พบผลลัพธ์ทั้งหมด 220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฎีกาโดยไม่สุจริต และการไม่โต้แย้งประเด็นแจ้งนัดในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกามิพักการไต่สวน
จำเลยฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องแย้งของจำเลยและโจทก์ไม่คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ ครั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยเห็นว่าการนำสืบของจำเลยเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่ฟ้องแย้ง จำเลยจึงได้ยื่นฎีกาและยกปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมขึ้นเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยและพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นให้สั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ไม่ว่าจะโดยเจตนาเพื่อที่จำเลยจะได้มีโอกาสดำเนินคดีแก่โจทก์ในเรื่องนี้ใหม่หรือไม่ก็ตาม การใช้สิทธิฎีกาของจำเลยส่อไปในทางไม่สุจริตในอันที่จะแสวงหาความยุติธรรมต่อศาลในทางใดทางหนึ่งให้เสร็จสิ้นกันไปในคราวเดียวกัน กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมหรือไม่
จำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อและวันนัดดังกล่าวเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาล และเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นรวม 4 ครั้ง ซึ่งทุกครั้งศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามที่จำเลยขอทุกครั้ง และต่อมาจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว อีกทั้งในชั้นยื่นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในเรื่องการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาไว้ในฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งในชั้นฎีกา กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบใหม่
จำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อและวันนัดดังกล่าวเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลจึงประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาล และเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นรวม 4 ครั้ง ซึ่งทุกครั้งศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามที่จำเลยขอทุกครั้ง และต่อมาจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว อีกทั้งในชั้นยื่นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในเรื่องการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาไว้ในฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งในชั้นฎีกา กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม + การแจ้งนัดฟังคำพิพากษาชอบ + การพิสูจน์ความเสียหายจากกล่องกระดาษไม่ชัดเจน
จำเลยฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องแย้งของจำเลยและโจทก์ไม่คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย จำเลยก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งในเรื่องนี้ครั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยเห็นว่าการนำสืบของจำเลยเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่ฟ้องแย้ง จำเลยจึงได้ยื่นฎีกาและยกปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมขึ้นเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยและพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นให้สั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ไม่ว่าจะโดยเจตนาเพื่อที่จำเลยจะได้มีโอกาสดำเนินคดีแก่โจทก์ในเรื่องนี้ใหม่หรือไม่ก็ตาม การใช้สิทธิฎีกาของจำเลยส่อไปในทางไม่สุจริตในอันที่จะแสวงหาความยุติธรรมต่อศาลในทางใดทางหนึ่งให้เสร็จสิ้นกันไปในคราวเดียวกัน กรณีไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมหรือไม่ จำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อและวันนัดดังกล่าวเป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาลศาลจึงประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาล และเมื่อศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นรวม 4 ครั้งซึ่งทุกครั้งศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามที่จำเลยขอทุกครั้ง และต่อมาจำเลยก็ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ แสดงว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว อีกทั้งในชั้นยื่นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้แย้งในเรื่องการแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาไว้ในฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งในชั้นฎีกา กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทราบใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องแย้งของจำเลยในคดีแพ่ง: ความเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมและหลักการหักกลบลบหนี้
ในคดีแพ่งเมื่อจำเลยถูกฟ้อง นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธ แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้งได้ หากหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและถึงกำหนดชำระแล้ว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้ก่อสร้างอาคารสูงหลายสิบชั้นโดยประมาท เป็นเหตุให้เศษวัสดุก่อสร้างตกใส่บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายหลายประการจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันว่า จำเลยยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าชดเชยที่ต้องอพยพครอบครัวโจทก์ทั้งหมดไปอยู่สถานที่อื่นภายใน 1 ปี แต่โจทก์และครอบครัวไม่ได้ไปเช่าที่แห่งอื่นอยู่คงอยู่ในบ้านเดิมตลอดมาและฟ้องแย้งเรียกเงิน 120,000 บาท คืนจากโจทก์ ดังนี้แม้คำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด ส่วนคำฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตามแต่เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็คือการที่โจทก์และครอบครัวรับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไปโดยสัญญาว่าจะต้องอพยพครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ที่อื่นนอกบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดให้ได้รับความเสียหายแต่แล้วก็ไม่ปฏิบัติตามกลับมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายต่าง ๆรวมทั้งค่าเสียหายที่โจทก์และครอบครัวไม่สามารถอยู่ในบ้านหลังที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดด้วย จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177,179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้ง: ความสัมพันธ์ระหว่างละเมิดและผิดสัญญา
ในคดีแพ่งเมื่อจำเลยถูกฟ้อง นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้งได้ หากหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและถึงกำหนดชำระแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้ก่อสร้างอาคารสูงหลายสิบชั้นโดยประมาท เป็นเหตุให้เศษวัสดุก่อสร้างตกใส่บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายหลายประการ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันว่า จำเลยยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าชดเชยที่ต้องอพยพครอบครัวโจทก์ทั้งหมดไปอยู่สถานที่อื่นภายใน 1 ปี แต่โจทก์และครอบครัวไม่ได้ไปเช่าที่แห่งอื่นอยู่คงอยู่ในบ้านเดิมตลอดมา และฟ้องแย้งเรียกเงิน 120,000 บาทคืนจากโจทก์ ดังนี้ แม้คำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด ส่วนคำฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็คือ การที่โจทก์และครอบครัวรับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไป โดยสัญญาว่าจะต้องอพยพครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ที่อื่นนอกบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดให้ได้รับความเสียหาย แต่แล้วก็ไม่ปฏิบัติตามกลับมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเสียหายที่โจทก์และครอบครัวไม่สามารถอยู่ในบ้านหลังที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดด้วย จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177, 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้ก่อสร้างอาคารสูงหลายสิบชั้นโดยประมาท เป็นเหตุให้เศษวัสดุก่อสร้างตกใส่บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายหลายประการ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันว่า จำเลยยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าชดเชยที่ต้องอพยพครอบครัวโจทก์ทั้งหมดไปอยู่สถานที่อื่นภายใน 1 ปี แต่โจทก์และครอบครัวไม่ได้ไปเช่าที่แห่งอื่นอยู่คงอยู่ในบ้านเดิมตลอดมา และฟ้องแย้งเรียกเงิน 120,000 บาทคืนจากโจทก์ ดังนี้ แม้คำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด ส่วนคำฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็คือ การที่โจทก์และครอบครัวรับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไป โดยสัญญาว่าจะต้องอพยพครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ที่อื่นนอกบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดให้ได้รับความเสียหาย แต่แล้วก็ไม่ปฏิบัติตามกลับมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ รวมทั้งค่าเสียหายที่โจทก์และครอบครัวไม่สามารถอยู่ในบ้านหลังที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดด้วย จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์ พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177, 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินต้องเชื่อมโยงกับความผิดที่ฟ้องและพิสูจน์ได้ การรับสารภาพหลังศาลตัดสินแล้วไม่เพียงพอต่อการริบ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ระบุถึงทรัพย์สินที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบได้นั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยได้กระทำความผิด ซึ่งหมายถึงว่า จะ ต้องมีการฟ้องจำเลยในความผิดฐานใดฐานหนึ่งและได้มีการพิสูจน์ความผิดนั้นแล้วและศาลพิพากษาว่าจำเลยได้กระทำ ความผิดจึงจะริบทรัพย์สินนั้นได้ อันถือเป็นการลงโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18(5) เมื่อธนบัตรมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ดังนั้น การที่โจทก์ยังมิได้ฟ้องจำเลยถึงการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อนโดยตรงเพียงแต่กล่าวอ้างพาดพิงถึงว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการขายเมทแอมเฟตามีนในครั้งก่อน จึงยังไม่เป็นการเพียงพอตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) และ 33(2)เพื่อลงโทษจำเลยด้วยการริบทรัพย์สิน และแม้ว่าจำเลยจะได้ให้การรับสารภาพหรือให้ความยินยอมในชั้นฎีกาเพื่อให้คดีเสร็จไปจากศาลฎีกาโดยเร็วก็ตาม ศาลก็ไม่อาจสั่งริบธนบัตรของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานน่าเชื่อถือ, พฤติการณ์, และการลดโทษ
การที่พยานโจทก์ทั้งสองตรวจท้องที่มาถึงบริเวณที่เกิดเหตุ เห็นจำเลยถือถุงกระดาษเดินสวนทางมาท่าทางมีพิรุธจึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและขอตรวจค้นถุงกระดาษที่จำเลยถือพบเฮโรอีนของกลาง โดยที่พยานทั้งสองปากไม่เคยรู้จักและไม่เคยมีเรื่องโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อนและขณะนั้นจำเลยเป็นหญิงมีครรภ์แก่ถึง 8 เดือน หากเรื่องที่เกิดขึ้นไม่เป็นความจริง พยานทั้งสองก็คงจะไม่มีจิตใจโหดร้ายพอที่จะปรักปรำและใส่ร้ายถึงขนาดนั้น โดยเฉพาะ ก.เป็นนายตำรวจสัญญาบัตรชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้มีวัยวุฒิ สูงแล้วคงจะมีความรู้สึกสำนึกในมโนธรรมอยู่บ้าง อีกทั้งที่เกิดเหตุก็เป็นบริเวณถนนซอยสาธารณะเป็นที่เปิดเผยย่อมเป็นที่รู้เห็นแก่ประชาชนผู้สัญจรไปมาทั่ว ๆ ไป รูปการณ์จึงไม่มีเหตุและความจำเป็นที่พยานทั้งสองจะเสี่ยงกระทำในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมและโดยปราศจากข้อความจริงเช่นนั้น พยานหลักฐานโจทก์จึงกอปรด้วยเหตุผลมีน้ำหนักน่ารับฟังส่วนพยานจำเลยมีนางส.ซึ่งนอกจากจะเป็นมารดาของจำเลยแล้วก็ยังมิได้อยู่รู้เห็นในที่เกิดเหตุ และถึงอย่างไรวิสัยมารดาย่อมต้องรักห่วงบุตรยิ่งกว่าชีวิต สำหรับพยานปากอื่นของจำเลยก็เบิกความขัดกันจึงมีพิรุธน่าสงสัย ทั้งพยานจำเลยที่อยู่ในที่เกิดเหตุระหว่างนั้นก็น่าจะพอรู้เห็นได้ว่าถุงกระดาษของกลางเป็นของบุคคลใดเนื่องจากราคาเฮโรอีนที่อยู่ในถุงกระดาษมีราคาถึง 32,000 บาท จึงมิใช่เรื่องเล็กน้อยที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะนำมาวางทิ้งไว้เสมือนหนึ่งไม่สนใจใยดีอย่างนั้นพฤติการณ์พยานจำเลยจึงมีข้อสงสัยขึ้นอีกไม่มีน้ำหนักรับฟังพอแก่การหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุปัญหาข้อเท็จจริงใหม่ และแก้ไขโทษเล็กน้อยเกินกว่าฎีกาได้
แม้การจับกุมจะมิชอบด้วยกฎหมายประการใดหรือไม่ก็ตามก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวต่อกันอีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่กระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 จำเลยจะยกขึ้นฎีกาในปัญหาข้อนี้มิได้ ส่วนที่จำเลยฎีกาตอนหนึ่งว่าการ สอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้ทำต่อหน้าทนายความหรือให้โอกาสแก่จำเลยได้พบและปรึกษากับทนายความก่อนนั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่มีปัญหาเข้าสู่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 เนื่องจากจำเลยไม่เคยยกปัญหานี้ขึ้นโต้แย้งในศาลดังกล่าว ฎีกาของจำเลยจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 วรรคหนึ่งนอกจากนี้แม้จำเลยจะอ้างว่าประสงค์จะฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่ในเมื่อจำเลยต้องอ้างอิงถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งศาลจะวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายได้ก็ต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่านี้เสียก่อนว่าเป็นประการใดเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นฎีกา ฎีกาของจำเลยในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาเพียงแต่แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่า คำขอที่ให้บวกโทษของจำเลยให้ยกเสีย เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานสนับสนุนการกระทำความผิด แม้ฟ้องฐานตัวการ ศาลลงโทษฐานสนับสนุนได้หากโทษเบากว่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ของผู้เสียหายโดยใช้กำลังประทุษร้าย และใช้มีดเป็นอาวุธแทงผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งโจทก์ก็ได้นำสืบไปตามข้อหาดังระบุในฟ้องและตรงตามคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ด้วยนั้น เห็นได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณามิได้แตกต่างกับข้อเท็จจริง ซึ่ง กล่าวในฟ้องและตรงตามคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ขอลงโทษแล้วแม้ข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์และการกระทำของจำเลยจะฟังได้ว่าจำเลยเป็นเพียงสนับสนุนช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก ผู้อื่นในการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายบาดเจ็บสาหัสโดยโจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนตามที่โจทก์ฟ้องได้ เพราะความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดมีโทษเบากว่าการกระทำความผิดฐานเป็นตัวการตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8394/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ทางออกของที่ดิน: ที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จำเลยต้องรับผิด
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยต้องผ่านที่ดินของจำเลยตามฟ้องหรือไม่ คู่ความท้ากันว่าหากทำแผนที่พิพาทได้ข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะจำเลยยอมแพ้ แต่ถ้าปรากฏว่าที่ดินโจทก์สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ยอมแพ้คำท้าที่ว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมหมายความตามที่วิญญูชนทั่วไปเข้าใจกล่าวคือ ย่อมหมายความรวมทั้งไม่มีทางออกและมีทางออกแต่ไม่สามารถใช้ทางออกนั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบที่พิพาทปรากฏว่า ที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้อยู่ติดกับทางส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของทางไม่อนุญาตให้โจทก์ผ่านทางดังกล่าว ส่วนที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศเหนือติดกับที่ดินของจำเลย และทิศเหนือติดกับที่ดินของจำเลยเป็นทางสาธารณะประโยชน์ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์ติดกับที่ดินของบุคคลอื่น จากสภาพดังกล่าวถือได้ว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ จำเลยจึงต้องแพ้คดีตามคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8394/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำท้าทางกฎหมาย: 'ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ' ครอบคลุมทั้งไม่มีทางออกและใช้ทางออกไม่ได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยต้องผ่านที่ดินของจำเลยตามฟ้อง หรือไม่ คู่ความท้ากันว่าหากทำแผนที่พิพาทได้ข้อเท็จจริง ว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะจำเลยยอมแพ้ แต่ถ้าปรากฏว่าที่ดินโจทก์สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ ยอมแพ้คำท้าที่ว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมหมายความตาม ที่วิญญูชนทั่วไปเข้าใจกล่าวคือ ย่อมหมายความรวมทั้งไม่มี ทางออกและมีทางออกแต่ไม่สามารถใช้ทางออกนั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบที่พิพาทปรากฏว่า ที่ดินของโจทก์ ทางด้านทิศใต้อยู่ติดกับทางส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของทางไม่อนุญาต ให้โจทก์ทางดังกล่าว ส่วนที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศเหนือ ติดกับที่ดินของจำเลย และทิศเหนือติดกับที่ดินของจำเลย เป็นทางสาธารณะประโยชน์ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ของที่ดินติดกับที่ดินของบุคคลอื่น จากสภาพดังกล่าวถือได้ว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ จำเลยจึงต้อง แพ้คดีตามคำท้า