พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ค้ำประกันในการยกอายุความหนี้ของห้างหุ้นส่วน แม้มีข้อตกลงเป็นลูกหนี้ร่วม
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1272 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเรียกหนี้สินเฉพาะที่ห้างหุ้นส่วนหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้นเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีก็ตาม แต่มาตรา 694 ก็ได้บัญญัติไว้อีกว่า นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันหรือจำเลยมีต่อเจ้าหนี้หรือโจทก์นั้นท่านว่าผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้หรือห้างดังกล่าวมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย ดังนั้น ข้อสัญญาตามหนังสือค้ำประกันที่ระบุว่าจำเลยผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ยังคงมีอยู่ต่อธนาคารโจทก์ ย่อมหาทำให้จำเลยผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ซึ่งห้างลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามมาตรา 694 ไม่ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างจึงชอบที่จะยกอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1272 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ และเมื่อนับแต่วันอันเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีของห้างจนถึงวันฟ้อง เกินกำหนด2 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2538/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วม: สิทธิในการแก้คัดค้านอุทธรณ์ต้องเท่าเทียมกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ธ. ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ พนักงานอัยการและผู้เสียหายจึงต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นนำส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่พนักงานอัยการโจทก์โดยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์ร่วมจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่? คดีเดิมพิพากษายกฟ้องเนื่องจากไม่มีอำนาจฟ้อง คดีใหม่ขอให้บังคับโอนที่ดิน ประเด็นต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ทายาทของ ป.แต่เพียงผู้เดียวขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ให้โจทก์มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยโต้แย้งและรบกวนสิทธิของโจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาซื้อขายเพียงแต่ขอให้ศาลพิพากษาแสดงสิทธิว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองและเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยยังไม่ได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์หรือกระทำสิ่งใดอันจะถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษา ยกฟ้อง ดังนี้ เมื่อคดีก่อนเป็นเรื่องที่ศาลพิจารณาฟ้อง ของโจทก์แล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากจำเลยที่ 1ยังมิได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย ประเด็นแห่งคดีเป็นคนละอย่างกัน คือคดีก่อนมีประเด็นว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายได้หรือไม่ ประเด็นที่วินิจฉัยของคดีทั้งสองไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต่างกัน: คดีก่อนแสดงสิทธิครอบครอง คดีหลังบังคับโอนตามสัญญาซื้อขาย ไม่ถือฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ทายาทของ ป.แต่เพียงผู้เดียวขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ให้โจทก์มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยโต้แย้งและรบกวนสิทธิของโจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามสัญญาซื้อขายเพียงแต่ขอให้ศาลพิพากษาแสดงสิทธิว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองและเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทเท่านั้น จำเลยยังไม่ได้กระทำสิ่งใดอันเป็นรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์หรือกระทำสิ่งใดอันจะถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ เมื่อคดีก่อนเป็นเรื่องที่ศาลพิจารณาฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากจำเลยที่ 1 ยังมิได้กระทำการใด ๆอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย ประเด็นแห่งคดีเป็นคนละอย่างกัน คือคดีก่อนมีประเด็นว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายได้หรือไม่ ประเด็นที่วินิจฉัยของคดีทั้งสองไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีอาญา: การพิจารณาความขัดแย้งและพิรุธของคำเบิกความ
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน แม้พยานโจทก์ทั้งสามจะอ้างว่ารู้จักจำเลยมาก่อนเป็นเวลานานและจำเลยเป็นคน หมู่บ้านเดียวกัน แต่การที่ ส. มองลอดผ่านช่องลมออกไปแล้วเห็นและจำได้ว่าเป็นจำเลยนั้นยังน่าสงสัย เพราะลักษณะของ ช่องลมเป็นอิฐบล็อกมีช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่ก้อนละ 4 ช่อง ประมาณ 10 ก้อน ประกอบกับการนั่งอยู่ตามตำแหน่งที่ ส. เบิกความนั้น สายตาจะมองเห็นได้โดยจำกัดมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเวลากลางคืน แม้ใต้ถุนบ้านผู้เสียหายซึ่งอยู่ ข้าง ๆ บ้านหลังที่ ส.ลุกออกมานั่งจะมีไฟฟ้าเปิดอยู่ก็ตามก็ไม่น่าเชื่อว่าแสงสว่างจากไฟฟ้าใต้ถุนบ้านดังกล่าวจะส่องถึง อย่างชัดเจนจนสามารถทำให้ ส. ซึ่งต้องมองลอดช่องลมออกมาเห็นได้ชัดว่าคนร้ายเป็นจำเลย ยิ่งกว่านั้นรอยงัดแงะของ คนร้ายอยู่ที่ประตูหลังบ้าน แต่พยานโจทก์ทั้งสามรู้ตัวตั้งแต่ เสียงสุนัขเห่า การที่ ส.เห็นจำเลยเดินเข้ามาจากทางหน้าบ้านเป็นเวลาเดียวกันกับที่ผู้เสียหายเปิดประตูออกจากบ้านแยกกัน เดินดูเหตุการณ์กับ ง. จำเลยจะมีเวลาที่ไหนไปงัดแงะประตูได้ทัน การที่ผู้เสียหายอ้างว่า ง. ระบุชื่อจำเลยเป็นคนร้ายให้ผู้เสียหายทราบก็แตกต่างกับคำเบิกความของ ง.เพราะง. เบิกความว่า เมื่อผู้เสียหายถามว่าจำชายที่วิ่งมาหาได้หรือไม่ ง.ตอบว่าจำได้ เป็นคนบ้านเดียวกัน เห็นกันทุกวันแต่มิได้ ระบุเจาะจงลงไปว่าเป็นจำเลย คำเบิกความที่ไม่ลงรอยกันเช่นนี้ทำให้ไม่อาจรับฟังเป็นความจริงไปทางใดทางหนึ่งได้จึงมีพิรุธอยู่ ส่วน ท. อ้างว่าคืนเกิดเหตุได้เดินกลับจากหาปลาขณะเดินมาอีก 10 เมตร จะถึงบ้านผู้เสียหายได้ยินเสียง ร้องว่า คน คน คน แล้วเห็นจำเลยวิ่งสวนพยานไปนั้น แต่เมื่อ ท. เดินผ่านบ้านผู้เสียหายเห็นคนชุมนุมกันอยู่ ผู้เสียหายบอกว่ามีคนงัดบ้าน แต่ ท. ก็ไม่สนใจฟังว่าใครเป็นคนงัดคำเบิกความของ ท. จึงขัดต่อเหตุผล รับฟังไม่ได้เพราะผู้เสียหายเป็นผู้ใหญ่บ้าน ท. เป็นลูกบ้านซึ่งสนใจเหตุการณ์ถึงกับย้อนกลับมาฟังว่าชุมนุมกันเรื่องอะไรหาก ท.รู้เห็นจริงมีหรือที่จะไม่เล่าเรื่องเห็นจำเลยให้ผู้เสียหายฟัง ส่วนพนักงานสอบสวนเป็นเพียงพยานบอกเล่าไม่รู้เห็นเหตุการณ์ดังนั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาจึงไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีพนัน กรณีพ้นโทษไม่ครบ 3 ปี และเหตุไม่สมควรรอการลงโทษ
ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติการพนันฯ ในคดีอื่นมาแล้ว 3 คดี ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าปรับตามที่ศาลลงโทษทุกคดีโดยมิได้อุทธรณ์ฎีกาคดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้พ้นโทษในคดีที่ศาลได้ลงโทษปรับมาแล้ว แล้วมา กระทำผิดคดีนี้อีกซึ่งยัง ไม่พ้นกำหนด 3 ปี จึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติ การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 14 ทวิ ได้ เมื่อขณะศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้ คดีที่ศาลรอการลงโทษจำเลยไว้ก่อนคดีนี้ยังไม่ถึงที่สุดโดยอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นจึงยังไม่อาจนำโทษที่รอไว้ในคดีดังกล่าวมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีหลังกับโทษรอการลงโทษคดีก่อน แม้คดีไม่เกี่ยวเนื่อง
ตาม ป.อ.มาตรา 58 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตาม ป.อ.มาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ก็ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังได้ โดยคดีก่อนและคดีหลังไม่จำต้องเป็นคดีที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนกับคดีหลัง แม้คดีไม่เกี่ยวเนื่องกัน เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก ที่บัญญัติว่าเมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาล พิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ก็ให้ศาลที่ พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับ โทษในคดีหลังได้ โดยคดีก่อนและคดีหลังไม่จำต้องเป็นคดี ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อฎีกาไม่ชัดเจนและไม่ระบุเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกา ขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 216, 225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสองแม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากมิได้ระบุข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายที่ต้องการอ้างอิงในการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกาขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 216,225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสอง แม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้