้านพิพาทจะขอให้บังคับจำเลยกับพวกรื้อถอนบ้านพิพาทไม่ได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหาย แม้คดีก่อนคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีนี้แต่คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใดประเด็นดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองโดยสุจริตและการฟ้องซ้ำ กรณีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่น
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนี้กับพวกรวม 2 คน รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจนกว่าจะรื้อถอนบ้านพิพาทศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทที่เจ้าของบ้านพิพาทคนก่อนได้ปลูกสร้างขึ้นไว้โดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 และมาตรา 1310 กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีความประมาทเลินเล่อ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้านพิพาทจะขอให้บังคับจำเลยกับพวกรื้อถอนบ้านพิพาทไม่ได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหาย แม้คดีก่อนคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีนี้ แต่คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใด ประเด็นดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับทองคำหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ผู้กระทำผิดลักลอบนำเข้า
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยเป็นเงินสี่เท่าของราคาของเป็นเงิน 27,126,838.64 บาท ริบของกลาง และให้จ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับร้อยละสามสิบของราคาของกลางและจ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละสิบห้าของราคาของ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 และ 8 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
การวินิจฉัยว่าผู้ใดกระทำผิดโดยรับไว้ซึ่งทองคำแท่ง ซึ่งผู้อื่นลักลอบนำหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ หรือไม่นั้น เมื่อองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 27 ทวิเพียงแต่ผู้ใดเจตนารับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดก็เป็นความผิดแล้ว ไม่จำเป็นต้องได้ข้อเท็จจริงชี้ชัดลงไปว่ามีผู้รู้เห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดโดยลักลอบนำเข้าซึ่งทองคำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีศุลกากรหรือไม่เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเล็กน้อยของศาลอุทธรณ์ทำให้จำเลยไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้ แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยเป็นเงินสี่เท่าของราคาของเป็นเงิน 27,126,838.64 บาท ริบของกลาง และให้จ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับร้อยละสามสิบของราคาของกลางและจ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละสิบห้าของราคาของ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก การวินิจฉัยว่าผู้ใดกระทำผิดโดยรับไว้ซึ่งทองคำแท่งซึ่งผู้อื่นลักลอบนำหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิหรือไม่นั้น เมื่อองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพียงแต่ผู้ใดเจตนารับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดก็เป็นความผิดแล้ว ไม่จำเป็นต้องได้ข้อเท็จจริงชี้ชัดลงไปว่ามีผู้รู้เห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดโดยลักลอบนำเข้าซึ่งทองคำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีศุลกากรหรือไม่เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค้ำประกันหลังชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: สิทธิของผู้ค้ำประกันในการยกข้อต่อสู้
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 จะบัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเรียกหนี้สินเฉพาะที่ห้างหุ้นส่วนหรือผู้เป็นลูกหนี้อยู่ในฐานะเช่นนั้นเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีก็ตาม แต่ตามมาตรา 694ก็ได้บัญญัติไว้ว่านอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันหรือจำเลยที่ 1 มีต่อเจ้าหนี้หรือโจทก์นั้น ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้หรือห้างดังกล่าวมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย แม้ข้อสัญญาข้อ 2 และข้อ 5 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ยังคงมีอยู่ต่อธนาคารโจทก์ก็ตาม ก็หาทำให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ซึ่งห้างลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามมาตรา 694 ไม่ ฉะนั้นจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างจึงชอบที่จะยกอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 1272 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้และเมื่อนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก. จนถึงวันฟ้องเกินกำหนด2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ
of 22